[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 

  

ภูมิปัญญาชาวบ้าน
วรรณกรรมชุมชนเพื่อส่งเสริมการอ่าน เรื่อง โนราห์วิเชียรศิลป์ ยุพิน เสียงเสน่ห์

อาทิตย์ ที่ 17 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2566

คะแนน vote : 11  


ข้อมูลวรรณกรรมชุมชนเพื่อส่งเสริมการอ่าน เรื่อง โนราห์วิเชียรศิลป์ ยุพิน เสียงเสน่ห์

ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอควนเนียง 

ศูนย์การเรียนรู้ตำบลควนโส

 

ส่วนที่ 1 ข้อมูลชุมชน

1.     ชื่อชุมชน / หมู่บ้าน หมู่ที่ ๘ บ้านสวน

ตำบลควนโส   อำเภอควนเนียง    จังหวัดสงขลา

2.     ประวัติชุมชน

ประวัติตำบลควนโส

ควนโส เดิมชื่อ ควนสูง เป็นชื่อที่ผู้คนใช้เรียกกัน เนื่องจากตามสภาพที่ตั้งของตำบลสูงเด่นอยู่ทางทิศตะวันตกของทะเลสาบสงขลา สามารถมองเห็นได้ชัดเจนขณะใช้เส้นทางเดินเรือ แต่เดิมนั้นสภาพควนสูงแห่งนี้เป็นป่าตึกดำบรรพ์ มีตันตะเคียนขึ้นอยู่หนาแน่นเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด เช่น กระจง เป็นต้นพื้นที่ราบทางทิศเหนือมีสภาพอุดมสมบูรณ์ มีลำคลองขนาดใหญ่ไหลออกสู่ทะเลสาบสงขลา เหมาะสำหรับใช้เป็นเส้นทางคมนาคม การเกษตรและการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนเป็นอย่างยิ่ง แต่เดิมหน้าวัดควนโสเป็นที่ตั้งของตลาดที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้นพอ ๆ กับตลาดนัดบ้านกรอบของตำบลรัตภูมิ (บ้านควนเนียง) แต่เดิมนั้นบริเวณรอบควนสูงแห่งนี้ไม่ค่อยมีผู้คนอาศัยอยู่     มีพระภิกษุรูปหนึ่งเดินทางมาจากบ้านจะนะ เพื่อหาสถานที่สงบเงียบสำหรับการบำเพ็ญเพียรภาวนาและได้พำนักอยู่ที่ควนสูงแห่งนี้เป็นเวลานานหลายปี หลังเสร็จการบำเพ็ญเพียรภาวนาก็เดินทางกลับที่จะนะ พร้อมกับนำเรื่องราวความอุดมสมบูรณ์ของบ้านควนสูงและพื้นที่ราบทางด้านทิศเหนือไปเล่าให้ชาวบ้านที่จะนะฟัง ทำให้ชาวบางส่วนเกิดความสนใจและได้ย้ายถิ่นฐานมาตั้งที่พักอาศัย ณ ที่ราบดังกล่าว พร้อมกันนั้นได้นิมนต์พระภิกษุรูปดังกล่าวเดินทางนำพวกชาวบ้านกลุ่มดังกล่าวมา          การเดินทางครั้งนี้ใช้ช้างเป็นพาหนะในการเดินทาง ในตอนราบทางทิศเหนือของควนสูงชาวบ้านได้ร่วมมือกันสร้างสำนักสงฆ์พร้อมกันนั้นได้นิมนต์ให้พระธุดงค์ได้จำพรรษา ณ สำนักสงฆ์นั้น ซึ่งปัจจุบันคือวัดควนโส และนับได้ว่าซนกลุ่มแรกที่อาศัยอยู่บนดินแดนควนสูงแห่งนี้ก็คือชาวจะนะ จากบ้าน  ควนสูงซึ่งต่อมาได้ถูกเรียกเพี้ยนไปจนกลายเป็น บ้านควนโส ติดปากถึงปัจจุบันจากความอุดมสมบูรณ์ของบริเวณรอบๆของควนสูงนี้ทำให้ผู้คนจากชุมชนใกล้ อพยพมาตั้งถิ่นฐานใกล้เคียงกับชุมชนบ้านควนโสมากยิ่งขึ้น เช่น บ้านเกาะขาม บ้านผลุ้ง บ้านนาลิง บ้านโคกทราย บ้านบ่อหว้า บ้านท่าม่วง เป็นต้น และได้มีการติดต่อระหว่างชุมชนมากขึ้น เมื่อแต่ชุมชนมีประชากรมากขึ้นทางราชการจึงได้มีการแต่งตั้งผู้ปกครองชุมชนให้มีหน้าที่ดูแลทุกสุขของประชาชน มีการจัดเก็บภาษี รวมทั้งเกณฑ์คนในหมู่บ้าน ชุมชน ร่วมกันทำนาเพื่อเก็บผลผลิตส่งให้ทางราชการเพื่อเป็นเสบียงต่อไป ในตอนแรกเริ่มแต่ละชุมชนเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน ในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ ทางราชการจึงได้จัดระเบียบการบริหารใหม่เพื่อให้เป็นระเบียบในการปกครองและการจัดเก็บภาษี โดยรวบรวมชุมชนต่าง ๆ ที่ตั้งรอบ ๆ ควนสูงเข้ารวมเป็นตำบลเดียวกัน เรียกว่าตำบลควนโส ซึ่งในขณะนั้น ทางราชการได้แต่งตั้งข้าราชการจากจังหวัด มาปกครองดูแล โดยกำหนดให้ตำบลควนโสขึ้นกับการปกครองของอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

หลวงกัลยา กัลยาศิริ (ตันตระกูลกัลยาศิริ) เป็นข้าราชการคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งให้มาปกครอง ดูแลตำบลควนโส โดยได้รับค่าบำเหน็จเป็นเบี้ยหวัด ได้รับศักดินาเป็นนามากมายเพื่อความสะดวกในการเกณฑ์คนไปทำนา หลวงกัลยาจึงได้สร้างที่พักของตนเองและคนงาน บนที่ดอนริมคลองควนโสหลายหลังชาวบ้านจึงได้เรียกที่พักเหล่านั้นว่า ทำเนียบ (ปัจจุบันบ้านทำเนียบเป็นส่วนหนึ่งของหมู่ที่ ๓ บ้านควนโส)หลวงกัลยาต้องย้ายครอบครัวมาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่บ้านหล่า (หมู่ที่ ๓          บ้าน     ควนโส) พร้อมทั้งบริวารอีกหลายคน

นอกจากหน้าที่ในการดูแลทุกข์สุขของประชาชนในตำบลควนโสแล้ว หลวงกัลยายังมีหน้าที่ในการเก็บรวบรวมผลผลิตที่ได้จากการทำนาหลวงเป็นเสบียง ส่งทางราชการ มีการสร้างฉางข้าวเพื่อเป็นที่เก็บข้าวก่อนส่งให้กับทางราชการในหน้าน้ำหลากโดยทางเรือแจวขนาดใหญ่ ผ่านคลองควนโสออกสู่ทะเลสาบสงขลาที่บ้านปากจ่าไปยังอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ ตำบลควนโส ได้เปลี่ยนการปกครองขึ้นกับอำเภอรัฐภูมี จังหวัดพัทลุงซึ่งที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่ บ้านปากบางภูมิ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ได้ย้ายที่ตั้งอำเภอรัฐภูมี จากบ้าน      ปากบาง ภูมีไปตั้งที่บ้านกำแพงเพชรและได้เปลี่ยนชื่อจาก อำเภอรัฐภูมี เป็นรัตภูมิ ขึ้นกับจังหวัดพัทลุง ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๐๔ อำเภอรัตภูมิเปลี่ยนมาขึ้นกับการปกครองจังหวัดสงขลาเมื่อวันที่         6 เมษายน ๒๕''๒๘ และกระทรวงมหาดไทยได้ ยกฐานะตำบลรัตภูมิ ตำบลบางเหรียง ตำบลควนโส และตำบลห้วยลึก จากอำเภอรัตภูมิ เป็นกิ่งอำเภอควนเนียง และเป็นอำเภอควนเนียงใน               ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ จนถึงปัจจุบัน

 

3.     สถานที่สำคัญของชุมชน

วัดควนโส

4.     บุคคลสำคัญของชุมชน

                   พ่อท่านไชย วัดควนโส

ชีวประวัติพ่อท่านไชย วัดควนโส”

พ่อท่านไชย ฌานลาโภ เกิดเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 4 ปีจอ (วันเสาร์ 5 ) ตรงกับ       ปีพุทธศักราช 2430 เป็นบุตรคนสุดท้องในพี่น้องจำนวน 5 คน เป็นชาวตำบลควนโสมาตั้งแต่กำเนิด ท่านได้เข้าเรียนที่โรงเรียนวัดควนโส เมื่ออายุได้ 11 ปีได้บรรพชาสามเณรเนื่องด้วยเหตุว่าพ่อแม่และญาติพี่น้องลงความเห็นว่า ตัวเด็กชายไชย ทนงาน มีลักษณะพิเศษกว่าเด็กคนอื่น ๆ คือ เป็นปานดำทั้งลิ้น(ดำทั้งบนและล่างลิ้น) โดยโบราณกล่าวว่าคนมีปานที่ลิ้นจะพูดอะไรแล้วเป็นจริง จึงกลัวว่าเด็กชายไชยจะไปคาดคำหรือแช่งใครทำให้เขาถึงขั้นวิบัติ แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรดีจึงมีความหวังให้ศาสนาช่วยอบรมบ่มเพาะให้เป็นการควบคุมเด็กคนนี้ไปในตัว เมื่ออายุได้ 21 ปี เข้าอุปสมบท        ณ วัดควนโส อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา โดยมีท่านพระครูวัดท่าม่วง(ไม่ทราบนามแน่ชัด) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ไชยแก้ว วัดควนโส เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พ่อท่านไชยได้ศึกษาพระปริยัติธรรม พระธรรมวินัย ปฎิบัติธรรม ไสยศาสตร์ คาถาอาคมต่าง ๆ จนเป็นที่รู้จักเคารพนับถือเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนทั่วไป พ่อท่านมีอัธยาศัยดี นิ่ง สงบ บางครั้งแอบมีนิสัยขี้เล่นชอบแกล้งพระลูกวัดอยู่บ่อยครั้งเรียกเสียงเฮจากคนรอบข้างได้อย่างดีเลยทีเดียว พ่อท่านไชยนับเป็น          พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งในอำเภอควนเนียง แม้ว่าท่านจะพูดน้อย เงียบขรึม ถ่อมตน    ไม่แสดงออก แต่อภินิหารบวกกับประสบการณ์ต่าง ๆ ได้ปรากฏให้เห็นเป็นที่เลื่อมใสเล่าขานกันไม่รู้จบสิ้น ชาวบ้านมีความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของพ่อท่านไชย ชาวบ้านมักจะพูดเสมอว่า “พ่อท่านไชยไม่ใช่แกพึ่งมาขลังที แกคงความศักดิ์สิทธิ์มาตั้งแต่ครั้งท่านยังมีดำรงธาตุขันธ์อยู่นู่นแหละ” ในหลาย ๆ ด้านโดยเฉพาะ ด้านคงกระพัน แคล้วคลาด เมตตามหานิยมและโชคลาภ ชาวบ้านในละแวกควนเนียงรวมถึงใกล้เคียง หากปลูกบ้านหรือซื้อรถในสมัยนั้นเป็นอันต้องนิมนต์พ่อท่านเพื่อทำการสวดหรือเจิมเป็นทุกรายไป และที่สำคัญนับเป็นสุดยอดของชื่อเสียงท่านในยุคนั้นหากหมู่บ้านหรือเรือนใดต้องอาถรรพ์ อาเพศ   อภิไทโภธิบาทว์ แก้ด้วยพระหรือหมอสำนักไหนไม่หายหากนิมนต์สำนักวัดควนโสไปเป็นต้องหาย   ทุกรายไป บ่อน้ำไหนต้องอาเพศสีข้นดั่งเลือดหากพ่อท่านไชยไปทำพิธีแก้น้ำบ่อนั้นต้องใส คนเฒ่าคนแก่เปรียบว่า “ใสเหมือนตาตุกแตน(ตั๊กแตน)” ด้วยความเคารพเลื่อมใสศรัทธา      ในตัวท่านและประสบความเป็นมงคลต่อชีวิตของตัวเองกับครอบครัวมีโชคลาภพบแต่สิ่งดี ๆ สิ่งที่    ไม่เป็นมงคลจะหายไป จากชีวิตหรือครอบครัว ในแต่ละเดือนพ่อท่านจะได้รับกิจนิมนต์เกือบทุกวัน

สมัยที่พ่อท่านเป็นเจ้าอาวาสท่านได้พัฒนาบำรุงวัดควนโส ให้เป็นสถานที่ร่มเย็นเหมาะแก่การปฏิบัติธรรมและเจริญรุ่งเรืองตลอดมา ท่านได้สร้างกุฏิเจ้าอาวาสเป็นไม้ทั้งหลังซึ่งใช้ไม้ทำสลักยึดโดยไม่ใช้ตะปูในการสร้างกุฏิเลย ปัจจุบันกุฏิหลังนี้ยังคงสภาพอยู่และได้รับการบำรุงรักษาอย่างดี

พ่อท่านไชยได้ร่วมกับพ่อท่านบุญเลี่ยน วัดปากจ่าและชาวบ้านร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์ อุโบสถวัดควนโส ขึ้นในปี 2502-2504) ซึ่งได้สลักจารึกไว้ที่ประตูอุโบสถวัดควนโส โดยมีพระครูพิทักษ์ทานวิจัย(พ่อท่านบุญเลี่ยน จนฺสโร) วัดปากจ่าเป็นผู้อำนวยการสร้างและพ่อท่านไชยเป็นผู้จัดการสร้าง นอกจากนี้พ่อท่านไชยได้สร้างและซ่อมแซมปฏิสังขรณ์โบราณสถานอีกมากมาย พ่อท่านได้บำเพ็ญกิจอันเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมจนเป็นที่ประจักษ์ ทางด้านการศึกษาท่านก็ได้มอบทุนการศึกษาตลอดถึงอุปการะศิษย์ไว้มากมาย

5.     ของดีของชุมชน

ยาเส้นเมา แตงโมหวาน

6.     เศรษฐกิจชุมชน

ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบเกษตร โดยเฉพาะการทำนา ทำสวนยางพารา การทำสวนปาล์ม และประกอบอาชีพรับจ้างเป็นบางส่วน

7.     สังคม  วัฒนธรรม  ภาษาถิ่นที่ใช้ในชุมชน

สังคมในชุมชนบ้านสวน มีความสามัคคีปรองดอง ประพฤติปฏิบัติตามวัฒนธรรมของไทยพุทธ โดยใช้ภาษาถิ่นใต้ในการสื่อสาร

ส่วนที่ 2 เรื่องราวประกอบการจัดทำวรรณกรรมชุมชนเพื่อส่งเสริมการอ่าน

1. ชื่อเรื่อง

โนราห์วิเชียรศิลป์ ยุพิน เสียงเสน่ห์

2. ประวัติผู้ให้ข้อมูล

ชื่อ – สกุล นาย วิเชียร นพรัตน์ 

วัน  เดือน  ปีเกิด  -  -  ๒๔๘๗

อายุ ๗๙ ปี

อาชีพ เกษตร

ระดับการศึกษา ป.๔

ชื่อ – สกุล นาย วิชาธร  นพรัตน์

วัน  เดือน  ปีเกิด    มกราคม  ๒๕๓๘

อายุ ๒๘ ปี

อาชีพ เกษตร

ระดับการศึกษา ป.๖

ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๔๗/๓ หมู่ที่ ๘ ตำบลควนโส อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา

หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๙๙๗๖๖๓๖๗

3.รายละเอียดของเรื่องราว

การแสดงโนรามีรากมาจากพิธีกรรม เพื่อบูชาวิญญาณบรรพชน มีการประทับทรงของลูกหลานที่เป็นคนทรง และเป็นผู้สืบเชื้อสายโนรา เป็นพิธีกรรมที่มีความศักดิ์สิทธิ์และส่งผลให้ การแสดงโนราต้องมีแบบแผนจารีตยึดถือในการปฏิบัติการแสดงโนรา สัมพันธ์กับช่วงเวลา เทศกาลงานบุญ และผูกพันกับวิถีชีวิตของผู้คน ในแต่ละชุมชน ซึ่งมีความแตกต่างกัน แล้วแต่พื้นที่และยังมีการปรับเปลี่ยน ให้เหมาะสมในแต่ละยุคแต่ละสมัย

4. บุคคลอ้างอิง / หลักฐานอ้างอิง/ร่องรอยหลักฐาน

นาย วิเชียร นพรัตน์ 

วัน  เดือน  ปีเกิด  -  -  ๒๔๘๗

อายุ ๗๙ ปี

นาย วิชาธร  นพรัตน์

วัน  เดือน  ปีเกิด    มกราคม  ๒๕๓๘

อายุ ๒๘ ปี

 

 

5. ภาพประกอบ

ภาพภูมิปัญญา โนราห์วิเชียรศิลป์ ยุพิน เสียงเสน่ห์

 

                                    

นายวิเชียร นพรัตน์ (โนราห์วิเชียรศิลป์ ยุพิน เสียงเสน่ห์)       นางยุพิน เพชรชูสิน (โนราห์ยุพิน เสียงเสน่ห์)

 

            

 

นายวิชาธร นพรัตน์ (โนราห์วิชาธร ศ วิเชียรศิลป์) บุตรผู้สืบทอดโนราห์ต่อจากบิดา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การแสดง โนราห์วิเชียรศิลป์ ยุพิน เสียงเสน่ห์

 

        

 

    

 

การประชาสัมพันธ์ การแสดงของ โนราห์วิเชียรศิลป์ ยุพิน เสียงเสน่ห์

 

 

 

บันทึกภาพโดย :

นางยุพา  ทองชูช่วย   ครู กศน.ตำบล

ส่วนที่ 3 รายละเอียดเพิ่มเติม

          ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

 

ประวัติส่วนตัวของ โนราห์วิเชียรศิลป์ ยุพิน เสียงเสน่ห์

นาย วิเชียร นพรัตน์  เป็นบุตรคนโตของ นายเอื้อน  นพรัตน์ และนางเนี้ยว โพธิ์ดำ บิดา มารดามีบุตร ๓ คน คือ ลำดับที่ 1 นาย วิเชียร นพรัตน์  พี่คนโต ลำดับที่ 2 นาย ดิจ นพรัตน์  และลำดับที่ 3 นายฉุ้ย นพรัตน์ ต่อมานาย วิเชียร นพรัตน์  ได้สมรสกับนางยุพิน เพชรชูสิน (โนราห์ยุพิน เสียงเสน่ห์)มีบุตรร่วมกัน จำนวน  ๑ คน คือนายวิชาธร นพรัตน์ (โนราห์วิชาธร ศ วิเชียรศิลป์) ซึ่งเป็นผู้สืบทอดโนราห์ต่อจากนายวิเชียร นพรัตน์( โนราห์วิเชียรศิลป์ ยุพิน เสียงทอง)

 

ความเป็นมาของโนราห์วิเชียรศิลป์ ยุพิน เสียงเสน่ห์ สู่การสืบทอดโนราห์

นาย วิเชียร นพรัตน์  มีความสนใจและรู้สึกรักใจศิลปะกี่แสดงของโนราห์เป็นอย่างมาก โดยในวัยเด็ก ได้ไปชมการแสดงโนราห์เคลิ้น  ก็เกิดความสนใจ และมาฝึกหัดรำด้วยตัวเอง พร้อมกับเพื่อนอีกหนึ่งคน ฝึกซ้อมกันอยู่นานหลายปี ตั้งแต่ต้นมะม่วงที่ปลูก วันแรกที่เริ่มซ้อม จนมะม่วง โตเลยหัว จึงปรึกษากับเพื่อนว่า ถ้าเราสองคนมัวแต่ฝึกรำกันเองแบบนี้คงมีการพัฒนาไปได้ไม่มาก จึงคิดจะไปหาครูโนราห์ แต่เผอิญช่วงนั้น โนราห์เชือนผ่านมาเห็นเข้าซะก่อน ซึ่งตอนนั้นโนราห์เชือนได้เลิกวงไปแล้ว จึงได้นำเครื่องลูกปัดมาให้ ก็รู้สึกดีใจ และเห็นว่าตนมีความมุ่งมั่น ตั้งใจ จึงชักชวนให้ไปหาครูโนราห์ คือโนราห์เคลิ้น ซึ่ง โนราห์เคลิ้น ก็ได้พักวงไปช่วงหนึ่ง จนโนราห์เคลิ้นตั้งวงใหม่อีกครั้ง  ได้นำเครื่องดนตรี ลูกปัดแก้ว  มาให้ ฝึกรำจนชำนาญ และได้ออกแสดง กับวงโนราห์เคลิ้น และวงอื่นๆมากมาย จนมีชื่อเสียง

ต่อมา พอเริ่มเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป ก็ได้มีการสร้างเครื่องดนตรี เครื่องแต่งกายขึ้นเอง ด้วยเพราะว่า ได้รับการว่าจ้างให้ไปทำการแสดงตามที่ต่างๆ เป็นการส่วนตัว แสดงอยู่ได้ พักหนึ่ง ก็ได้พบกับ โนราห์ยุพิน เสียงเสน่ห์ และได้ มีโอกาสได้แสดงร่วมกัน หลายครั้ง จนเกิดความใกล้ชิด และได้สมรสร่วมกัน

ในเวลาต่อมาจึงคิดสร้างวงโนราห์ เป็นของตนเอง โดยไม่ต้องร่วมกับ วงโนราห์เคลิ้นอีก และได้ตั้งชื่อวงว่า  มโนราห์วิเชียรศิลป์ ยุพิน เสียงเสน่ห์ ที่ได้ตั้งชื่อนี้ เพราะ ร่วมกันก่อตั้งกันสองคน และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ผู้คนรู้จักชื่อภรรยาด้วย

สาเหตุ ที่ ผู้คนโดยทั่วไปนิยมชมชอบ มโนราห์วิเชียรศิลป์ ยุพิน เสียงเสน่ห์ นาย วิเชียร นพรัตน์ กล่าวว่า เพราะตน และภรรยา  รำสวย  และรำครบทุกกระบวนท่า ตลอดจน สำเนียง เสียงร้องในการขับบทกลอนไพเราะน่าฟัง ชาวบ้านจึงติดใจในเสียงขับร้อง ฟังแล้วเพลิดเพลิน ไม่น่าเบื่อ แต่ตอนนี้ เนื่องจากชราแล้วจึงมอบหมายให้ลูกชาย คือนายวิชาธร นพรัตน์ (โนราห์วิชาธร ศ วิเชียรศิลป์) เป็นผู้ดูแลวง และแสดงเป็นส่วนใหญ่ ส่วนตนเองและภรรยา ก็คอยช่วยเสริมบ้างในบางครั้ง แต่การจะว่าบท ขับกลอนนั้น ไม่ขับบทกลอนอีกแล้ว เพราะเสียงไม่ใส หรือไม่ไพเราะ เหมือนเก่าแล้วนั่นเอง  

 

ข้อห้ามปฏิบัติ ผู้ที่จะเป็น ใหญ่ ต้องครองเพศพรหมจรรย์ จนอายุครบ ๒๕ ปี ถึงจะ ทำพิธีตัดจุก หรือเป็นโนราห์ใหญ่ได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ความเป็นมาของของโนราห์

 

 

* โนรา หรือ โนราห์ เป็นศิลปะการแสดงท้องถิ่นที่ผูกพัน กับวิถีชีวิตของคนใต้มาช้านาน เป็นการแสดงที่มีแบบแผนการร่ายรำ และขับร้องที่งดงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น มีดนตรีเป็นลูกคู่ เล่นรับ-ส่งตลอดการแสดง ผู้รำโนราสวมเครื่องแต่งกายที่ทำด้วย ลูกปัดหลากสีสวมปีกหางคล้ายนก เทริดทรงสูง ต่อเล็บยาวทำด้วย โลหะ การแสดงโนราเป็นที่นิยมและถือปฏิบัติแพร ่หลายในชุมชน รอบ ๆ ทะเลสาบสงขลาอีกทั้งแพร่กระจายความนิยมไปตลอดสองฟากฝั่ง ของคาบสมุทรอินโดจีน ทางตอนเหนือมีคณะโนราแสดงขึ้นไปถึงจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ส่วนทางตอนใต้มีคณะโนราสองภาษาที่ยังคงแสดงอยู่ใน เขตสามจังหวัดภาคใต้และมีการแสดงของชุมชนไทยในรัฐตอนเหนือของ สหพันธรัฐมาเลเซีย ได้แก่กลันตัน เกดาห์ปะลิส และ ปีนัง

 

ในวันนี้ผู้คนรู้จักโนราในฐานะที่เป็น “มหรสพการแสดงที่งดงาม ทรงพลัง และมีชีวิตชีวา”          เป็น “นาฏยลักษณ์ของคนใต้” การแสดงประกอบไปด้วยการร่ายรำที่แข็งแรง กระฉับกระเฉง การขับกลอนด้วยท่วงทำนองที่ไพเราะ ใช้ปฏิภาณในการด้นกลอนสด และเจรจาด้วยสำเนียงท้องถิ่นใต้มีลูกคู่และดนตรีร้องรับด้วยจังหวะที่คึกคักฉับไว

ผู้คนส่วนใหญ่ไม่เคยรู้ว่า การแสดงโนรามีรากมาจากพิธีกรรม เพื่อบูชาวิญญาณบรรพชน มีการประทับทรงของลูกหลานที่เป็นคนทรง และเป็นผู้สืบเชื้อสายโนรา เป็นพิธีกรรมที่มีความศักดิ์สิทธิ์และส่งผลให้ การแสดงโนราต้องมีแบบแผนจารีตยึดถือในการปฏิบัติการแสดงโนรา สัมพันธ์กับช่วงเวลา เทศกาลงานบุญ และผูกพันกับวิถีชีวิตของผู้คน ในแต่ละชุมชน ซึ่งมีความแตกต่างกัน แล้วแต่พื้นที่และยังมีการปรับเปลี่ยน    ให้เหมาะสมในแต่ละยุคแต่ละสมัย วัฒนธรรมโนราปรับเปลี่ยน สืบทอด สืบสาน และเป็นแหล่งความรู้สำคัญ   ที่ลูกหลานนำมาใช้ในการสร้างสรรค์ วัฒนธรรมการแสดงโนราสมัยใหม่

 

 

โนรา” หรือ “โนราห์” เกิดขึ้นจากพิธีกรรม “โรงครู” โดยมีโนราใหญ่ หรือนายโรงโนรา หรือราชครูโนรา ที่ได้รับฝึกอบรมสั่งสอนจาก ครูโนราผู้ใหญ่และได้รับการครอบเทริดมาแล้วเป็นผู้ประกอบและควบคุมพิธีกรรมให้อยู่ในขนบถูกต้องโนราใหญ่หรือนายโรงโนราใช้อาคมคาถาเสียงดนตรี การขับร้องร่ายรำ   ในการสร้าง พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์เพื่อเชื่อมต่อโลกแห่งความจริงกับโลกแห่งวิญญาณ และเชื้อเชิญวิญญาณบรรพชนให้มารับของเซ่นไหว้ รับของแก้บน และรับชมการแสดงที่ลูกหลานจัดขึ้น การแสดงในพิธีกรรมโรงครูโยงใยกับตำนานการกำเนิดโนรา แม้มีความขรึมขลังแต่ก็เป็นการแสดง ที่มีความสนุกสนานเพื่อสร้างความประทับใจให้กับผู้ชมที่มาชุมนุมที่โรงครูอันได้แก่ วิญญาณบรรพชน และผู้ชมที่เป็นลูกหลาน รวมถึงเพื่อนบ้าน ที่มาร่วมเป็น      สักขีพยานและเป็นผู้ชมการแสดงที่เกิดขึ้นในพิธีกรรมการแสดงนี้

ก่อนที่โนราจะทำพิธีกรรมได้จะต้องผ่านพิธีครอบเทริด เพื่อรับรองและประกาศความรู้ความสามารถของนายโรง โนราคนใหม่ให้เป็นที่รับรู้ของชุมชน โนราเป็นความรู้ที่สืบต่อกัน ของชาวบ้าน สืบทอดขั้นตอนในการร้อง ร่ายรำ ความรู้ทาง อาคมคาถาในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ เพื่อใช้ในการรักษาดูแล ป้องกัน ตนเอง ครอบครัวและชุมชน โนราใหญ่ผู้ผ่านการ ครอบเทริดแล้ว จะมีหน้าที่ในการช่วยเหลือผู้คน ในชุมชนผ่าน    การร่ายรำโนรา ทำให้โนราใหญ่ต้องประพฤติดีถูกต้องถือเป็นสัจจะ ตลอดชีวิต และบวชเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนา เพื่อพร้อมเป็น นายโรงโนราคนใหม่ หลังจากนั้นต้องทำการแสดง ให้เป็นที่รับรู้สามวัดสามบ้าน” จากนั้นนายโรงโนราคนใหม่ก็สามารถ ตั้งคณะโนรา และเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมโรงครูให้กับชุมชนได้ การตั้งต้นเป็นนายโรงโนราตามแบบแผนเช่นนี้ทำให้การเป็น นายโรงโนราเป็นส่วนหนึ่งของประวัติและวัฏจักรของตำนานโนรา

การแสดงโนราห์ ถือได้ว่าเป็นรูปแบบของละครรำที่เก่าแก่ ที่สุดของไทย แต่ประวัติของโนราห์           กลับไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ทั้งนี้เพราะโนราห์เป็นการแสดงที่ซับซ้อนฝังตัวอยู่ในวัฒนธรรม พื้นบ้าน          ที่มีกลวิธีในการสืบทอดเป็นแบบมุขปาฐะหรือการบอกเล่า ปากเปล่าที่ไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร กำเนิดของโนรา ที่มีปรากฏในตำนานท้องถิ่นมีความแตกต่าง ผิดเพี้ยนกันไปบ้าง จากการตีความของศิลปินโนราผู้สืบทอดตามบริบทของแต่ละท้องถิ่น แต่ตำนานโนราก็ยังคล้ายคลึงกัน พอที่จะสร้างเครือข่าย เชื่อมโยงตัวละคร  การกระทำและสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ แม้จะมีนักคติชน นักมนุษยวิทยา นักประวัติศาสตร์และ     นักวรรณกรรมพยายามรวบรวมสืบค้น ตีความตำนานการกำเนิด ของโนราให้สอดคล้องกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ซากโบราณ สถาน ที่มีปรากฏในชุมชนรอบ ๆ ทะเลสาบสงขลา แต่ก็ยัง ไม่สามารถสรุปประวัติของโนราได้ การสืบค้นประวัติของโนรา ผ่านตำนานท้องถิ่นที่มีอยู่ช่วยเชื่อมต่อตำนานโนรากับชุมชน           ที่หลากหลายในภาคใต้นายโรงโนราต่างท้องถิ่นยังคงขับบทกลอน ที่สืบทอดมาร่ายรำอย่างองอาจงดงาม       มีรายละเอียดและแบบแผน จารีตในการปฏิบัติตามที่สืบทอดมาในสายตระกูลของตน ถือว่า เป็นการสืบทอดตำนาน  เป็นหลักฐานของภูมิรู้โนรา

เพื่อให้ตำนานที่เล่าขานมีชีวิตและดำรงไว้ซึ่ง ภูมิรู้ในตัวตนของผู้ปฏิบัติวัฒนธรรมของโนรา จึงต้องมี การแสดงที่ผสมผสานศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ ได้แก่ การร่ายรำ ดนตรีเครื่องแต่งกาย หน้ากากเครื่องประกอบ การแสดง และพื้นที่ในการแสดง ซึ่งมีทั้งความเหมือน และความต่างกับศิลปะการแสดงอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ศิลปะที่ซับซ้อนในวัฒนธรรมโนรานั้น ได้ผ่านการ ปรับเปลี่ยนมาหลายครั้ง นับตั้งแต่ประมาณปีพ.ศ. 2480 เป็นต้นมา เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเมือง การปกครองในไทย ทำให้ชุมชนในส่วนภูมิภาคได้มีส่วนร่วม สร้างความมั่นคงให้กับประเทศในฐานะชาติสมัยใหม่ ในเวทีโลก ในช่วงแปดสิบปีที่ผ่านมาการเปลี่ยนแปลง ที่สำคัญที่สุดในวัฒนธรรมโนราเห็นได้ดังต่อไปนี้ ประการแรก เกิดโนราในรูปแบบของความบันเทิง ทั้งที่เป็นการแสดงบนเวทีที่ทันสมัยและในรายการ แสดงผ่านเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนซึ่งเป็น  ส่วนหนึ่งของ วัฒนธรรมสมัยนิยมทั้งในและนอกภาคใต้ของประเทศไทย ประการที่สอง โนรากลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบ การศึกษาทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับชาติที่มีการเรียน การสอนตั้งแต่ระดับโรงเรียนจนถึงระดับมหาวิทยาลัย ประการที่สาม ศิลปินโนราได้รับการสนับสนุนจาก พระมหากษัตริย์พระบรมวงศานุวงศ์และภาครัฐในฐานะ วัฒนธรรมพื้นบ้านที่โดดเด่น สง่างาม และเป็นหนึ่งใน เอกลักษณ์ของชาติมีการส่งเสริมให้คณะนักแสดงโนราได้มี โอกาสไปเปิดการแสดงในเทศกาลศิลปะในระดับนานาชาติ ประการที่สี่ นับแต่         ปีพ.ศ. 2553 เป็นต้นมา วัฒนธรรมและการแสดงโนรา มีปรากฏบนช่องทางอินเทอร์เน็ต และแพลตฟอร์มของสื่อสังคมออนไลน์ที่หลากหลาย ประการสุดท้าย โนราได้รับการเสนอชื่อให้ ขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรม ที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อองค์กรยูเนสโก

โนราโรงครูในชุมชน

 

การตั้งโรงครูสำหรับการแสดงนั้นจะทำในช่วงฟ้าว่างฝน ๓ วัน ๒ คืนเป็นหลัก เริ่มต้นในวันพุธและสิ้นสุดในวันศุกร์ในช่วงเดือน ๖ ถึงเดือน ๙ ทางจันทรคติก่อนวันประกอบพิธีกรรมจะมีการปลูกโรงแสดงหรือโรงพิธีชั้นเดียวขึ้นเป็นการเฉพาะทางทิศตะวันออกในพื้นที่บ้านดั้งเดิมของสายตระกูล หันหน้าโรงไปทางทิศเหนือหรือทิศใต้โรงพิธีเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด   6 X 8 เมตร ไม่ยกพื้น หลังคาเป็นรูปหน้าจั่ว มุงครอบกระแชงหรือใบเตยไว้ ตรงกลางจั่ว โรงพิธีที่สร้างขึ้นนี้มีขนาดพอจุคนในหมู่เครือญาติและคณะโนราทั้งหมดตรงกลางปู“สาดคล้า”ให้นายโรงโนราใช้ในการทำพิธีกรรมและร่ายรำต่างๆ ด้านขวาของโรงมี“พาไล หรือศาล”  อันเป็นที่ตั้งเครื่องเซ่นไหว้ที่หลากหลายรวมถึงเทริด หน้าพราน ชุดโนราฯลฯและตกแต่งด้วยองค์ประกอบอื่น ๆ ให้งดงาม ด้านหลังมีส่วนของที่พักนอนของโนราทั้งคณะอยู่ที่หลังฉากโดยเอื้อต่อชาวบ้านให้มีที่นั่งและยืนชิดโรงสองด้านในฐานะผู้ชมพิธีกรรม เป็นโรงละคร แห่งชีวิตและเรือนรับรองคณะโนราผู้มาเยือน เป็นพื้นที่สำคัญในการสร้างสรรค์ศิลปะของโนรา

 

โนราโรงครูอาจมีขึ้นเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อตายายบรรพชนของครอบครัว หรือแก้บนเพราะครอบครัวได้บนบานศาลกล่าวไว้กับ ตายายของตนว ่าถ้าสัมฤทธิ์ผลจะจัดโรงครูให้เรื่องที่บนบานนั้นหลากหลาย ตั้งแต ่การขอให้มีลูก    การขอพ้นการคัดเลือกทหาร การขอให้ได้งาน การขอให้ชนะคดีความ การขอให้หายเจ็บป่วยฯลฯการเล่นโรงครูเป็นจุดตั้งต้นของการแสดงโนราใน “พื้นที่ของพิธีกรรม” ที่ลูกหลานผู้สืบเชื้อสายโนรา ปฏิบัติสืบทอดพิธีกรรมนี้ในบ้านตนเป็นประจำทุกปีหรือทุกสามปีหรือห้าปีตามแต ่ที่ได้สัญญาไว้กับตายายของตน พิธีกรรมโรงครูจัดขึ้นทุกปี ที่โรงพิธีที่สร้างขึ้นชั่วคราวนี้ถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของวัฒนธรรมการแสดงโนรา

โนรา”ผู้ที่จะมาประกอบพิธีได้นั้นจะต้องเป็น “ชายผู้ผ่านการบวชเรียน ก่อนครองเรือน” และผ่านการฝึกฝนการร้องรำและการประกอบพิธีกรรมในแบบ สืบทอดมาจากสายตระกูลของตนอย่างถูกวิธีผ่านพิธี“ครอบเทริด” หรือมอบเทริด ถ่ายโอนให้อย่างเป็นทางการจากครูโนราคนก่อน ซึ่งมักจะเป็นบิดาหรือต้นสายเลือด เพื่อให้ได้เป็น “โนราใหญ่” ที่สามารถประกอบพิธีกรรมทั้งหมดได้และมีฐานะ เป็นเจ้าของคณะโนรา คณะโนรามักจะมีการผูกขาดกันระหว่างบ้านที่จัดโนรากับ   คณะโนราคณะเดิม นัยว่าเป็นคณะที่บรรพชนของตนยอมรับแล้ว หรือเข้าทางกัน

 

ที่มา : * http://qrcode.culture.go.th/pdfbook/Nora%20a%20Living%20Dance%20Tradition%20of%20Southern%20Thailand.pdf

 

เครื่องแต่งกาย

         เครื่องแต่งกายของโนราประกอบด้วยสิ่งสําคัญต่อไปนี้คือ

 

๑. เทริด เป็นเครื่องประดับศีรษะของตัวนายโรงหรือโนราใหญ่หรือตัวยืนเครื่อง (โบราณไม่นิยม ให้นางรําใช้) ทําเป็นรูปมงกุฎอย่างเตี้ยมีกรอบหน้ามีด้ายมงคลประกอบ

 

๒. เครื่องลูกปัด เครื่องลูกปัดจะร้อยด้วย ลูกปัดสีเป็นลายดอกดวง ใช้สําหรับสวมลําตัวท่อนบน แทนเสื้อ ประกอบด้วยชิ้นสําคัญ ๕ ชิ้น คือบ่าสําหรับสวมทับบนบ่าซ้าย-ขวา รวม ๒ ชิ้น ปิ้งคอสําหรับสวมห้อยคอหน้า-หลัง คล้ายกรองคอรวม ๕ ชิ้น พานอกร้อยลูกปัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้พันรอบตัวตรงระดับอก บางถิ่นเรียกว่า “พานโครง” บางถิ่นเรียกว่า “รอบอก” เครื่องลูกปัดดังกล่าวนี้ใช้เหมือนกันทั้งตัว ยืนเครื่องและ     ตัวนาง แต่มีช่วงหนึ่งที่คณะชาตรีในมณฑลนครศรีธรรมราชใช้อินทรธนู ชับทรวง (ทับทรวง) ปีกเหน่ง       แทนเครื่องลูกปัดสําหรับตัวยืนเครื่อง

                       ปิ้งคอ                            บ่า                 พานอก พานโครงหรือรอบอก

             

๓. ปีกหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าหางหรือหางหงส์ นิยมทําด้วยเขาควายหรือโลหะเป็นรูปคล้ายปีกนก ๑ คู่    ซ้าย-ขวาประกอบกันปลายปีกเชิดงอนขึ้นและผูกรวมกันไว้ มีพู่ทําด้วยด้ายสีติดไว้เหนือปลายปีก ใช้ลูกปัดร้อยห้อยเป็นดอกดวงตลอด ทั้งข้างซ้ายและขวาให้ดูคล้ายขนของนก ใช้สําหรับสวมคาดทับผ้านุ่งตรงระดับเอว ปล่อยปลายปีกยื่นไปด้านหลังคล้ายหางกินรี

         

๔. ผ้านุ่ง เป็นผ้ายาวสี่เหลี่ยมผืนผ้า นุ่งทับชายแล้วรั้งไปเหน็บไว้ข้างหลัง ปล่อยปลายชายให้ห้อยลงเช่นเดียวกับหางกระเบน เรียกปลายชายที่พับแล้วห้อยลงนี้ว่า “หางหงส์” (แต่ชาวบ้านส่วนมากเรียกปีกว่าหางหงส์) การนุ่งผ้าของโนราจะรั้งสูงและรัดรูปแน่นกว่านุ่งโจงกระเบน

         

 ๕. หน้าเพลาหรือเหน็บเพลาหรือหนับเพลา คือ สนับเพลาสําหรับสวมแล้วนุ่งผ้าทับปลายขา ใช้ลูกปัดร้อยทับหรือร้อยแล้วทาบ ทําเป็นลวดลายดอกดวง เช่น ลายกรวยเชิง รักร้อย  

๖. หน้าผ้า ลักษณะเดียวกับชายไหว ถ้าเป็นของโนราใหญ่หรือนายโรงมักทําด้วยผ้าแล้วร้อยลูกปัด ทาบเป็นลวดลายที่ทําเป็นผ้า ๓ แถบ คล้ายชายไหวล้อมด้วยชายแครงก็มี ถ้าเป็นของนางรําอาจใช้ผ้า พื้นสีต่าง ๆ สําหรับคาดห้อย เช่น เดียวกับชายไหว

       

๗. ผ้าห้อย คือผ้าสีต่าง ๆ ที่คาดห้อยคล้ายชายแครงแต่อาจมีมากกว่า โดยปกติจะใช้ผ้าที่โปร่งบางสีสด แต่ละผืนจะเหน็บห้อยลงทั้งด้านซ้ายและด้านขวาของหน้าผ้าโปร่งบางสีสด แต่ละผืนจะเหน็บห้อยลงทั้งด้านซ้ายและด้านขวาของหน้าผ้า

         

๘. กําไลต้นแขนและปลายแขน เป็นกําไลสวมต้นแขน เพื่อขบรัดกล้ามเนื้อให้ดูทะมัดทะแมงและเพิ่มให้สง่างามยิ่งขึ้น

 

๙. กําไล มักทําด้วยทองเหลือง ทําเป็นวงแหวนใช้สวมมือและเท้าข้างละหลาย ๆ วง เช่น แขนแต่ละข้างอาจสวม ๕-๑๐ วงซ้อนกัน เพื่อเวลาปรับเปลี่ยนท่าจะได้มีเสียงดังเป็นจังหวะเร้าใจยิ่งขึ้น

            

๑๐. เล็บ เป็นเครื่องสวมนิ้วมือให้โค้งงามคล้ายเล็บกินนรกินรี ทําด้วยทองเหลืองหรือเงินอาจต่อปลายด้วยหวายที่มีลูกปัดร้อยสอดสีไว้พองาม นิยมสวมมือละ ๔ นิ้ว (ยกเว้นหัวแม่มือ) เครื่องแต่งกายโนราตามรายการที่ (๑) ถึงที่ (๑๒) รวมเรียกว่า “เครื่องใหญ่” เป็นเครื่องแต่งกาย ของตัวยืนเครื่องหรือโนราใหญ่ ส่วนเครื่องแต่งกาย ของตัวนางหรือนางรํา เรียกว่า “เครื่องนาง” จะตัด เครื่องแต่งกายออก ๔ อย่าง คือ เทริด (ใช้แถบผ้า     สีสดหรือผ้าเช็ดหน้าคาดรัดแทน) กําไลต้นแขน ชับทรวงและปีกนกแอ่น (ปัจจุบันนางรําทุกคนนิยมสวมเทริดด้วย)

 

๑๑. หน้าพราน เป็นหน้ากากสําหรับตัว “พราน” ซึ่งเป็นตัวตลกใช้ไม้แกะเป็นรูปใบหน้า ไม่มีส่วนที่เป็นคางทําจมูกยื่นยาว ปลายจมูกลุ้ม เล็กน้อย เจาะรูตรงส่วนที่เป็นตาดําให้ผู้สวมมองเห็นได้ถนัด ทาสีแดงทั้งหมดเว้นแต่ส่วนที่เป็นฟันทําด้วยโลหะสีขาวหรือทาสีขาว หรืออาจเลี่ยมฟัน (มีเฉพาะฟันบน) ส่วนบนต่อจากหน้าผากใช้ขนเป็ดหรือห่าน สีขาวติดทาบไว้ต่างผมหงอก

 

๑๒. กําไลข้อเท้า เป็นกําไลสวมข้อเท้า เพื่อขบรัดกล้ามเนื้อให้ดูทะมัดทะแมงและเพิ่มให้สง่างามยิ่งขึ้น

 

 

 

 

เครื่องดนตรี

 

 

           เครื่องดนตรีของโนรา ส่วนใหญ่เป็นเครื่องตี ให้จังหวะเทียบได้กับเครื่องเบญจดุริยางค์ตามตํารา อินเดีย มีดังนี้

 

๑. ทับ (โทน) เป็นเครื่องตีที่สําคัญที่สุดเพราะทําหน้าที่คุมจังหวะและเป็นตัวนําในการเปลี่ยนจังหวะทํานอง (แต่จะต้องเปลี่ยนตามผู้รู้ไม่ใช่ผู้ว่า เปลี่ยนจังหวะลีลาตามดนตรี ผู้ทําหน้าที่ตีทับจึงต้องนั่งให้มองเห็นผู้ตลอดเวลาและต้องรู้เชิงของผู้รํา) ทับโนราเป็นทับคู่เสียงต่างกันเล็กน้อย (นิยมใช้คนตีเพียงคนเดียว) ทับใบที่ ๑ เทียบได้ “อาตต์” และทับใบที่ ๒ เทียบได้กับ “วิตต์”

         

๒. กลอง เป็นเครื่องกํากับจังหวะที่คอยรับและขัดจังหวะทับที่เรียกว่า ขัดลูกกลอง โนราคณะหนึ่งมีกลอง     ๑ ลูก บทบาทของกลอง ใช้บรรเลงประกอบการแสดงในอดีตใช้ตีเพื่อบอกผู้ชมว่าโนรามาแล้ว

         

๓. ม้องคู่ เป็นเครื่องกํากับจังหวะ ๒ ลูก เสียงแหลมเรียกหนวยจี้ เสียงทุ้มเรียกหนวยทุ้มปัจจุบันเรียกโหม่งหล่อ โหม่งมีส่วนสําคัญในการขับร้องเพลงให้ไพเราะ เสียงหวานกังวานอันเกิดจากความกลมกลืนระหว่างเสียงของโนรากับโหม่งเรียกว่าเสียงเข้าโหม่ง

    

๔. ฉิ่ง เป็นเครื่องตีเสริมแต่งและเน้นหรือกำกับจังหวะ  มี ๑ คู่ ใช้คู่กับโหม่งโดยผูกติดกันมุมใดมุมหนึ่งของรางโหม่ง เวลาลูกคู่ตีโหม่งจะใช้มือข้างหนึ่งที่ฉิ่งไปด้วย

 

๕. แตระหรือแกระ คือกรับ เป็นเครื่องประกอบจังหวะทําจากไม้เนื้อแข็งนํามาเจาะรู หัวท้าย ซ้อนกันประมาณ  ๑๐ อัน ใช้เรียวไม้หรือลวดเหล็กมัดเข้าด้วยกัน ตีให้ปลายกระทบกัน แตระมีความสําคัญ             ๒ ประการ คือเป็นครูของตนตรีโนราเวลาทําพิธีสอดเครื่อง ครูจะใช้กําไลสวมผ่านแตระ ให้ไหลไปสวมมือโนราที่เข้าพิธีและเป็นดนตรีหลักในการขับร้องและรับบทกลอน เพลงที่เรียกว่าเพลงร่ายแตระและเพลงหน้านแตระ

 

              ปัจจุบันนอกจากเครื่องดนตรีตามแบบแผนดังกล่าวแล้ว ยังพบเครื่องดนตรีอื่น ๆ ในการแสดงโรงครู ได้แก่ซอ หรือถ้าเป็นโนราห์แบบประยุกต์ก็จะมีเครื่องดนตรีแบบสากลที่เป็นเครื่องไฟฟ้า เช่น กีตาร์ กลองชุด คีย์บอร์ด เป็นต้น เสียงเครื่องดนตรีและผู้ขับร้องมีไมโครโฟน มีเครื่องเสียงที่มีลําโพงขนาดใหญ่ทําให้เสียงดังก้องไปทั้งชุมชน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ท่ารำและกระบวนรำของโนรา

รำโนราแม่บท

 

    ** โนราห์ เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่สืบทอดกันมานาน และนิยมกันอย่างแพร่หลายในภาคใต้ เป็นการละเล่นที่มีทั้งการร้องและการรำ บางส่วนเล่นเป็นเรื่อง เช่น เรื่องพระสุธนมโนราห์ และมีบางโอกาสแสดงความเชื่อที่เป็นพิธีกรรม จากตำนานต่างๆ ได้กล่าวถึงการละเล่นพื้นเมืองนี้ เช่น บทพระราชนิพนธ์ เรื่อง"อิเหนา" ในรัชกาลที่   การฝึกหัดละครโนราชาตรี จะต้องหัดรำเพลงครู มีท่ารำทั้งหมด ๑๒ ท่า ซึ่งเป็นท่าแบบฉบับของโนราห์  มาจนทุกวันนี้ 

 

ท่ารำเพลงครู ๑๒ ท่า ได้แก่

 

 

    

 

     รำโนราแม่บท มีการรำทั้งสิ้น 3 บทด้วยกัน คือ บทครูสอน บทสอนรำ และบทประถม

 

บทครูสอน

 

          ครูเอ๋ยครูสอน    ครูสอนให้โผกผ้า       ครูสอนให้ครอบเทริดน้อย                 ครูสอนให้ทรงกำไล

เสดื้องเยื้องข้างซ้าย        เสดื้องเยื้องข้างขวา    ตีนถีบพนัก หาไหนให้ได้เสมือนน้อง     เสดื้องกรต่อง่า

สอนข้าให้ทรงกำม์ไล       แล้วจับสร้อยพวงมาลัย       สอดใส่ซ้ายใส่ขวา                   ตีค่าได้ห้าพารา

ตีค่าได้ห้าตำลึงทอง         ส่วนมือชักเอาแสงทอง        ทำนองพระเทวดา       

 

บทสอนรำ

          สอนเอยสอนรำ      ปลดปลงลงมา        วาดไว้ปลายอก     ซัดสูงขึ้นเพียงหน้า     ปลดปลงลงมาได้

นี่เรียกรูปวาด    ท่านี้คงเรียน    ฉันนี้เหวยนุช      ฉันนี้นงคราญ      รำเล่นสูงสุด             ครุฑเฉี่ยวนาคได้

ทำท่าหนุมาน    รำท่าเทวา      ท่านางมัทรี        ท่าพระดาบส      สี่มุมปราสาท            ฉันนี้ตนกลม

ครูให้ข้ารำเทียมบ่า    แล้วให้ข้ารำเพียงพก         เรียกแม่ลายกนกผาลา      เรียกช่อระย้าดอกไม้

ครูให้ข้ารำโคมเวียน    ไว้วงให้เหมือนรูปเขียน       ท่าจ่าเทียนพาดตาล        พระพุทธเจ้าท่านห้ามมาร

พระรามเธอข้ามสมุทร   เป็นท่าพระยาครุฑร่อนมา  ร่อนกลับไปในเวหา        เหาะทะยานไปเผาลงกา

สาถีขี่ม้าชักรถ             จรลีหว่างเขาวงกต           ลีลาจะเข้าอาศรม          วาดไว้เป็นหน้าพรหม

เรียกพระนารายณ์น้าวศร

 

 

 

บทประถม

 

     ตั้งต้นให้เป็นประถม    ตั้งต้นสาวนะเป็นประถม

ถัดมาขวัญเอ่ยพระพรหม    พรหมข้าเอ่ยสี่หน้า    แล้วรำเป็นท่าสอดสร้อย

ทูนหัวเหอนี่รำเป็นท่าสอดสร้อยให้ห้อยเป็นพวงมาลา    ทำเวโหนโยนช้า        อ่อว่าเวโหนโยนช้า

แก้วข้าเอ่ยให้น้องนอน   แล้วรำเป็นท่าต่างกัน        รำไปเล่าเถิดสาวเหอ       นี่รำเป็นท่าต่างกัน

แล้วค่อยมาหันเป็นนอนเถิดเจ้างามงามเหอ    หันตรานี้หันให้เป็นหมอน

ทำมรคาแขกเต้าบินไปเล่าเถิดสาวเหอ    นี่มรคาแขกเต้า    แก้วข้าเหอบินเข้ารัง

รำเป็นท่ากระต่ายชมจันทร์ รำไปเล่าเถิดสาวเหอ    อ่อนี่กระต่ายชมจันทร์       รำท่าพระจันทร์ทรงกลด

รำไปเล่าเถิดสาวเหอ     นี่ท่าพระจันทร์ทรงกลด     รำท่าพระรถโยนสาร

แก้วข้าเหอมารกลับหลัง     รำท่าชูชายนาดกราย    มานาดกรายเข้าวัง          เถิดเจ้างามงามเอย

อ่อนี่นาดกรายเข้าวัง         แล้วมานั่งหมอบเฝ้า      แก้วข้าเหอเจ้านครินทร์    รำท่าขี้หนอนร่อนรำ

รำไปเล่าเถิดสาวเหอ         นี่ท่าขี้หนอนร่อนรำ      รำแล้วเข้ามาเปรียบท่า

นี่แหละเข้ามาเปรียบท่า     รำท่าพระรามรามา       แก้วข้าเอ่ยท้าวน้าวศิลป์    ทำฝูงมัจฉาสาคร

ค่อยล่องเข้าในวารินเถิดเจ้างามงามเหย     นี่ล่องเข้าในวารินฉันหลงไหลไปสิ้น

อ่อว่าหลงไหลไปสิ้น         แก้วข้าเอ่ยงามโสภา       แล้วรำท่าโตเล่นหาง นี่     รำท่าโตเล่นหาง

ถัดมาท่ากวางโยนตัว       รำไปเล่าเถิดสาวเหอ        อ่อนี่ท่ากวางโยนตัว

อ่อแล้วรำยั่วเอาแป้ง        อ่อรำยั่วเอาแป้งแก้วข้าเหอมาผัดหน้า                  รำท่าหงส์ทองลอยล่อง

เถิดเจ้างามงามเหย          ล่องแล้วมันว่ายน้ำมา      รำท่าเหราเล่นน้ำ           แก้วข้อเหอสำหราญนัก

แล้วรำท่าโตเล่นหาง         นี่รำเป็นโตเล่นหาง         ถัดมาท่ากวางเดินดง

เดินไปเล่าเถิดสาวเหอ       อ่อนี่ท่ากวางเดินดง        รำเป็นท่าพระสุริวงศ์

นี่ท่าพระสุริวงศ์แก้วข้อเอ่ยผู้ทรงศักดิ์                     รำท่าช้างสารหว่านหญ้า   นี่ท่าช้างสารหว่านหญ้า

ฉันดูสาน่ารัก      ดูสามันน่ารัก         แล้วรำท่าพระลักษณ์แผลงศร      แก้วข้อเอ่ยจรลี

รำท่าขี้หนอนฟ้อนฝูง       เถิดเจ้างามงามเอ่ย       นี่ท่าขี้หนอนฟ้อนฝูง     ถัดมานกยูงฟ้อนหาง

ทำขัดจางหยางให้นางรำ   นี่ขัดจางหยางให้นางรำ  แก้วข้าเอ่ยทั้งสองศรี

แล้วซัดขึ้นเป็นวง      เถิดงามเหย                ซัดแล้วน้องนะเป็นวง     มานั่งลงให้ได้ที่

นั่งแล้วน้องนะไดที่    ค่อยชักสีซอเอ่ยสามสาย     นี่ชักสีซอสามสาย     แก้วข้าเอ่ยย้ายเพลงรำ

รำท่ากระบี่ตีท่า       รำไปเล่าเถิดสาวเหอ      นี่ท่ากระบี่ตีท่า             อ่อจีนมาสาวไส้

นี่จีนมันมาสาวไส้     รำท่าชะนีร่ายไม้           แก้วข้าเอ่ยดูเฉื่อยฉ่ำ      ท่าเมขลาล่อแก้ว

นี่ท่าเมขลาล่อแก้ว    ล่อแล้วมาชักลำนำ        นี่ก็ชักลำนำ                เป็นเพลงรำแต่ก่อน

แก้วข้าเอ่ยครูสอนมา ว่าแม่เอ้ยแต่ก่อน          แก้วข้าเอ่ยครูสอนมา

 

ที่มา:**   http://www.banramthai.com/html/noramaebot.html

 

 

ผู้บันทึก

๑.     นางยุพา  ทองชูช่วย          ครูกศน.ตำบล











เข้าชม : 194


ภูมิปัญญาชาวบ้าน 5 อันดับล่าสุด

      วรรณกรรมชุมชนเพื่อส่งเสริมการอ่าน เรื่อง โนราห์วิเชียรศิลป์ ยุพิน เสียงเสน่ห์ 17 / ธ.ค. / 2566
      การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ 23 / ก.พ. / 2565
      ผลิตภัณฑ์ตำบล 8 / ธ.ค. / 2564
      ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ย แบบปราชญ์ชาวบ้าน 20 / มี.ค. / 2560


 
ศกร.iระดับตำบลควนโส หมู่ที่ 4 ตำบลควนโส อำเภอควนเนียง. จังหวัดสงขลา โทรศัพท์ 062-8916981  074-386636
โทรสาร  074-386636
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05