|
|
กศน. ตำบลคลองหอยโข่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ตำบลคลองหอยโข่ง เป็นตำบลดั้งเดิม ตั้งแต่อำเภอคลองหอยโข่งขึ้นอยู่กับอำเภอหาดใหญ่ ปัจจุบันเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอคลองหอยโข่ง ประชากรเป็นคนดั้งเดิมอาศัยสืบทอดมาแต่โบราณ สันนิษฐานได้จากสถานที่สำคัญทางศาสนาบ่งบอกถึงประวัติศาสตร์เก่าแก่สมัยรัตนโกสินทร์ แต่ด้วยความเป็นถิ่นทุรกันดาร กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศแยกให้เป็นกิ่งอำเภอคลองหอยโข่งตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2535 และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็นอำเภอ ตั้งแต่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2540 เป็นต้นมา สภาพทั่วไปของตำบล พื้นที่เหมาะสมแก่การทำการเกษตร ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยางเป็นอาชีพหลัก อาณาเขตตำบล - ทิศเหนือ จรด หมู่ที่ 1 ตำบลคลองหลา - ทิศใต้ จรด ตำบลทุ่งหมอ อำเภอสะเดา - ทิศตะวันออก จรด หมู่ที่ 7 ตำบลโคกม่วง , อำเภอสะเดา - ทิศตะวันตก จรด จังหวัดสตูล ข้อมูลอาชีพของตำบล -อาชีพหลัก ทำสวน/ทำไร่ -อาชีพเสริม ทำขนม ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล 1. น้ำตกผาดำ 2. ที่ว่าการอำเภอคลองหอยโข่ง 3. วัดโพธิ์ 4. สำนักสงฆ์จอมหรำพัฒนา 5. สำนักสงฆ์บ้านเก่าร้าง 6. โรงเรียนบ้านหน้าวดัโพธิ์ 7. กองพลพัฒนาที่ 4 (ค่ายรัตนพล) 8. สถานีวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดจังหวัดสงขลา 9.ฟาร์มตัวอย่าง ภูมิประเทศ พื้นที่ทางทิศตะวันตกติดเทือกเขาสันการาคีรี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลูกคลื่นลอนลาด เนินเขา ที่ลาดเชิงเขา และพื้นที่ราบลุ่ม ภูมิอากาศ ตำบลคลองหอยโข่งอยู่ภายใต้อิทธิของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมี 2 ฤดูกาล คือ ฤดู ร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม กศน.ตำบลคลองหอยโข่งเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชน ตามกรอบบทบาทหน้าที่ที่กำหนดไว้เพียงกลไกเดียว ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นเหตุผลรองรับที่สำคัญในการใช้ กศน.ตำบล เป็นกลไกที่มีศักยภาพในการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองของประเทศ โดยมุ่งหวังให้ภารกิจของ กศน.ตำบล เป็นศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนที่มีคุณภาพ โดยมีเป้าหมายสุดท้ายให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อรายงานผลการปฏิบัติงานตามกรอบแผนงานทิศทางและขอบข่ายงานที่ได้รับมอบหมาย ๒. เพื่อให้นำผลการปฏิบัติงานไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองและพัฒนางานที่ได้รับมอบหมาย คำนิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้อง ๑. รายงานผลการปฏิบัติงาน หมายถึง เอกสารอธิบายรายละเอียดของผลการดำเนินงานของบุคลากรที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงาน การประสานงานกับบุคคลอื่น และเอกสารที่เกี่ยวข้องในการทำงานผลการดำเนินงาน ที่บรรลุตามมาตรฐานการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ๒. งานปฏิบัติการสอน หมายถึง งานที่ได้รับมอบหมายให้ทำการสอน ตามคำสั่งของผู้บริหาร กศน.อำเภอคลองหอยโข่ง ๓. งานปฏิบัติใน กศน.ตำบล หมายถึง งานบริหาร งานพัฒนา กศน.ตำบล ๔. งานปฏิบัติสร้างเครือข่าย หมายถึง งานที่ได้รับมอบหมายประสาน กลุ่มองค์กร เครือข่ายทั้งภาครัฐ และเอกชน ที่นอกเหนือจากงานปฏิบัติการสอน และงานปฏิบัติใน กศน.ตำบล ๕. งานอื่น ๆ หมายถึง งานที่นอกเหนือจากงานปฏิบัติในหน้าที่ ครู กศน.ตำบล หมายถึง งานเร่งด่วน หรือ งานโครงการพิเศษ เช่น งานโครงการหลวง เป็นต้น ๖. มาตรฐานการศึกษา หมายถึง คุณลักษณะ คุณภาพที่พึงประสงค์ และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการจัดการเรียนการศึกษาของการศึกษานอกระบบและการศึกศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับส่งเสริม กำกับดูแล ตรวจสอบ ติดตามประเมินผล ในการประกันคุณภาพการศึกษาของ การศึกษานอกระบบและการศึกศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกศึกษาตามอัธยาศัย ได้กำหนดมาตรฐานการศึกษาตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ของสำนักงานรับรองและประเมินมาตรฐานการศึกษา ขอบเขตของงาน กศน.ตำบล มีบทบาทสำคัญในการจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชน โดยมีครู กศน.ตำบล เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงาน กศน.ตำบล ดังนี้ ๑) การวางแผนจัดทำฐานข้อมูลชุมชนจัดทำแผนพัฒนา กศน. ตำบล และจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี ๒) การจัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กศน. ตำบล มีฐานะเป็นหน่วยจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชน มีภารกิจดังนี้ ๑.จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายในชุมชน โดยแยกเป็นกิจกรรมดังนี้ ๑) การศึกษานอกระบบ - การศึกษาขั้นพื้นฐาน - การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ - การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต - การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน - กระบวนการเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๒) การศึกษาตามอัธยาศัย ๒. สร้างและขยายภาคีเครือข่าย เพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน ๓. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน ของภาคีเครือข่าย ๔. จัดทำระบบข้อมูล สถิติ และสารสนเทศ เกี่ยวกับประชากรกลุ่มเป้าหมาย ๕. จัดทำแผน โครงการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ประจำปีงบประมาณ ๖. ประสานงานและเชื่อมโยงการดำเนินงานการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ๗. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ๘. รายงานผลการดำเนินงานการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยต่อ กศน.อำเภอ
เข้าชม : 1970 |
|
|
|
|