มีนโยบาย วิสัยทัศน์ การดำเนินงาน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ของแผนพัฒนาและเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) โดยมุ่งสร้างกระแสสังคมให้การเรียนรู้ เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน มีวินัยใฝ่เรียนรู้ รักการอ่านตั้งแต่วัยเด็ก และส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันของคนต่างวัย ควบคู่กับการส่งเสริมให้องค์กร กลุ่มบุคคล ชุมชน ประชาชน และสื่อทุกประเภทเป็นแหล่งเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ สื่อสารด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย รวมถึงส่งเสริมการศึกษาทางเลือกที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ และสนับสนุนปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงานต่อไปนี้ ได้แก่
1.การสร้างและกระจายโอกาสทางการศึกษาเพื่อสร้างความเท่าเทียมและความเสมอภาคทางการศึกษา ให้กับทุกกลุ่มเป้าหมาย
2. การเตรียมคนไทย ให้เป็นพลเมืองดีของประเทศมีความคิดเชิงวิเคราะห์ มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นสมาชิกที่มีศักยภาพของประชาคมอาเซียน และเป็นพลเมืองโลกที่มีคุณภาพ
3. การสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประชาชนมีความใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รู้จักแสวงหาโอกาส เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งจากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้เป็นสังคมคุณธรรม สังคมเพื่อคนทั้งมวล และพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทุกรูปแบบ
4. การพัฒนากลไกการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ทั้งด้านปัจจัยดำเนินงาน และกระบวนการดำเนินงาน ให้สามารถดำเนินการขับเคลื่อนทิศทางการพัฒนาประเทศตามบทบาท และภารกิจของสำนักงาน กศน.ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิสัยทัศน์
ศูนย์กรศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสะเดา มุ่งจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในรูปแบบที่หลากหลาย นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เป้าประสงค์
ประชาชนผู้รับบริการ ทุกกลุ่ม ทุกข่วงวัย มีความรู้ความสามารถรอบด้านเพียงพอต่อการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขบนพื้นฐานของคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ มีศักยภาพในการผลิตทางเศรษฐกิจ การสร้างสังคมคุณภาพ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ และมีความใฝ่รู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
พันธกิจ
1. ยกระดับการศึกษาให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายตามความต้องการอย่างต่อเนื่อง
2. พัฒนาการเรียนรู้ให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย มีคุณธรรม นำความรู้ และมีทักษะการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียง
3. ส่งเสริมการนำสื่อ เทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการจัดการพัฒนาคุณภาพ การจัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สู่การมีทักษะที่จำเป็น
4. ส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
5. พัฒนาสถานศึกษาและบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาล
ยุทธศาสตร์ที่หวังผลใน1 ปี
การเร่งรัดการกระจายโอกาสทางการศึกษาให้สามารถเข้าถึงประชาชนที่อยู่นอกระบบโรงเรียนอย่างทั่วถึง ทุกกลุ่มอายุ ทุกกลุ่มแหมาย ที่มีคุณลักษณะเฉพาะทางสังคม-ประชากรอย่างเสมอภาค และเป็นธรรมพร้อมทั้งพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างเป็นองค์รวมทั้งระบบโดย
1. การส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษา และหน่วยงานจัดบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย นำภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาพื้นบ้าน และแหล่งวิทยาการชุมชนทุกประเภทในพื้นที่มาใช้ประโยชน์ในการจัดการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพ และมีการอนุรักษ์ สืบสาน ประยุกต์ใช้ต่อยอดสร้างสรรค์ และพัฒนา เพื่อความยั่งยืนและความเข้มแข็งของชุมชน และท้องถิ่นตลอดจนการพัฒนาประเทศอย่างเป็นระบบรวมทั้งพัฒนากลุ่มเป้าหมายให้มีความคิดวิเคราะห์ มีเหตุผล และมีจิตวิทยา
2. การปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมและวิธีดำเนินการจาก “บ้านหนังสืออัจฉริยะ” ไปสู่ “บ้านหนังสือชุมชน” และขยายการบริการให้กระจายครบทุกหมู่บ้าน/ชุมชนทั่วประเทศ โดยคำนึงถึง ความต้องการทางการศึกษา/การเรียนรู้ของประชาชนในพื้นที่และบริบทเฉพาะหมู่บ้าน/ชุมชนแต่ละพื้นที่ เพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือ การเสริมสร้างนิสัยรักการอ่าน และการเข้าถึงข่าวสารข้อมูลและความรู้ของประชาชนอย่างทั่วถึง โดยการเชื่อมโยงการทำงานเป็นเครือข่ายกับ กศน.ตำบล/ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนในพื้นที่เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
3. การพัฒนาศักยภาพและความพร้อมในการจัดการบริการการศึกษาเพื่อการรู้หนังสือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาต่อเนื่อง สำหรับกลุ่มเป้าหมายทั้งในและต่างประเทศ พร้อมทั้งแสวงหาความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆทั้งในและต่างประเทศ
4. การวางระบบการนิเทศการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่มุ่งเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและความคล่องตัวในการจัดการการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมาย โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลและการดำเนินการนิเทศจากระดับนโยบายสู่ระดับภูมิภาคระดับจังหวัด ระดับอำเภอ/ระดับการศึกษา และระดับหน่วยจัดบริการ อย่างเป็นระบบ
5. การกำหนดแนวทางและดำเนินการในข้อกฎหมายการศึกษาที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การศึกษาทางเลือก เป็นการศึกษาอีกประเภทหนึ่งที่สามารถตอบสนองความต้องการทางการศึกษาและการเรียนรู้ของประชาชนผู้รับบริการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการมีส่วนร่วมในการจัดของภาคส่วนต่างๆอย่างกว้างขวาง
เข้าชม : 842 |