การศึกษาขั้นพื้นฐาน
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
การปรับปรุงและเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การดำเนินงาน
ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 พ.ศ.2559
………………………………………………
ความเป็นมาและแนวคิด
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนามนุษย์ นานาประเทศต่าง
ก็พัฒนาคนในชาติของตนเองผ่านระบบการศึกษาเช่นเดียวกัน แต่เมื่อเวลาผ่านไปประเทศประสบปัญหา เช่น ปัญหาความยากจน ปัญหาความแตกต่างกันทางด้านความคิด ปัญหาการใช้ความรุนแรง ปัญหาสังคมเด็กติดเกม
สารเสพติด และการพนันต่าง ๆ เป็นต้น ปัญหาดังกล่าวสะท้อนถึงระบบการจัดการศึกษาของประเทศว่าการศึกษาได้ทำหน้าที่ของการเป็นเครื่องมือในการพัฒนามนุษย์ได้เพียงใด
ในอีกด้านหนึ่ง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2558 กำหนดเป้าหมายให้ปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นเป็น 12 ปี แต่จากการสำรวจภาวการณ์การมีงานทำของประชากร พ.ศ. 2557 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า แรงงานไทยอายุระหว่าง 15-59 ปี จำนวนประมาณ 25.08 ล้านคน จากจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 34.85 ล้านคน เป็นผู้ที่ยังไม่จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากเป้าหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับดังกล่าวกับผลการจัดการศึกษาเพื่อยกระดับการศึกษาของประชาชนในปี พ.ศ. 2557 เฉพาะประชากรวัยแรงงาน ที่ยังไม่จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี รัฐบาลยังมีภาระที่ต้องยกระดับการศึกษาของประชากร อีก 25 ล้านคน ซึ่งเป็นความยากที่จะให้บรรลุเป้าหมายตามแผน
ด้วยเหตุปัจจัยดังกล่าวข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่าการศึกษายังไม่สามารถช่วยให้ประชาชนบางส่วนมีความรู้ มีความสามารถและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้ รวมถึงการพัฒนาจิตใจและจิตสำนึกในความเป็นคนดีได้ และเด็กและเยาชนส่วนหนึ่งต้องออกจากระบบการศึกษาเข้าสู่ตลาดแรงงานทำงานในสถานประกอบการทั้งๆที่ไม่มีทักษะฝีมือในการทำงาน และอีกส่วนหนึ่งปฏิเสธระบบการศึกษา ไปอยู่ในสถานที่
สุ่มเสี่ยงต่อการสร้างปัญหาทางสังคมตามมา
สำนักงาน กศน. มีบทบาทในการพัฒนาประชาชนที่อยู่นอกระบบโรงเรียน จึงหามาตรการที่จะทำให้การจัดการศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนามนุษย์ได้อย่างแท้จริง และสามารถยกระดับการศึกษาของแรงงานดังกล่าว เพื่อให้จำนวนประชากรของชาติมีระดับการศึกษาเฉลี่ยสูงขึ้น โดยจะนำหลักการและแนวคิดในการจัดการศึกษานอกระบบมาใช้ให้เป็นรูปธรรม หลักการและแนวคิดดังกล่าวมีด้วยกัน 5 ประการ คือ
1) หลักความเสมอภาค 2) หลักการพัฒนาตนเองและการพึ่งตนเอง 3) หลักการบูรณาการกับวิถีชีวิต 4) หลักความสอดคล้อง 5) หลักการเรียนรู้ร่วมกันและการมีส่วนร่วมของชุมชนสังคม โดยจะปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินงานการศึกษานอกระบบขั้นพื้นฐานในบางเรื่อง ให้สามารถดำเนินการเพื่อยกระดับการศึกษาของประชากรไทยให้ได้ และมุ่งจัดการศึกษาที่ตอบโจทย์ของประชาชน ชุมชนและสังคม ยึดผู้เรียนเป็นเป้าหมาย โดยจะจัดให้มีโปรแกรมการเรียนที่หลากหลาย สอดคล้องกับการทำงาน การประกอบอาชีพของผู้เรียนเพื่อพัฒนาและยกระดับการทำงาน และการประกอบอาชีพของตนเอง หรือต่อยอดการงานอาชีพ ด้วยแนวคิดและความจำเป็นดังกล่าว จึงปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและบริบทของชุมชน สังคม
มากยิ่งขึ้น
2. เพื่อเร่งรัดการยกระดับปีการศึกษาเฉลี่ยของประชาชน
หลักเกณฑ์การดำเนินงานที่ปรับปรุง
เพื่อให้สามารถจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 บรรลุตามหลักการของหลักสูตรมากยิ่งขึ้น จึงปรับปรุงและเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การดำเนินงาน
ในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1. โครงสร้างหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร
หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ที่
|
สาระการเรียนรู้
|
จำนวนหน่วยกิต
|
ประถมศึกษา
|
มัธยมศึกษาตอนต้น
|
มัธยมศึกษาตอนปลาย
|
วิชาบังคับ
|
วิชาเลือก
|
วิชาบังคับ
|
วิชาเลือก
|
วิชาบังคับ
|
วิชาเลือก
|
1
|
ทักษะการเรียนรู้
|
5
|
|
5
|
|
5
|
|
2
|
ความรู้พื้นฐาน
|
12
|
|
16
|
|
20
|
|
3
|
การประกอบอาชีพ
|
8
|
|
8
|
|
8
|
|
4
|
ทักษะการดำเนินชีวิต
|
5
|
|
5
|
|
5
|
|
5
|
การพัฒนาสังคม
|
6
|
|
6
|
|
6
|
|
รวม
|
36
|
12
|
40
|
16
|
44
|
32
|
48 นก.
|
56 นก.
|
76 นก.
|
กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
|
200 ชม.
|
200 ชม.
|
200 ชม.
|
โครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 คงใช้
โครงสร้างเดิม แต่จะปรับรายละเอียดภายใน ซึ่งไม่กระทบต่อมาตรฐานและสาระการเรียนรู้ในหลักสูตร ดังนี้
1.1 วิชาบังคับ
1.1.1 ปรับเนื้อหาบางรายวิชาให้มีความทันสมัยและทันต่อการเปลี่ยนแปลง
1.1.2 วิเคราะห์เนื้อหาที่ต้องรู้ในรายวิชาบังคับ และจัดทำสื่อเผยแพร่ให้สถานศึกษาและผู้เรียนนำไปใช้ในการเรียน
1.2 วิชาเลือก วิชาเลือกจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ วิชาเลือกบังคับ และวิชาเลือกเสรี โดยกำหนดสัดส่วนดังนี้
ที่
|
สาระการเรียนรู้
|
จำนวนหน่วยกิต
|
ประถมศึกษา
|
มัธยมศึกษาตอนต้น
|
มัธยมศึกษาตอนปลาย
|
เลือกบังคับ
|
เลือกเสรี
|
เลือกบังคับ
|
เลือกเสรี
|
เลือกบังคับ
|
เลือกเสรี
|
1
|
ทักษะการเรียนรู้
|
-
|
|
-
|
|
-
|
|
2
|
ความรู้พื้นฐาน
|
2
|
|
3
|
|
3
|
|
3
|
การประกอบอาชีพ
|
-
|
|
-
|
|
-
|
|
4
|
ทักษะการดำเนินชีวิต
|
2
|
|
3
|
|
3
|
|
5
|
การพัฒนาสังคม
|
-
|
|
-
|
|
-
|
|
รวม
|
4
|
8
|
6
|
10
|
6
|
26
|
12 นก.
|
16 นก.
|
32 นก.
|
1.2.1 วิชาเลือกบังคับ เป็นวิชาที่พัฒนาขึ้นตามนโยบายของประเทศ และเพื่อแก้ปัญหาวิกฤต
ของประเทศในเรื่องต่างๆ ในช่วงแรก จะพัฒนาจำนวน 2 วิชา ทั้ง 3 ระดับ คือ วิชาพลังงานไฟฟ้า และความรู้ทาง
การเงิน
1.2.2 วิชาเลือกเสรี เป็นวิชาที่สถานศึกษาพัฒนาขึ้นเอง โดยให้ยึดหลักการในการพัฒนา คือ
1) พัฒนาโปรแกรมการเรียน เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางและเป้าหมายทางการเรียนของผู้เรียน สถานศึกษาจึงต้องวิเคราะห์ความต้องการ ความจำเป็น และความสนใจของผู้เรียน เพื่อออกแบบโปรแกรมการเรียน ภายในโปรแกรมการเรียนจะประกอบไปด้วยรายวิชาต่างๆ ที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้
2) การพัฒนารายวิชาในโปรแกรมการเรียน สถานศึกษาควรดำเนินการร่วมกับผู้เรียนและภูมิปัญญา ผู้รู้ หรือผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆ จัดทำโปรแกรมการเรียนและพัฒนารายวิชาต่างๆ
2. การจัดกระบวนการเรียนรู้
2.1 ครู กศน. เป็นผู้ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนเป็นรายกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย และ รายบุคคล ( Individualized Education Program /Plan) ในขณะเดียวกันครูและผู้เรียนต้องร่วมกันในการอภิปราย แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์และสรุปผลการเรียนรู้ร่วมกัน อันจะทำให้ได้องค์ความรู้ใหม่ๆ
2.2 ผู้เรียนใช้วิธีการเรียนรู้หลายวิธีผสมกันทั้งการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้แบบทางไกล การพบกลุ่ม การเข้าค่าย การสอนเสริม หรือ การเรียนโดยโครงงาน การเรียนรู้ที่หลากหลายวิธีจะต้องมีแผนการเรียนรู้ โดยครูและผู้เรียนจัดทำสัญญาการเรียนรู้ร่วมกัน และครูจะเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนและกำกับให้การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นไปตามแผนและบรรลุเป้าหมาย
3. สื่อ
3.1 สื่อวิชาเลือกบังคับกลุ่มพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจัดทำต้นฉบับ
3.2 สื่อรายวิชาเลือกเสรี สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรรายวิชาเลือกเสรี แล้วเสนอให้คณะกรรมการของ สำนักงาน กศน.จังหวัดพิจารณา ตรวจสอบสอดคล้องของรายวิชากับโปรแกรมการเรียน สอดคล้องกับมาตรฐานของกลุ่มสาระในแต่ละระดับการศึกษา จากนั้น สำนักงาน กศน.จึงขอรหัสรายวิชาเลือกจากระบบโปรแกรมรายวิชาเลือก ทั้งนี้
ไม่อนุญาตให้พัฒนารายวิชาเลือกที่เรียนได้ทุกระดับการศึกษา
3.3 รูปแบบของสื่อ มี 2 รูปแบบ คือ แบบชุดวิชาและแบบเรียนปลายเปิดโดยให้พิจารณา
ตามธรรมชาติของวิชา
3.4 การจัดทำสื่อเสริมการเรียนรู้ กลุ่มพัฒนาการศึกษานอระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ร่วมกันผลิตสื่อเสริมการเรียนรู้ในเนื้อหาที่ยาก เพื่อเสริมความรู้ความเข้าใจในการเรียนรายวิชาต่างๆ
4. การวัดและประเมินผล
การวัดและประเมินผลจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
4.1 วิชาบังคับ สำนักงาน กศน.กำหนดสัดส่วนการวัดผลระหว่างภาคเรียนและปลายภาคเรียน เป็น 60 : 40 โดยวัดผลในเนื้อหาที่ต้องรู้ และจัดทำ Test Blueprint เฉพาะเนื้อหาที่ต้องรู้ Test Blueprint ดังกล่าว จะสอดคล้องกับการสอบ N-net ด้วย
4.2 วิชาเลือกบังคับ กำหนดสัดส่วนการวัดผลระหว่างภาคและปลายภาค คือ 60 : 40 โดยกลุ่มพัฒนาระบบการทดสอบจะเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดทำ Test Blueprint และจัดทำแบบทดสอบ ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนและการวัดประเมินผลมีมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ
4.3 วิชาเลือกเสรี สถานศึกษาปรับปรุงระเบียบสถานศึกษาว่าด้วยการวัดและประเมินผล
การเรียน โดยเพิ่ม เกณฑ์การวัดและประเมินผล
5. การเทียบโอนผลการเรียน
สำนักงาน กศน. มีนโยบายให้ดำเนินการเทียบโอนผลการเรียนโดยใช้วิธีการต่าง ๆ คือ
5.1 ปรับแนวทางการเทียบโอนผลการเรียนจากหลักสูตรต่างๆ ของการศึกษาในระบบให้สามารถ
เทียบโอนเข้าสู่การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
5.2 พัฒนาเกณฑ์การเทียบโอนกลุ่มอาชีพ เช่น กลุ่มอาชีพนวดแผนไทย กลุ่มอาชีพพนักงาน
รักษาความปลอดภัย เป็นต้น
5.3 พัฒนาเกณฑ์การเทียบโอนจากหลักฐานการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ ที่หน่วยงานต่างๆ เป็นผู้
ประเมิน เช่น กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ หรือกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่มีระบบการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพให้กับผู้ประกอบอาชีพ เพื่อมาจัดทำหลักเกณฑ์การเทียบโอนคุณวุฒิวิชาชีพต่างๆเหล่านี้ร่วมกัน
6. แผนการลงทะเบียนเรียน 4 ภาคเรียน
การลงทะเบียนเรียนในช่วงแรก สำนักงาน กศน.กำหนดแผนการลงทะเบียนให้เป็นแนวเดียวกัน
สำหรับผู้เรียนที่ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาในภาคเรียนที่ 1/2559 ตัวอย่างแผนการลงทะเบียนเรียน
ตัวย่างแผนการลงทะเบียนเรียน
หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ระดับประถมศึกษา
ที่
|
สาระการเรียนรู้
|
ภาคเรียนที่1/2559
|
ภาคเรียนที่ 2/2559
|
ภาคเรียนที่ 1/2560
|
ภาคเรียนที่ 2/2560
|
รหัสวิชา
|
รายวิชา
|
นก.
|
รหัสวิชา
|
รายวิชา
|
นก.
|
รหัสวิชา
|
รายวิชา
|
นก.
|
รหัสวิชา
|
รายวิชา
|
นก.
|
วิชาบังคับ
|
1
|
ทักษะการเรียนรู้
|
ทร11001
|
ทักษะการเรียนรู้
|
5
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
2
|
ความรู้พื้นฐาน
|
พค 11001
|
คณิตศาสตร์
|
3
|
พต 11001
|
ภาษาอังกฤษ
|
3
|
พท 11001
|
ภาษาไทย
|
3
|
พว 11001
|
วิทยาศาสตร์
|
3
|
3
|
การประกอบอาชีพ
|
อช 11001
|
ช่องทางการประกอบอาชีพ
|
2
|
อช 11002
|
ทักษะการประกอบอาชีพ
|
4
|
|
|
|
อช 11003
|
พัฒนาอาชีพให้มีอยู่มีกิน
|
2
|
4
|
ทักษะการดำเนินชีวิต
|
ทช 11001
|
เศรษฐกิจพอเพียง
|
1
|
ทช 11002
|
สุขศึกษา
|
2
|
|
|
|
ทช 11003
|
ศิลปศึกษา
|
2
|
5
|
การพัฒนาสังคม
|
|
|
|
สค 11001
|
สังคมศึกษา
|
3
|
สค 11002
|
ศาสนาและหน้าที่พลเมือง
|
2
|
สค 11003
|
การพัฒนาตนเอง ชุมชน สังคม
|
1
|
รวมหน่วยกิต (บังคับ)
|
11
|
|
|
12
|
|
|
5
|
|
|
8
|
วิชาเลือก
|
1
|
ความรู้พื้นฐาน
|
|
การใช้พลังงานไฟฟ้า
|
2
|
|
|
|
|
เลือกเสรี
|
2
|
|
โครงงาน
|
3
|
2
|
ทักษะการดำเนินชีวิต
|
|
|
|
|
การเงินเพื่อชีวิต
|
2
|
|
เลือกเสรี
|
3
|
|
|
|
รวมหน่วยกิต (เลือก)
|
2
|
|
|
2
|
|
|
5
|
|
|
3
|
รวมหน่วยกิต (ทั้งหมด)
|
13
|
|
|
14
|
|
|
10
|
|
|
11
|
หมายเหตุ : การลงทะเบียนเรียนในวิชาเลือกเสรี สถานศึกษาเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสมของผู้เรียน หรือ ตามบริบทของพื้นที่ ชุมชน สภาพแวดล้อม
ตัวย่างแผนการลงทะเบียนเรียน
หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ที่
|
สาระการเรียนรู้
|
ภาคเรียนที่1/2559
|
ภาคเรียนที่ 2/2559
|
ภาคเรียนที่ 1/2560
|
ภาคเรียนที่ 2/2560
|
รหัสวิชา
|
รายวิชา
|
นก.
|
รหัสวิชา
|
รายวิชา
|
นก.
|
รหัสวิชา
|
รายวิชา
|
นก.
|
รหัสวิชา
|
รายวิชา
|
นก.
|
วิชาบังคับ
|
1
|
ทักษะการเรียนรู้
|
|
|
|
ทร 21001
|
ทักษะการเรียนรู้
|
5
|
|
|
|
|
|
|
2
|
ความรู้พื้นฐาน
|
พท21001
|
ภาษาไทย
|
4
|
พค 21001
|
คณิตศาสตร์
|
4
|
พว 11001
|
วิทยาศาสตร์
|
4
|
|
|
|
พต21001
|
ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน
|
4
|
3
|
การประกอบอาชีพ
|
|
|
|
อช 21001
|
ช่องทางการพัฒนาอาชีพ
|
2
|
อช 21002
|
ทักษะการพัฒนาอาชีพ
|
4
|
อช 21003
|
การพัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็ง
|
2
|
4
|
ทักษะการดำเนินชีวิต
|
|
|
|
|
|
|
ทช 21002
|
สุขศึกษา
พลศึกษา
|
2
|
ทช 21003
|
ศิลปศึกษา
|
2
|
ทช 21001
|
เศรษฐกิจพอเพียง
|
1
|
5
|
การพัฒนาสังคม
|
สค 21001
|
สังคมศึกษา
|
3
|
|
|
|
สค 21002
|
ศาสนาและหน้าที่พลเมือง
|
2
|
สค 21003
|
การพัฒนาตนเอง ชุมชน สังคม
|
1
|
รวมหน่วยกิต (บังคับ)
|
11
|
|
|
11
|
|
|
12
|
|
|
6
|
วิชาเลือก
|
1
|
ความรู้พื้นฐาน
|
การใช้พลังงานไฟฟ้า
|
|
3
|
|
เลือกเสรี
|
2
|
|
เลือกเสรี
|
3
|
|
เลือกเสรี
|
3
|
2
|
ทักษะการดำเนินชีวิต
|
|
|
|
|
การเงินเพื่อชีวิต
|
3
|
|
|
|
|
เลือกเสรี
|
2
|
รวมหน่วยกิต (เลือก)
|
3
|
|
|
5
|
|
|
3
|
|
|
5
|
รวมหน่วยกิต (ทั้งหมด)
|
14
|
|
|
16
|
|
|
15
|
|
|
11
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
หมายเหตุ : การลงทะเบียนเรียนในวิชาเลือกเสรี สถานศึกษาเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสมของผู้เรียน หรือ ตามบริบทของพื้นที่ ชุมชน สภาพแวดล้อม
ตัวย่างแผนการลงทะเบียนเรียน
หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ที่
|
สาระการเรียนรู้
|
ภาคเรียนที่1/2559
|
ภาคเรียนที่ 2/2559
|
ภาคเรียนที่ 1/2560
|
ภาคเรียนที่ 2/2560
|
รหัสวิชา
|
รายวิชา
|
นก.
|
รหัสวิชา
|
รายวิชา
|
นก.
|
รหัสวิชา
|
รายวิชา
|
นก.
|
รหัสวิชา
|
รายวิชา
|
นก.
|
วิชาบังคับ
|
1
|
ทักษะการเรียนรู้
|
|
|
|
ทร 31001
|
ทักษะการเรียนรู้
|
5
|
|
|
|
|
|
|
2
|
ความรู้พื้นฐาน
|
พค 31001
|
คณิตศาสตร์
|
5
|
พต 31001
|
ภาษาอังกฤษเพื่อชีวิตและสังคม
|
5
|
พท 31001
พว 31001
|
ภาษาไทย
วิทยาศาสตร์
|
5
5
|
|
|
|
3
|
การประกอบอาชีพ
|
อช 31002
|
ทักษะการขยายอาชีพ
|
4
|
อช 31001
|
ช่องการขยายอาชีพ
|
2
|
|
|
|
อช 31003
|
การพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคง
|
2
|
4
|
ทักษะการดำเนินชีวิต
|
ทช 31002
|
สุขศึกษา พลศึกษา
|
2
|
|
ศิลปศึกษา
|
2
|
|
|
|
ทช 31001
|
เศรษฐกิจพอเพียง
|
1
|
5
|
การพัฒนาสังคม
|
สค 31001
|
สังคมศึกษา
|
3
|
|
|
|
สค 31002
|
ศาสนาและหน้าที่พลเมือง
|
2
|
สค 31003
|
การพัฒนาตนเอง ชุมชน สังคม
|
1
|
รวมหน่วยกิต (บังคับ)
|
14
|
|
|
14
|
|
|
12
|
|
|
4
|
วิชาเลือก
|
1
|
ความรู้พื้นฐาน
|
|
การใช้พลังงานไฟฟ้า
|
3
|
|
|
|
|
เลือกเสรี
|
3
|
|
เลือกเสรี
|
3
|
2
|
ทักษะการดำเนินชีวิต
|
|
|
3
|
|
การเงินเพื่อชีวิต
|
3
|
|
เลือกเสรี
|
3
|
|
เลือกเสรี
|
3
|
3
|
|
|
เลือกเสรี
|
|
|
เลือกเสรี
|
3
|
|
เลือกเสรี
|
3
|
|
เลือกเสรี
|
3
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เลือกเสรี
|
2
|
รวมหน่วยกิต (เลือก)
|
6
|
|
|
6
|
|
|
9
|
|
|
11
|
รวมหน่วยกิต (ทั้งหมด)
|
20
|
|
|
20
|
|
|
21
|
|
|
15
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
หมายเหตุ : การลงทะเบียนเรียนในวิชาเลือกเสรี สถานศึกษาเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสมของผู้เรียน หรือ ตามบริบทของพื้นที่ ชุมชน สภาพแวดล้อม
บทบาทและภารกิจของหน่วยงานและสถานศึกษา
ในการปรับปรุงและเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การดำเนินงานตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หน่วยงานและสถานศึกษาต้องดำเนินการทบทวนระเบียบ คำสั่งและหนังสือสั่งการที่ได้การสั่งการไว้แล้ว หรือจัดทำหนังสือสั่งการเพิ่มเติม เพื่อให้สถานศึกษาสามารถดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ที่ปรับปรุงใหม่ รวมทั้งสถานศึกษาต้องเตรียมการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถจัดการศึกษาได้บรรลุตามแนวนโยบายและหลักเกณฑ์ที่ปรับใหม่ ดังนี้
1. กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
1.1 วิเคราะห์และจัดทำเนื้อหาที่จำเป็นต้องรู้ในรายวิชาบังคับและเผยแพร่
1.2 ปรับเนื้อหาในรายวิชาบังคับบางรายวิชาให้ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ที่
เปลี่ยนแปลงไปของสังคมปัจจุบัน
1.3 จัดทำสาระและมาตรฐานสาระในวิชาเลือกบังคับ ออกรหัสรายวิชาดังกล่าวและ
เผยแพร่ต่อไป
1.4 จัดทำสื่อหนังสือเรียนวิชาเลือกบังคับและเผยแพร่ต่อไป
1.5 ปรับปรุงระบบโปรแกรมการออกรหัสรายวิชาเลือก และกำหนดรหัสให้ กศน.จังหวัด
เป็นผู้ออกรหัสวิชาเลือก ยกเลิกการให้สถานศึกษา กศน.อำเภอ/เขต ออกรหัสวิชาเลือกได้
1.6 ทำหลักเกณฑ์การเทียบโอน
1.7 ยกเลิกปรับปรุง หรือเพิ่มเติมหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง
1.8 การจัดทำหนังสือสั่งการให้ใช้หลักเกณฑ์การดำเนินงานหลักสูตรการศึกษานอกระบบ
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ปรับปรุง พุทธศักราช 2559)
2. กลุ่มพัฒนาระบบการทดสอบ
2.1 จัดทำ Test Blueprint รายวิชาบังคับและวิชาเลือกบังคับ โดยให้ครอบคลุมเฉพาะเนื้อหาที่ต้องรู้ และสอดคล้องกับ Test Blueprint ที่ใช้ในการออกข้อสอบ N-Net
2.2 จัดทำต้นฉบับแบบทดสอบวิชาเลือกบังคับ จัดส่งให้สำนักงาน กศน.จังหวัดจัดทำ
ชุดข้อสอบ
2.3 ประสานงานการจัดสอบปลายภาคและการจัดสอบ N-Net ให้อยู่ในสัปดาห์เดียวกัน ???
2.4 พัฒนาระบบการสอบออนไลน์ ให้ขยายทั้งพื้นที่บริการ และเพิ่มประเภทของการสอบหน้าจอให้มากขึ้น ได้แก่ การสอบออนไลน์ ในการสอบปลายภาค การสอบเพื่อประเมินความรู้ก่อนเรียนและเทียบโอน
การสอบในการประเมินคุณภาพระดับชาติ เนื่องจาก ข้อจำกัดของผู้เรียน กศน. ที่มีภารกิจจากการประกอบอาชีพและภารกิจทางสังคมเร่งด่วน บางครั้งไม่สามารถมาสอบได้ตามวันที่นัดหมาย ซึ่งจะมีผลสืบเนื่องทำให้ต้องมาเรียนใหม่ ทำให้สูญเสีย
ทั้งเวลาและงบประมาณ
3. สำนักงาน กศน.กทม./จังหวัด
3.1 ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้บริหารสถานศึกษาเกี่ยวกับการปรับปรุงและเพิ่มเติม
หลักเกณฑ์การดำเนินงานหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
3.2 พิจารณาความสอดคล้องของรายวิชาเลือกเสรีกับโปรแกรมการเรียนรู้ การกำหนด
สัดส่วนและวิธีการประเมินผลให้สอดคล้องกับธรรมชาติของวิชา
3.3 ดำเนินการออกรหัสรายวิชาเลือกเสรี
3.4 พัฒนาเครื่องมือวัดประเมินผลปลายภาค
3.5 พัฒนา อบรม ครู บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร
4. สถานศึกษา
สถานศึกษายังต้องจัดการศึกษาตามคู่มือการดำเนินงานที่ประกาศใช้แล้ว เมื่อ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555 และดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ที่ปรับปรุงใหม่นี้
4.1 การเตรียมการ
4.1.1 การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นมาและแนวคิดในการปรับหลักเกณฑ์การ
ดำเนินงานตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อให้เข้าใจถึงทิศทางในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นใน กศน.ตำบลและสถานศึกษา
4.1.2 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สถานศึกษาต้องทบทวนและปรับ
หลักสูตรสถานศึกษา โดย
1) การทบทวนและปรับปรุงองค์ประกอบของหลักสูตรสถานศึกษา
ซึ่งประกอบด้วย แนวคิด หลักการ จุดหมาย สาระและมาตรฐาน การจัดกระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียน โดยต้องปรับให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับการเพิ่มวิชาเลือกบังคับและวิชาเลือกเสรี
2) นำรายวิชาเลือกบังคับที่ส่วนกลางพัฒนาบรรจุในโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา
3) พัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้ที่มาจากความต้องการของผู้เรียน โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนารายวิชาเลือกที่สอดคล้องกับโปรแกรมการเรียนรู้ และชุมชนจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ทั้งในฐานะผู้ให้ความรู้ สถานที่สำหรับการฝึกปฏิบัติและมีส่วนในการประเมินผลการเรียนทั้งในด้านการทำงาน ลักษณะนิสัยในการทำงานและการอยู่ร่วมกันในสังคม โดยจะนำมาตรฐานการศึกษาในแต่ละระดับการศึกษาและมาตรฐานการเรียนรู้ของกลุ่มสาระเป็นเครื่องมือในการควบคุมคุณภาพ เช่น โปรแกรมการกีฬา โปรแกรมนักเต้นประกอบ (แดนซ์เซอร์) โปรแกรมนำเที่ยวท้องถิ่น หรือโปรแกรมอาชีพต่างๆ เป็นต้น
การจัดทำรายวิชาเลือกตามโปรแกรมการเรียนรู้ จะต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับมาตรฐานกลุ่มสาระในแต่ละระดับการศึกษา ไม่อนุญาตให้จัดทำรายวิชาเลือกที่สามารถเรียนได้ทุกระดับการศึกษา
4) การออกรหัสรายวิชาเลือกเสรี ให้เป็นบทบาทหน้าที่ของสำนักงาน กศน.จังหวัด ที่จะเป็นผู้พิจารณาความสอดคล้องของรายวิชากับโปรแกรมการเรียนรู้ เมื่อผ่านการพิจารณาแล้วจึงจะสามารถออกรหัสรายวิชาเลือกได้
4.1.3 การจัดหาสื่อประกอบการเรียนวิชาเลือกเสรี สถานศึกษาต้องเตรียมสื่อที่จะใช้ประกอบการเรียนรายวิชาเลือกเสรีวิชาต่าง ๆ การจัดเตรียมสื่อ สามารถทำได้หลายแนวทาง
1) การพัฒนาขึ้นเอง สถานศึกษาร่วมกับภูมิปัญญาในชุมชนพัฒนาสื่อการเรียนขึ้นใช้เอง หรือใช้แหล่งการเรียนรู้ในชุมชน สื่อที่สถานศึกษาพัฒนาขึ้นใช้เอง ให้แต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการของสถานเป็นผู้พิจารณาตรวจสอบคุณภาพ
2) การนำสื่อของสถานศึกษาอื่นมาใช้ ให้สถานศึกษาขออนุญาตสถานศึกษาที่จัดทำและนำมาใช้ได้ โดยไม่ต้องตรวจสอบคุณภาพ
3) การนำสื่อจากสำนักพิมพ์เอกชนมาใช้ สถานศึกษาต้องจัดให้มีการตรวจสอบคุณภาพสื่อก่อน โดยทำตามขั้นตอนที่ สำนักงาน กศน.กำหนดไว้
4.1.4 การวัดและประเมินผล สถานศึกษาปรับปรุงระเบียบสถานศึกษาว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียน โดยเพิ่ม เกณฑ์การวัดและประเมินผลรายวิชาเลือกเสรี
4.1.5 การเทียบโอนผลการเรียน สถานศึกษาปรับปรุงระเบียบเกี่ยวกับการเทียบโอนผลการเรียน โดยจะต้องเพิ่มเติมแนวทางการเทียบโอนผลการเรียนที่ส่วนกลางจัดทำเพิ่มขึ้น
4.2 ขั้นการจัดการเรียนรู้
4.2.1 ขั้นการจัดการศึกษา
1) แนะแนวทางการศึกษา การแนะแนวจะต้องดำเนินการก่อนการรับสมัครผู้เรียน
เพื่อให้ผู้เรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีข้อมูลเพียงพอในการตัดสินใจเลือกเรียนตามความสนใจและความต้องการของตนเอง
2) การวิเคราะห์ผู้เรียน สถานศึกษา/ครูต้องวิเคราะห์พื้นฐานของผู้เรียนเพื่อ
(1) การเลือกโปรแกรมการเรียนที่สอดคล้องกับความต้องการ
(2) การเทียบโอนผลการเรียน ให้ผู้เรียนตรวจสอบตนเองว่า มีผลการเรียนหรือ
มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องใดมาก่อน เพื่อจะจัดให้มีการเทียบโอนหรือประเมินเพื่อเทียบโอนเป็นผลการเรียนต่อไป
3) จัดให้ลงทะเบียนเรียนรายวิชาเลือกบังคับ (การใช้พลังงานไฟฟ้า 1 หรือ 2 หรือ 3
แล้วแต่ระดับ) ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/2559 หรือหาก สถานศึกษาสามารถพัฒนารายวิชาเลือกที่มีอยู่เป็นโปรแกรม
การเรียนได้
4) การวางแผนและการจัดกระบวนการเรียนรู้
(1) ครูจะต้องดำเนินการวิเคราะห์เนื้อหาของทุกรายวิชาที่ผู้เรียนลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนนั้น ๆ
(2) ครูจะต้องวิเคราะห์เนื้อหาสาระการเรียนร่วมกับผู้เรียนเพื่อวางแผนการเรียนร่วมกันและเมื่อสรุปผลการวิเคราะห์เนื้อหาสาระครูจะต้องจัดทำแผนการเรียนในแต่ละรายสัปดาห์
การประชุมชี้แจงการดำเนินงาน
การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามเกณฑ์การจัดการศึกษาที่ปรับปรุงใหม่นี้ จะใช้กลไกของกลุ่มโซนในการ
สร้างความเข้าใจให้กับผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน การกำกับ ติดตามการดำเนินงานในเชิงวิชาการและการสนับสนุนให้การดำเนินงานให้บรรลุผล โดยมีศึกษานิเทศก์ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ เป็นทีมสอนงาน (coaching) ให้กับบุคลากรของจังหวัดและสถานศึกษา และดำเนินการวิจัยติดตามการดำเนินงานการจัดการศึกษาตามแนวคิดดังกล่าว สามารถปฏิบัติได้เพียงใด ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนได้เพียงใด รวมทั้งคุณภาพของการศึกษาที่ประชาชนได้รับด้วย ตามสื่อประกอบการชี้แจง
ที่แนบนี้
………………………………………………
เข้าชม : 1039 |