แบบรายงาน Best Practice
ไตรมาส 1-2 ปีงบประมาณ พ.ศ.2566
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอจะนะ
.............................................................................................
1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม ผลิตภัณฑ์ กรงนก สินค้า กศน.ดีเด่น และ กศน.พรีเมี่ยม ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ.2566
2. ความสอดคล้องกับนโยบาย
สอดคล้องกับจุดเน้นการดำเนินงานของสำนักงาน กศน. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ข้อ 4. การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (๔.๑) พัฒนาหลักสูตรอาชีพที่เน้น New skill Up - kill และ Re - รkill ที่สอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพ บริบทพื้นที่ และความสนใจ พร้อมทั้งสร้างช่องทางอาชีพในรูปแบบที่ความหลากหลายของกลุ่มเป้าหมาย เช่น ผู้ พิการ ผู้สูงอายุ ความต้องการของตลาดแรงงาน และกลุ่มอาชีพใหม่ที่ รองรับ Disruptive Technology เพื่อการเข้าสู่การรับรองสมรรถะและได้รับคุณวุฒิตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ รวมทั้งสามารถนำผลการเรียนรู้และประสบการณ์เทียบโอนเข้าสู่ระบบการสะสมหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank) เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น (๔.๒) ประสานการทำงานร่วมกับศูนย์ให้คำปรึกษากรจัดตั้งธุรกิจ (ศูนย์ Stat-up) ของอาชีวศึกษา (๔.๓) ยกระดับผลิตภัณฑ์ สินค้า บริการจากโครงกร์ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ที่เน้น "ส่งเสริมความรู้สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี" ให้มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของตลาด ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม พัฒนาสู่วิสาหกิจชุมชน ตลอดจนเพิ่มช่องทางประชาสัมพันธ์และช่องทางการจำหน่าย
3. ความเป็นมาของกิจกรรม
เนื่องจากประชาชนในพื้นที่อำเภอจะนะ มีการประกอบอาชีพการเลี้ยงนกเขาชวาเสียง ในหลายตำบล ส่งผลให้ผู้เลี้ยงนกมีความต้องการในการใช้กรง ภูมิปัญญาบ้านหัวดินเหนือ หมู่ที่ 8 ตำบลป่าชิง ที่มีความสามารถและสนใจการทำกรงจึงได้ทำเพื่อจำหน่ายให้กับผู้เลี้ยงนกเมื่อทำแล้วขายได้ จึงถ่ายทอดความรู้สืบต่อกันมาในครอบครัว เมื่อทำแล้วสามารถสร้างรายได้ได้จึงมีคนในหมู่บ้านสนใจเรียนรู้เพิ่มขึ้นจนเมื่อประมาณปี พ.ศ.2548 กศน.อำเภอจะนะ ได้เข้าไปส่งเสริมการเรียนรู้อาชีพการทำกรงนก เพื่อฝึกอบรมให้กับคนที่สนใจแต่ยังไม่มีความชำนาญ และเมื่อได้เรียนรู้แล้วจึงเกิดการรวมกลุ่มในหมู่บ้าน เพื่อให้มีการสร้างอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ในชุมชนและเป็นการอนุรักษ์สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทำกรงนกเขา กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการทำกรงนกบ้านหัวดินเหนือ นำโดยนาอานัส วันนิ และเพื่อนที่มีแนวคิดเดียวกัน ได้รวมกลุ่มเพื่อการบริหารจัดการทุนจึงจัดตั้งกลุ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2550 เมื่อรวมกลุ่มแล้วได้ผลิตกรงนก เพื่อการจำหน่ายมาอย่างต่อเนื่อง จนมีคนสนใจ สั่งทำกรงขนาดเล็กเพื่อเป็นของที่ระลึก และเมื่อประมาณ 5 ปี ที่ผ่านมา กศน. และสมาชิกกลุ่มได้พูดคุยหารือกัน ได้เปิดหลักสูตร การทำกรงนกโคมไฟ เพื่อพัฒนาและปรับเปลี่ยนรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายสอดคล้องตามความต้องการของลูกค้า
4.ปัจจัยป้อน (Input)
1) บุคลากร ได้แก่ สมาชิกกลุ่ม จำนวน 21 คน ครู กศน. ตำบลป่าชิง
2) งบประมาณ ในการดำเนินการ ได้รับการสนับสนุนจาก กศน.อำเภอจะนะ ในรูปแบบอาชีพระยะสั้น งบสนับสนุนจากโรงไฟฟ้าจะนะ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานสงขลา และองค์การบริหารส่วนตำบลป่าชิง
3) วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการจัดกิจกรรม หลักๆ ได้แก่ ไม่ไผ่ หวาย เครื่องเจาะ สว่าน ยากอ กาวร้อน เชือก เป็นต้น
4) การบริหารจัดการ การประชุมกลุ่ม การรวมตัวในการดำเนินกิจกรรม
5. ขั้นตอนการดำเนินงาน (Process)
1) การรวมกลุ่ม
2) การประชุมวางแผนการดำเนินงานของกลุ่ม
3) การปรับปรุงข้อตกลงของกลุ่ม คณะทำงาน
4) การประสานหน่วยงานต่างๆ เพื่อขอรับการสนับสนุนและพัฒนากลุ่ม
5) การจัดทำโครงการเพื่อของบประมาณขับเคลื่อนกลุ่มในเรื่องการจำหน่าย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ่านระบบออนไลน์
6) นิเทศติดตามการจัดกิจกรรมและสรุปผลโดยครู กศน.ตำบลป่าชิง
6. ความสำเร็จที่เป็นจุดเด่นของโครงการ/หรือกิจกรรมนี้ (Output)
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการทำกรงนกบ้านหัวดินเหนือ ได้รับการพัฒนาศักยภาพและเตรียมความพร้อมในการปรับปรุงพัฒนาการผลิตและจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์กรงนก ชุมชนมีแหล่งเรียนรู้ด้านอาชีพการทำกรงนกที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้สนใจ เยาวชน ได้อย่างมีคุณภาพ และสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้ชุมชนได้
7. รางวัลแห่งความสำเร็จของโครงการ/กิจกรรม เช่น เกียรติบัตร / การศึกษาดูงาน / การเผยแพร่
1) การเผยแพร่ มีการเผยแพร่ผ่านหน้าเว็บไซต์ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอจะนะ http://sk.nfe.go.th/jana/
2) การเผยแพร่ มีการเผยแพร่ผ่านหน้าเว็บไซต์ กศน.ตำบลป่าชิง http://sk.nfe.go.th/chana12/
3) ผลการประกวดจากประกาศสำนักงาน กศน.จังหวัดสงขลา ผ่านหน้าเว็บไซต์ http://sk.nfe.go.th/sknfe/ รายละเอียดตามเอกสารดังแนบ
8. ข้อคิดควรคำนึงในการนำไปขยายผลหรือนำกิจกรรมนี้ไปทำ
ควรมีการถอดบทเรียนในการดำเนินกิจกรรมของกลุ่ม เพื่อได้ข้อมูลการขับเคลื่อนกิจกรรมและกระบวนการผลิตสินค้า / ผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ และทราบแนวทางในการพัฒนากลุ่มให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน นำองค์ความรู้ไปสู่การขยายผลการบริหารจัดการไปยังกลุ่มอาชีพอื่นๆ ที่ กศน. ได้เข้าไปขับเคลื่อนและให้การส่งเสริมสนับสนุน โดยการปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละกลุ่ม
9. ข้อมูล/หลักฐานอ้างอิง
10. ผู้เขียน/บรรณาธิการกิจ
นายจำรัส พรุเพชรแก้ว ผู้เขียน
นางลัดดารัตน์ พรุเพชรแก้ว ผู้เขียน
นางลัดดารัตน์ พรุเพชรแก้ว บรรณาธิการกิจ
นายวิเชียร โชติช่วง บรรณาธิการกิจ
******************************
เข้าชม : 246
|