ข้อมูลพื้นฐานกศน.ตำบคลองหอยโข่ง
ความเป็นมา
กศน. ตำบลคลองหอยโข่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ตำบลคลองหอยโข่ง เป็นตำบลดั้งเดิม ตั้งแต่อำเภอคลองหอยโข่งขึ้นอยู่กับอำเภอหาดใหญ่ ปัจจุบันเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอคลองหอยโข่ง ประชากรเป็นคนดั้งเดิมอาศัยสืบทอดมาแต่โบราณ สันนิษฐานได้จากสถานที่สำคัญทางศาสนาบ่งบอกถึงประวัติศาสตร์เก่าแก่สมัยรัตนโกสินทร์ แต่ด้วยความเป็นถิ่นทุรกันดาร กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศแยกให้เป็นกิ่งอำเภอคลองหอยโข่งตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2535 และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็นอำเภอ ตั้งแต่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2540 เป็นต้นมาอาคารแห่งนี้แต่เดิมเป็นศูนย์เอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน ของหมู่ที่ ๑ ตำบลคลองหอยโข่งต่อมาได้ได้ประกาศจัดตั้งให้เป็นศูนย์การเรียนชุมชนบ้านจอมหรำ ซึ่งตั้งอยู่ที่ ศาลาอเนกประสงค์ หมู่ที่ 1 ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 25 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2542 และต่อมาเมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้ประกาศจัดตั้งเป็น กศน.ตำบลคลองหอยโข่ง ประกาศจัดตั้งจากจังหวัดสงขลา
ที่ตั้ง
บ้านจอมหรำ หมู่ที่ 1 ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
บทบาทหน้าที่
กศน.ตำบลมีบทบาทสำคัญในการจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชนโดยมีครู กศน.ตำบลเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานกศน.ตำบลดังนี้
๑) การวางแผนจัดทำฐานข้อมูลชุมชนจัดทำแผนพัฒนากศน. ตำบลและจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี
๒) การจัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
กศน. ตำบลมีฐานะเป็นหน่วยจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชนมีภารกิจดังนี้
๑.จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายในชุมชนโดยแยกเป็นกิจกรรมดังนี้
๑)การศึกษานอกระบบ
- การศึกษาขั้นพื้นฐาน
- การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
- การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
- การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
- กระบวนการเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๒)การศึกษาตามอัธยาศัย
๒.สร้างและขยายภาคีเครือข่ายเพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน
๓.ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชนของภาคีเครือข่าย
๔. จัดทำระบบข้อมูลสถิติและสารสนเทศเกี่ยวกับประชากรกลุ่มเป้าหมาย
๕. จัดทำแผนโครงการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยประจำปีงบประมาณ
๖. ประสานงานและเชื่อมโยงการดำเนินงานการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๗. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๘. รายงานผลการดำเนินงานการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยต่อกศน.อำเภอ
๓) เป็นศูนย์เรียนรู้ 4 ศูนย์
- ศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต
- ศูนย์ดิจิทัลชุมชน
- ศูนย์ส่งเสริมประชาธิปไตย
- ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประจำตำบลคลองหอยโข่ง
กรรมการกศน.ตำบลคลองหอยโข่ง
1. นายทนงค์ ละอองโชค
2. นายนิกร ปานณรงค์
3. นายอิศรายุทธ คงมัยลิก
4. นายสำราญ สว่างจันทร์
5. นายวินัย สุคนธรัตน์
6. นายอะหลี มรสุม
7. นายสมพร กินรี
|
อาสาสมัครตำบลคลองหอยโข่ง
1. นายคุณานนต์ โอยชัย
2. นายภูวเดช สามาอาพัด
บุคลากร ตำบลคลองหอยโข่ง
1. นายจตุรภัทร เวชสิทธิ์ ผอ.กศน.อำเภอคลองหอยโข่ง
2. นายมนตรี จันวดี ครูอาสาสมัครฯ
3. นางสาวสุวรรณาบริเพชร์หัวหน้ากศน.ตำบล
.๑ สภาพทั่วไปของตำบล
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
พื้นที่เหมาะสมแก่การทาการเกษตรราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยางเป็นอาชีพหลัก
อาณาเขตตำบล
-ทิศเหนือจรดหมู่ที่ 2 ตาบลคลองหลา
-ทิศใต้จรดตำบลทุ่งหมออำเภอสะเดา
-ทิศตะวันนอกจรดหมู่ที่ 7 ตาบลโคกม่วง
-ทิศตะวันตกจรดจังหวัดสตูล
ข้อมูลอาชีพของตำบล
-อาชีพหลักทาสวน/ทาไร่
-อาชีพเสริมทาขนม
ข้อมูลสถานที่สาคัญของตำบล
1. น้าตกผาดา
2. ที่ว่าการอาเภอคลองหอยโข่ง
3. วัดโพธิ์
4. สานักสงฆ์จอมหราพัฒนา
5. สานักสงฆ์บ้านเก่าร้าง
6. โรงเรียนบ้านหน้าวัดโพธิ์
7. กองพลพัฒนาที่ 4 (ค่ายรัตนพล)
8. สถานีวิจัยและพัฒนาประมงน้าจืดจังหวัดสงขลา
ภูมิประเทศ
พื้นที่ทางทิศตะวันตกติดเทือกเขาสันการาคีรีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลูกคลื่นลอนลาดเนินเขาที่ลาดเชิงเขาและพื้นที่ราบลุ่ม
ภูมิอากาศ
ตำบลคลองหอยโข่งอยู่ภายใต้อิทธิของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมี 2 ฤดูกาลคือฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคมฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม
การปกครองและประชากร
แบ่งเขตการปกครองตามพระราชบัญญัติการปกครองท้องที่พ . ศ . 2457 เป็นหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหอยโข่งจานวน 7 หมู่บ้านได้รับประกาศจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 111 ตอนที่ 53 ก .ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2537 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2538
๒.๒ ข้อมูลด้านประชากร
จำนวนประชากรจำแนกตามเพศและเขตพื้นที่ตำบล
หมู่ที่
|
บ้าน
|
จำนวนประชากร
|
จำนวน
|
กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
ครัวเรือน
|
1
|
บ้านจอมหรำ
|
141
|
164
|
305
|
112
|
นายสำราญ สว่างจันทร์
|
2
|
บ้านดานงา
|
666
|
719
|
1386
|
382
|
นายทนงค์ ละอองโชค
|
3
|
บ้านเหนือ
|
635
|
590
|
1225
|
445
|
นายนิกร ปานณรงค์
|
4
|
บ้านยูงทอง
|
184
|
178
|
362
|
86
|
นายอิศรายุทธ คงมัยลิก
|
5
|
บ้านทุ่งเลียบ
|
554
|
212
|
436
|
194
|
นายสมพร กินรี
|
6
|
บ้านเก่าร้าง
|
475
|
487
|
962
|
248
|
นายวินัย สุคนธรัตน์
|
7
|
บ้านควนกบ
|
332
|
303
|
635
|
149
|
นายอะหลี มรสุม
|
|
ทะเบียนบ้านกลาง
|
3
|
0
|
3
|
2
|
|
รวม
|
2,660
|
2,653
|
5,313
|
1,618
|
|
จำนวนประชากรจำแนกตามช่วงอายุ
ช่วงอายุปี
|
จำนวน
|
ร้อยละของประชากรทั้งหมด
|
0-5
|
150
|
2.82
|
6-14
|
2,050
|
38.58
|
15-39
|
1,020
|
19.19
|
40-59
|
1,002
|
18.85
|
60-69
|
786
|
14.79
|
70-79
|
200
|
3.76
|
80-89
|
103
|
1.93
|
90ปีขึ้นไป
|
2
|
0.03
|
รวม
|
5,313
|
100
|
จากตารางจำนวนประชากรจำแนกตามช่วงอายุ พบว่า ประชากรส่วนใหญ่เป็นประชากรวัยแรงงาน อายุ ๑๕ – ๕๙ ปี คิดเป็นร้อยละ 38.04 ประกอบด้วย ประชากรช่วงอายุระหว่าง ๑๕ – ๓๙ ปี ร้อยละ 19.19 ซึ่งเป็นกลุ่มวัยแรงงานที่ให้ความสำคัญในการจัดบริการการเรียนรู้เป็นกลุ่มแรก และช่วงอายุ ๔๐ – ๕๙ ปี คิดเป็นร้อยละ 18.85 เป็นกลุ่มวัยแรงงานที่ให้ความสำคัญในการจัดบริการการเรียนรู้รองลงมา สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ร้อยละ 20.51 เป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญในการจัดบริการการเรียนรู้ตามช่วงอายุจากมากไปหาน้อยตามลำดับ
จำนวนผู้พิการจำแนกตามความพิการ
ประเภทผู้พิการ
|
จำนวนผู้พิการ(คน)
|
คิดเป็น
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
|
ทางสมอง
|
2
|
1
|
3
|
0.05
|
ทางสายตา
|
20
|
30
|
50
|
0.94
|
ทางร่างกาย
|
5
|
3
|
8
|
0.15
|
พิการซ้ำซ้อน
|
2
|
1
|
3
|
0.05
|
รวม
|
28
|
35
|
64
|
1.19
|
กลุ่มผู้พิการ เป็นกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในการที่จะเข้ารับบริการทางการศึกษาหรือเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ด้อยในกว่าคนปกติทั่วไป อันเนื่องมาจากข้อจำกัดทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญาหรือความสามารถในการเรียนรู้ จากตารางข้อมูลจำนวนคนพิการ ในพื้นที่ตำบลจำแนกตามประเภทความพิการ ส่วนใหญ่มีความพิการทางสายตาคิดเป็นร้อยละ 0.94 และพิการทางร่างกาย คิดเป็นร้อยละ 0.15มีความพิการมากที่สุดทั้งสองประเภท ร้องลงมาคือผู้พิการทางสมอง คิดเป็นร้อยละ 0.05 และในการจัดบริการทางการศึกษาและการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ได้จัดตามความสนใจและความต้องการของผู้เรียนรายบุคคลหรือกลุ่ม โดยวิเคราะห์จากความสามารถในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพความพิการของแต่ละบุคคลหรือกลุ่มจากการดำเนินงาน บริการจัดการศึกษาแก่ผู้พิการในรอบปีที่ผ่านมา พบว่าผู้พิการยังขาดความสนใจในการรับการศึกษา ขาดความมั่นใจในการเรียน การใช้ชีวิตในสังคม การยอมรับทางสังคมในเรื่องการศึกษายังไม่มีมากเท่าที่ควร เพราะครอบครัวคิดว่าเป็นผู้พิการ ไม่ต้องเรียนรู้ก็ ทำให้ผู้พิการบางคนชอบเก็บตัวเงียบอยู่ในบ้าน
๒.๓ ข้อมูลด้านสังคม
ด้านสังคมและประเพณีและวัฒนธรรมของคนในชุมชน สภาพของประชาชนส่วนใหญ่อยู่เป็นครอบครัวใหญ่มีวงศาคณาญาติปลูกบ้านอยู่ในระแวกเดียวกัน นับถือบรรพบุรุษ มีสัมมาคาราวะต่อผู้มีอายุมากว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่ร้อยละ 99 นับถือศาสนาพุทธ มีวัดประจำหมู่บ้านเป็นสถานที่พิธีกรรมทางศาสนา และเป็นศูนย์รวมจิตของชาวบ้านซึ่งทำให้เกิดประเพณีและวัฒนธรรมที่สำคัญดังนี้
ประเพณีชักพระ
ประเพณีชักพระเป็นประเพณีทพราหมณ์ศาสนิกชนและพุทธศาสนิกชนปฏิบัติสืบต่อกันมา สันนิษฐานว่าประเพณีนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศอินเดีย ที่นิยมเอา เทวรูปออกแห่ในโอกาสต่าง ๆ ต่อมาพุทธศาสนิกชนได้นำเอาคติความเชื่อดังกล่าวมาปรับปรุงให้สอดคล้องกับความเชื่อทางพุทธศาสนา ประเพณีชักพระเล่ากันเป็นเชิงพุทธตำนาน ว่า หลังจากพระพุทธองค์ทรงกระทำยมกปาฏิหารย์ปราบเดียรถีย์ ณ ป่ามะม่วง กรุงสาวัตถี แล้วได้เสร็จไปจำพรรษา ณ ดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดา ซึ่งขณะนั้นทรงจุติเป็นมหามายาเทพ สถิตอยู่ ณ ดุสิตเทพพิภพตลอดพรรษา พระพุทธองค์ทรงประกาศพระคุณของมารดาแก่เทวสมาคมและแสดงพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดา 7 คัมภีร์ จนพระมหามายาเทพและเทพยดา ในเทวสมาคมบรรลุโสดาบันหมด ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 อันเป็นวันสุดท้ายของพรรษา พระพุทธองค์ได้เสด็จกลับมนุษยโลกทางบันได ทิพย์ที่พระอินทร์นิมิตถวาย บันไดนี้ทอดจากภูเขาสิเนนุราชที่ตั้งสวรรค์ ชั้นดุสิตมายังประตูนครสังกัสสะ ประกอบด้วยบันไดทอง บันไดเงินและบันไดแก้ว บันไดทองนั้นสำหรับเทพยดา มาส่งเสด็จอยู่เบื้องขวาของพระพุทธองค์ บันไดเงินสำหรับพรหมมาส่งเสด็จอยู่เบื้องซ้ายของพระพุทธองค์ และบันไดแก้วสำหรับพระพุทธองค์อยู่ตรงกลาง เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึง ประตูนครสังกัสสะตอนเช้าตรู่ของวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นวันออกพรรษานั้น พุทธศาสนิกชนที่ทราบกำหนดการเสด็จกลับของพระพุทธองค์จากพระโมคคัลลานได้มารอรับเสด็จ อย่างเนืองแน่นพร้อมกับเตรียมภัตตาหารไปถวายด้วย แต่เนื่องจากพุทธศาสนิกชนที่มารอรับเสด็จมีเป็นจำนวนมากจึงไม่สามารถจะเข้าไปถวายภัตตาหารถึงพระพุทธองค์ได้ทั่วทุกคน จึงจำเป็นที่ต้องเอาภัตตาหารห่อใบไม้ส่งต่อ ๆ กันเข้าไปถวายส่วนคนที่อยู่ไกลออกไปมาก ๆ จะส่งต่อ ๆ กันก็ไม่ทันใจ จึงใช้วิธีห่อภัตตาหารด้วยใบไม้โยนไปบ้าง ปาบ้าง ข้าไปถวายเป็น ที่โกลาหล โดยถือว่าเป็นการถวายที่ตั้งใจด้วยความบริสุทธิ์ด้วยแรงอธิษฐานและอภินิหารแห่งพระพุทธองค์ ภัตตาหารเหล่านั้นไปตกในบาตรของพระพุทธองค์ทั้งสิ้น เหตุนี้จึงเกิด ประเพณี "ห่อต้ม" "ห่อปัด" ขึ้น เพื่อเป็นการแสดงถึงความปิติยินดีที่พระพุทธองค์เสด็จกลับจากดาวดึงส์ พุทธศาสนิกชน ได้อัญเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับบนบุษบกที่เตรียมไว้ แล้วแห่แหนกันไปยังที่ประทับของพระพุทธองค์ ครั้นเลยพุทธกาลมาแล้วและเมื่อมีพระพุทธรูปขึ้น พุทธศาสนิกชนจึงนำเอาพระพุทธรูปยกแห่แหนสมมติแทนพระพุทธองค์
ประเพณีขึ้นถ้ำ
ประเพณีขึ้นถ้ำเป็นประเพณีที่มีการสืบทอดกันมาแต่อดีต นิยมจัดขึ้นเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรด้วยมีความเชื่อว่าการทำนาหรือ กิจกรรมการเกษตรที่ประสบความสำเร็จได้เกิดจากการดลบันดาลของสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย การขึ้นถ้ำจึงเป็นพิธีกรรมใช้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมักเป็นพระพุทธรูปของวัดเพื่อแสดงความกตัญญูและเป็นนิมิตรหมายที่ดีให้ แก่ชีวิต
พิธีกรรมเปิดให้มีการสักการะ และปิดทองพระพุทธรูปบนเขาวังชิงและมีการทำข้าวหลามบูชาสักการะ การนมัสการขึ้นถ้ำปิดทองเป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติสืบเนื่องทุกปีเช่นเดียว กับ กิจกรรมตามเทศกาลอื่น ๆ แต่เป็นการเปิดโอกาสให้คนได้ร่วมทำบุญ และหารายได้ให้วัดเพื่อใช้จ่ายใน กิจกรรมต่าง ๆ อันเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ตลอดไป
ประเพณีลอยกระทง
วันลอยกระทง ถือว่าเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของชาวไทยทุกคน วันลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 มักตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ประเพณีลอยกระทง ซึ่งปี 2559 นี้ ตรงกับวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน โดยวันลอยกระทงได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไปเดิมเชื่อกันว่า ประเพณีลอยกระทง เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระสนมเอกในพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่า “พิธีจองเปรียง” ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 1ต่อมาในช่วงกรุงรัตนโสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางนิยมประดิษฐ์กระทงเพื่อประกวดแข่งขันกัน ซึ่งใช้แรงงานและแรงคนเป็นจำนานมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงมองเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลืองจึงยกเลิกการประดิษฐ์กระทงใหญ่ไป และหันมาทำเรือลอยประทีปถวายองค์ละลำแทนกระทงใหญ่ ซึ่งเรียกว่า “เรือลอยประทีป”
ประเพณีสารทเดือนสิบ
ประเพณีสารทเดือนสิบ เป็นงานบุญประเพณีของคนภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะชาวนครศรีธรรมราช ที่ได้รับอิทธิพลด้านความเชื่อ ซึ่งมาจากทางศาสนาพราหมณ์ โดยมีการผสมผสานกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนาเข้ามาในภายหลัง โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ให้แก่ดวงวิญญาณของบรรพชนและญาติที่ล่วงลับ ซึ่งเชื่อว่าได้รับการปล่อยตัวมาจากภูมินรก ที่ตนต้องจองจำอยู่เนื่องจากผลกรรมที่ตนได้เคยทำไว้ ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยจะเริ่มปล่อยตัวจากภูมินรกในทุก วันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 เพื่อมายังโลกมนุษย์ โดยมีจุดประสงค์ในการมาขอส่วนบุญจากลูกหลานญาติพี่น้อง ที่ได้เตรียมการอุทิศไว้ให้ เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ล่วงลับ หลังจากนั้นก็จะกลับไปยังภูมินรก ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10ช่วงระยะเวลาในการประกอบพิธีกรรมของประเพณีสารทเดือนสิบ จะมีขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ ถึง วันแรม 15 ค่ำ เดือน10 ของทุกปี แต่สำหรับวันที่ชาวใต้มักจะนิยมทำบุญกันมากคือ วันแรม 13 ถึง 15 ค่ำ ประเพณีวันสารทเดือนสิบ โดยในส่วนใหญ่แล้วจะตรงกับเดือนกันยายน
ประเพณีทำบุญวันว่าง
วันว่างคือ วันที่เว้นว่างจากการทำงาน ซึ่งยกเว้นการหุงหาอาหารรับประทานและใช้ทำบุญถวายพระภิกษุสงฆ์ ชาวใต้ถือว่าวันว่างเป็น “ วันขึ้นปีใหม่ ” ของไทยเหมือนกับวันสงกรานต์ของภาคอื่นๆนั่นเอง ประเพณีวันว่างกระทำกัน3วัน ตรงกับวันขึ้น14 - 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เดือน5 แต่ปัจจุบันถือเอาวันที่ 13-14-15 เดือนเมษายนตามสากล ก่อนถึงวันว่างทุกครัวเรือนจะต้องเร่งทำงานที่คั่งค้างให้เสร็จเรียบร้อย เตรียมเสื้อผ้าชุดใหม่ไว้ใส่ ช่วยกันทำความสะอาดบ้าน นอกจากนี้ยังต้องตัดผม ตัดเล็บให้เรียบร้อยด้วย เพราะเมื่อถึงวันว่างนั้นห้ามกระทำในวันว่างวันแรก ทุกคนต้องทำจิตใจให้สดชื่น ทำแต่ความดี ตอนเช้ามีการทำบุญตักบาตร ตอนบ่ายจะมีการสรงน้ำพระพุทธรูป วันที่สองและสามจะเป็นการไปรดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่และเยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง "
๒.๔ ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
อาชีพของประชาชนในตำบล
ตำบลคลองหอยโข่งเป็นตำบลที่มีพื้นที่มากที่สุดประชากรประกอบอาชีพทางด้านเกษตรเป็นหลักมีพื้นที่ทาการเกษตรกรรมประมาณ 54,703 ไร่ที่สาคัญที่สุดคือการทาสวนยางพารารองลงมาคือทานาปศุสัตว์และไร่นาสวนผสมเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตการให้บริการของอ่างเก็บน้าชลประทานจึงมีน้าในปริมาณที่เพียงพอต่อการใช้ประโยชน์ทั้งปี
อาชีพ
|
จำนวน(ครัวเรือน)
|
ร้อยละของประชากรทั้งหมด
|
รับจ้าง
|
300
|
18.54
|
ค้าขาย
|
100
|
6.18
|
เกษตร
|
1120
|
69.22
|
รับราชการ
|
50
|
3.09
|
อื่นๆ
|
48
|
2.96
|
รวม
|
1,618
|
100
|
จากการสำรวจชุมชนพบว่าประชาชนที่อยู่ในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพหลักคิดเป็นร้อยละ 69.22 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด อาชีพการเกษตรเป็นอาชีพดั้งเดิมของบรรพบุรุษสืบทอดต่อกันมาถึงลูกหลานในปัจจุบันได้แก่ การทำสวนยางพารา สำหรับประชากรที่ประกอบอาชีพรองลงมา อาชีพรับจ้าง คิดเป็นร้อยละ 18.54 นอกจากนั้นประกอบอาชีพ ค้าขาย รับราชการ อื่นๆ
การทำสวนยางพารา
- พื้นที่การทำสวนยางพาราทั้งหมด 54,703 ไร่
- จำนวนครัวเรือนที่ทำสวนยางพารา 1,120 ครัวเรือน
การทำสวนยางพาราส่วนใหญ่ เกษตรกรขายน้ำยางและทำยางแผ่น สภาพปัญหาส่วนใหญ่ มักประสบปัญหา ราคาน้ำยางตกต่ำ ถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง เนื่องจากการรวมกลุ่มต่อรองราคา ไม่มีความรู้การบริหารจัดการที่ดี รวมทั้งต้นทุนการผลิต สูง เช่น ปุ๋ย ต้นยาง เป็นต้น
การรับจ้างด้านการเกษตร
- พื้นที่รับจ้างการเกษตร โครงการฟาร์มตัวอย่างในพระราชดำริ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
- พื้นที่ สวนยางพาราของเกษตรกรในชุมชน
ผลผลิตที่ได้จากการรับจ้างการทำเกษตร เช่น การเลี้ยงสัตว์ การปลูกผัก การเพาะเห็ด การทำนา การปลูกไม้ผล เป็นต้น ทำให้ประชากรในพื้นที่มีรายได้ ไม่ต้องออกไปหางานทำ และสินค้าก็มีตลาดรองรับมีพ่อค้าคนกลางรับซื้อสินค้าตลอด สภาพปัญหาที่พบ การขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูร้อน
การค้าขาย
การค้าขายในตำบลเป็นอาชีพที่สร้างเงินสร้างรายได้ค่อนข้างดีพอสมควรเนื่องจากทำเลที่ตั้งอยู่ในเขตชนบทโดยเฉพาะร้านค้าขายของชำ รวมถึงร้านขายอาหารประเภทอาหารตามสั่ง และกลุ่มค้าขายขนาดเล็ก ขนาดกลาง ประชาชนมักใช้บริการมากกว่าเข้าในตัวเมือง
- ร้านขายของชำ 50 แห่ง
- ร้านขายอาหารทุกชนิด 20 แห่ง
- ร้านขายยา 1 แห่ง
- ร้านขายอุปกรณ์การเกษตร 2 แห่ง
- ร้านขายวัสดอุปกรณ์ประเภทก่อสร้าง 2 แห่ง
- ร้านค้าประเภทซ่อมแซมต่างๆ 10 แห่ง
- ร้านซ่อมรถยนต์/อุปกรณ์อิเล็คโทรนิค 5 แห่ง
สถานการณ์แรงงาน
ปัจจุบันตำบลคลองหอยโข่งมีประชากรในวัยแรงงานประมาณ3,900 คน เป็นชาย 1,750 คน หญิง 2,150 คน เป็นผู้มีงานทำ 3,555 คน เป็นผู้มีงานทำคิดเป็นรร้อยละ 91.15 และผู้ว่างงาน 345 คน คิดเป็นร้อยละ 8.84 คน
จำนวนหน่วยธุรกิจที่สำคัญของตำบลคลองหอยโข่ง
- ธนาคาร 1 แห่ง
- ตลาดสด 4 แห่ง
- ปั้มน้ำมัน 1 แห่ง
- โรงสี - แห่ง
- ฟาร์มเลี้ยงสุกร -แห่ง
- ร้านค้าของชำ 50 แห่ง
- ร้านขายยา 1 แห่ง
- อู่ซ่อมรถ 10 แห่ง
- ปั้มน้ำมันใหญ่ - แห่ง
- โรงงานอุตสาหกรรม - แห่ง
- ร้านอาหาร 20 แห่ง
- ฟาร์มเลี้ยงไก่ - แห่ง
- ร้านวัสดุก่อสร้าง 2 แห่ง
- คลินิก 1 แห่ง
รวมทั้งหมด 90 แห่ง
กลุ่มอาชีพเศรษฐกิจชุมชน
การดำเนินการของกลุ่มอาชีพเศรษฐกิจชุมชน มีการจัดตั้งกลุ่ม การรวมกลุ่มอาชีพ กลุ่มเกษตรกร และการก่อเกิดอาชีพอย่างหลากหลายในตำบล โดยหลายภาคส่วนได้ส่งเสริมสนับสนุนกลุ่มอาชีพในหมู่บ้าน ในการพัฒนาทั้งทักษะ/ความรู้ และข้อมูลการพัฒนางานหรือผลิตภัณฑ์ของทุกกลุ่มในตำบล ทำให้เกิดการรวมกลุ่มอาชีพขึ้นหลายกลุ่ม บางกลุ่มประสบความสำเร็จเป็นอาชีพขึ้นหลายกลุ่ม อาชีพ OTOP บางกลุ่มยังไม่มีความต่อเนื่องของกิจกรรมการผลิต การตลาด เนื่องจากมีปัญหาการคงอยู่ของกลุ่ม คุณภาพในการดำเนินงาน การขาดจิตอาสา ของสมาชิกในกลุ่ม เป็นต้น
กลุ่มอาชีพที่มีอยู่ปัจจุบันได้แก่
กลุ่มจักสานเส้นพลาสติกบ้าน ทุ่งเลียบ หมู่ที่ 5 เริ่มจากการส่งเสริมการศึกษาต่อเนื่องของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศํยอำเภอคลองหอยโข่ง โครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ หลักสูตรระยะสั้น การจักสานเส้นพลาสติก ให้กับกลุ่มแม่บ้าน ประชาชนทั่วไปและเมื่อเรียนจบหลักสูตรได้มีการผู้ที่สนใจเข้ารวมกลุ่มกันทำเป็นอาชีพขายส่งในชุมชนและตามร้านค้าต่างๆ มีสมาชีกที่รวมกลุ่มกัน 10 คน
กลุ่มการทำดอกไม้จันท์ บ้านจอมหรำ หมู่ที่ 1เริ่มจากการส่งเสริมการศึกษาต่อเนื่องของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศํยอำเภอคลองหอยโข่ง โครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ หลักสูตรระยะสั้น การทำดอกไม้จันท์ ให้กับกลุ่มแม่บ้าน ประชาชนทั่วไปและเมื่อเรียนจบหลักสูตรได้มีการผู้ที่สนใจเข้ารวมกลุ่มกันทำเป็นอาชีพขายส่งในชุมชนและตามร้านค้าต่างๆ มีสมาชีกที่รวมกลุ่มกัน 15 คน
กลุ่มการแปรรูปกล้วย บ้านควนกบ หมู่ที่ 7 เริ่มจากการส่งเสริมการศึกษาต่อเนื่องของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศํยอำเภอคลองหอยโข่ง โครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ หลักสูตรระยะสั้น การแปรรูปกล้วย ให้กับกลุ่มแม่บ้าน ประชาชนทั่วไปและเมื่อเรียนจบหลักสูตรได้มีการผู้ที่สนใจเข้ารวมกลุ่มกันทำเป็นอาชีพขายส่งในชุมชนและตามร้านค้าต่างๆ มีสมาชีกที่รวมกลุ่มกัน 20 คน
แหล่งเรียนรู้ในชุมชนและทุนด้านงบประมาณที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการจัดการศึกษา
๑. แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคล ได้แก่
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
|
ความรู้ความสามารถ
|
ที่อยู่
|
1.นางรัชนีกร ไชยรัตน์
|
การทำดอกไม้จันท์
|
3/3 หมุ่ที 1 ตำคลองหอยโข่ง
|
2.นางถนอม บำรุง
|
การเล่านิทาน เพลงกล่อมเด็ก
|
10 หมุ่ 1 ตำบลคลองหอยโข่ง
|
3.นายเจือนรัตนเสมา
|
การแกะสลัก/การจักสาน
|
56 หมู่ 2 ตำบลคลองหอยโข่ง
|
4.นายจรวย พรหมจรรย์
|
การเล่นหนังตะลุง
|
56 หมู่ 2 ตำบลคลองหอยโข่ง
|
5.นายดลอะซีด บิลโส๊ะ
|
การเกษตรแบบผสมผสาน
|
14 หมู่ 6 ตำบลคลองหอยโข่ง
|
๒. แหล่งเรียนรู้ประเภทสถานที่/ชุมชน/กลุ่มทางเศรษฐกิจ/สังคม ได้แก่
ชื่อแหล่งเรียนรู้
|
ประเภทแหล่งเรียนรู้
|
ที่ตั้ง
|
พิพิธภัณฑ์ชุมชน
|
พิพิธภัณฑ์ชุมชน
|
ม.1 ตำบลคลองหอยโข่ง
|
กลุ่มออมทรัพย์
|
กลุ่มออมทรัพย์
|
ม.7 ตำบลคลองหอยโข่ง
|
การทำดอกไม้จันท์
|
กลุ่มอาชีพ
|
ม.1 ตำบลคลองหอยโข่ง
|
4.ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
|
เศรษฐกิจพอเพียง
|
ม.3 ค่ายรัตนพล
|
5.ฟาร์มตัวอย่าง
|
เศรษฐกิจพอเพียง
|
ม.3 บ้านเหนือ
|
6.วัดโพธิ์/วัดเก่าร้าง/สำนักสงฆ์บ้านเหนือ/สำนักสงฆ์จอมหรำ
|
โบราณสถาน
|
ม.1,2,3,6
|
๓. แหล่งเรียนรู้สนับสนุนทุน/งบประมาณ ประเภทองค์กร ได้แก่
ภาคีเครือข่าย
|
การสนับสนุน
|
ที่อยู่/ที่ตั้ง
|
1.ศูนย์เรียนรู้การเกษตรคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอคลองหอยโข่ง
|
อนุเคราะห์สถานที่/งบประมาณ
|
หมู่ที่ 5 บ้านทุ่งเลียบ
|
2.วัดโพธ์
|
อนุเคราะห์สถานที่/วิทยากร
|
หมู่ที่ 2 บ้านดานงา
|
3.โครงการฟาร์มตัวอย่าง
|
อนุเคราะห์สถานที่/วิทยากร
|
หมู่ที่ 3 บ้านเหนือ
|
4.กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
|
อนุเคราะห์สถานที่/วิทยากร
|
หมู่ที่ 2 บ้านดานงา
|
5.กลุ่มการปลูกผักบ้านทุ่งเลียบ
|
อนุเคราะห์สถานที่/วิทยากร
|
หมู่ที่5 บ้านทุ่งเลียบ
|
6.กลุ่มสหกรณ์การยาง(โรงรม)
|
อนุเคราะห์สถานที่/วิทยากร
|
หมู่ที่ 6 บ้านเก่าร้าง
|
6.กลุ่มสหกรณ์การยาง(โรงรม)
|
อนุเคราะห์สถานที่/วิทยากร
|
หมู่ที่ 7 บ้านควนกบ
|
7.กลุ่มแปรรูปกล้วย
|
อนุเคราะห์สถานที่/วิทยากร
|
หมู่ที่ 7 บ้านควนกบ
|
8.ศูนย์วัฒนธรรมพื้นบ้าน
|
อนุเคราะห์สถานที่/วิทยากร
|
หมู่ที่ 1 บ้านจอมหรำ
|
ศูนย์ฝึกมโนราห์บ้านคลองเหรียง
|
อนุเคราะห์สถานที่/วิทยากร
|
หมู่ที่ 6บ้านเก่าร้าง
|
9.องค์กรบริหารส่วนตำบลคลองหอยโข่ง
|
อนุเคราะห์สถานที่/งบประมาณ
|
หมู่ที 3 บ้านเหนือ
|
10.สำนักงานเกษตรอำเภอ
|
อนุเคราะห์สถานที่/งบประมาณ
|
หมู่ที่ 2 ตำบลคลองหอยโข่ง
|
11.ปศุสัตว์อำเภอ
|
หน่วยงานภาครัฐ
|
หมู่ที่ 2 ตำบลคลองหอยโข่ง
|
๓แหล่งเรียนรู้สนับสนุนทุน/งบประมาณ ประเภทองค์กร ได้แก่
ภาคีเครือข่าย
|
การสนับสนุน
|
ที่อยู่/ที่ตั้ง
|
12.สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ
|
อนุเคราะห์สถานที่/วิทยากร
|
หมู่ที่ 2 ตำบลคลองหอยโข่ง
|
13.สำนักงานสาธารณะสุขอำเภอ
|
อนุเคราะห์สถานที่/วิทยากร
|
หมู่ที่ 2 ตำบลคลองหอยโข่ง
|
14.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านทุ่งเลียบ
|
อนุเคราะห์สถานที่/วิทยากร
|
หมู่ที่ 5 ตำบลคลองหอยโข่ง
|
15.ศูนย์บริการสาธารณะสุขตำบลคลองหอยโข่ง
|
อนุเคราะห์สถานที่/วิทยากร
|
หมู่ที่ 2 ตำบลคลองหอยโข่ง
|
16.กองพลพัฒนาที่ ๔ ค่ายรัตนพล
|
อนุเคราะห์สถานที่/วิทยากร
|
หมู่ที่ 3 ตำบลคลองหอยโข่ง
|
17.กองพันพัฒนาที่ ๔ ค่ายรัตนพล
|
อนุเคราะห์สถานที่/วิทยากร
|
หมู่ที่ ๓ ตำบลคลองหอยโข่ง
|
18.สถานีตำรวจ
|
อนุเคราะห์สถานที่/วิทยากร
|
หมุ่ที่ ๓ ตำบลคลองหอยโข่ง
|
19.กลุ่ม อสม./กลุ่มผู้สูงอายุ/กลุ่มอาชีพ/กลุ่มผู้นำชุมชน
|
ประชาสัมพันธ์ช่วยงาน กศน.
|
หมู่ที่ 1,2,3,4,5,6,7
|
การท่องเที่ยวและการบริการ
ตำบลคลองหอยโข่งมีศักยภาพทางด้านท่องเที่ยว ทั้งในด้านปูชะนีสถานและด้านแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และที่สำคัญที่สุดซึ่งนับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์และสร้างชื่อเสียงเป็นอย่างยิ่ง ได้แก่ น้ำตกผาดำ ทางกลุ่มอนุรักษ์คนรักต้นน้ำผาดำได้ ร่วมกันอนุรักษ์ และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามของตำบลต่อไป
การเงินการธนาคาร
ในตำบลคลองหอยโข่ง มีกองทุนหมู่บ้าน/ธนาคาร รวมถึงกลุ่มเครือข่ายที่รวมตัวกันเพื่อส่งเสริมการออมอยู่หลายกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มก็มีบทบาทที่แตกต่างกัน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณแต่ละยุค แต่ละสมัยตามแต่นโยบายของภาครัฐบาล โดยต่ละกลุ่มมักประสบปัญหาหลายๆอย่าง เช่น การขาดความรู้ด้านการจัดการอย่างเป็นระบบ และขาดระบบการจัดการที่ทันสมัย รวมทั้งชาวบ้านขาดรากฐานการออม สภาพปัญหาที่พบ คือไม่มีระบบการบริหารจัดการที่ดี ความชำนาญ การสูญหนี้
การไฟฟ้า
การประปา
การใช้โทรศัพท์
๒.๕ ข้อมูลด้านการศึกษา
ตำบลคลองหอยโข่งมีสถานศึกษารวมทั้งหมด 5 แห่ง
หมู่ที่
|
ชื่อหมู่บ้าน
|
จำแนกตามการศึกษาสูงสุด
|
ไม่รู้หนังสือ
|
ต่ำกว่าประถม
|
ประถม
|
ม.ต้น
|
รวม
|
หมายเหตุ
|
1
|
บ้านจอมหรำ
|
1
|
34
|
100
|
170
|
305
|
|
2
|
บ้านดานงา
|
1
|
39
|
100
|
1246
|
1386
|
|
3
|
บ้านเหนือ
|
1
|
36
|
200
|
953
|
1225
|
|
4
|
บ้านยูงทอง
|
-
|
39
|
90
|
233
|
362
|
|
5
|
บ้านทุ่งเลียบ
|
-
|
39
|
143
|
254
|
436
|
|
6
|
บ้านเก่าร้าง
|
1
|
36
|
195
|
730
|
962
|
|
7
|
บ้านควนกบ
|
10
|
36
|
219
|
370
|
635
|
|
จากตารางข้อมูลระดับการศึกษาของประชาชนในตำบล พบว่ามีจำนวนผู้ไม่รู้หนังสือ ร้อยละ 0.26 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งจำนวนผู้ไม่รู้หนังสือส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุประสบปัญหาในเรื่องความจำ สายตา สำหรับผู้ไม่รู้หนังสือที่เป็นกลุ่มประชากรวัยแรงงานจะไม่มีเวลามาเรียนเพราะต้องทำงานหาเลี้ยงครอบครัว การเข้ารับบริการส่งเสริมการรู้หนังสือต้องเกิดจากความต้องการ ความสนใจ และความพร้อมของผู้เรียน จากการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่าผู้เข้าร่มกิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือส่วนใหญ่มีปัญหาในเรื่องเวลาการเรียน ฝึกทักษะในการเขียน การอ่านและการลืมหนังสือ ทำให้เกิดความท้อแท้ไม่อยากเรียนและเรียนไม่ครบหลักสูตรตามที่กำหนด เป็นผลให้จำนวนผู้ไม่รู้หนังสือมีอยู่ จำนวนผู้จบไม่บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด
เข้าชม : 1226 |