ภูมิปัญญาชาวบ้าน รอยพระพุทธบาท
จันทร์ ที่ 23 เดือน มกราคม พ.ศ.2560
|
|
กระจ่าง! เผยข้อมูลคุณไม่รู้มาก่อน “ทำไมรอยพระพุทธบาทใหญ่ ทั้งที่เท้าพระพุทธเจ้าน่าจะเล็ก”
เช่นเดียวกับพระพุทธรูป เป็นการสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่รำลึก สักการะ ต่อพระพุทธองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ว่าจะพบ จะเจอที่ไหน ล้วนแต่สร้างโดยฝีมือมนุษย์ทั้งนั้นแหละครับ
เหตุที่สร้างรอยพระพุทธบาท ?
ก็เพราะว่า ในสมัยโบราณนั้น ไม่นิยมสร้างรูปเคารพที่เหมือนจริง เมื่อจะรำลึกถึงพระพุทธคุณของ องค์พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นที่เคารพสูงสุด จึงไม่อาจเอื้อม ที่จะสร้างรูปเหมือน มักจะสร้างแต่เพียงสัญญลักษณ์ ที่มีความหมาย ว่านี้คือพระพุทธองค์ นี้คือ ธรรมะ ที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน เพื่อให้คนรุ่นหลังๆได้เคารพบูชา
เริ่มจากสัญญลักษณ์ที่พระเจ้าอโศกได้สร้างไว้
คือเสาหินจารึกพระนาม พระเจ้าอโศก และความสำคัญของสถานที่นั้นๆ ธรรมจักรหินแกะสลัก ฯลฯ
ส่วนองค์พระพุทธรูปนั้น เริ่มสร้างครั้งแรกโดยกษัตริย์กรีก ที่หันมานับถือ ศาสนาพุทธ คือ
กษัตริย์เมนันเดอร์ หรือ ที่เรารู้จักกันดี คือ พระเจ้ามิลินทร์ นั่นแหละ
รอยพระพุทธบาท ทำไม มีแต่ ในไทยครับ ต่างประเทศมีหรือเปล่า ?
ในอินเดียก็มี แต่เดิมก่อนมีพระพุทธรูปก็บูชารอยพระพุทธบาทนี่แหละ ถือเป็นสิ่งแทนพระพุทธเจ้า ระยะแรกรอยเท้านี้จะมีลักษณะและขนาดใกล้เคียงกับของคนจริง แต่ต่อๆมาก็อย่างที่เห็น นอกจากในศาสนาพุทธแล้ว ฮินดูก็บูชารอยเท้าด้วย ส่วนมากอยู่ในคติของไวษณพนิกาย เรียกว่า “วิษณุบาท” หากสร้างตามคติไศวะนิกาย ก็เรียกว่า “ศิวะบาท” ค่ะ แต่ว่าพบยากมาก
แต่ตามหลักเขาบอกกันว่า มีรอยจริงอยู่ 5 ที่ แต่ตีความกันต่างไป
ซึ่งจริงๆแล้ว รอยพระพุทธบาท ในประเทศศรีลังกา มีอย่างน้อย ๒ รอย ในอินเดียก็มีที่ลุ่มแม่น้ำนัมมะทา และที่อื่นๆอีก ในพม่าก็มี
สมัยพระเจ้าปราสาททอง ส่งสมณทูตไปกราบรอยพระพุทธบาทที่ลังกา ทางนั้นเขาก็ทักมาว่า ประเทศ You ก็มี ทำไมต้องมาถึงประเทศ I ก็เลยหากันเป็นการใหญ่ จนเจอที่สระบุรี
แล้วก็มีรอยพระพุทธบาทเกิดขึ้นอีกมากมายในสยาม
ในศรีลังกา มีอยู่ 2 ที่ ที่ยอดเขาสุมณกูฏ แห่งหนึ่ง อีกแห่งหนึ่ง จำไม่ได้แล้ว
ในอินเดีย อยู่ที่เมืองพาราณสี ตรงเขาดงคสิริ ปัจจุบันเป็นศาสนสถานของชาวฮินดู เรียก วิษณุบาท (ตามความใน นารายณ์สิบปาง)
ในลาว มีอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง 3 รอย
1 ที่วัดพระบาท
2 ที่ก้อนหิน ในแม่น้ำโขงหน้าเมืองหลวงพระบาง
3 บนยอดภูสี ปัจจุบันถูกสร้างพระธาตุภูสีครอบทับเอาไว้
ที่เมืองเวียงจันทน์ มีอยู่ที่ พระบาทโพนฉัน
ส่วนในประเทศไทย และพม่า มี รอยพระพุทธบาท อยู่เยอะแยะมากมาย เป็นร้อย ๆ แห่ง
เรื่องอภินิหาร ใดๆ ที่เกี่ยวกับพระพุทธองค์ เรา ท่าน ทั้งหลาย มิอาจล่วงรู้ได้ด้วยตัวเอง
นอกจากอ่านตำรา และคำบอกเล่า ท่านทั้งหลายในที่นี้ล้วนแต่เป็นผู้รอบรู้ ทั้งพระไตรปิฎก ชาดก อรรถกถา และตำราต่างๆ อย่างลึกซึ้ง ย่อมทราบดีถึง วัตรปฏิบัติ ของพระพุทธองค์เป็นเช่นไร
ครั้นจะบอกว่า จริง หรือ ไม่จริง เพียงสั้นๆ คงไม่ได้ใจความเท่าใดนัก ความเห็นนี้อาจยาวหน่อย แต่ก็คิดเสียว่า สหายธรรมคนหนึ่ง มาร่วมวงเสวนา เพื่อจรรโลงธรรม
เรื่องอภินิหาร หรือ รอยพระพุทธบาทนี้ ในความเห็นส่วนตัวของผม
ขอย้ำนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ
เมื่อพุทธศาสนา เริ่มมีการแข่งขันกันกับศาสนาเดิมที่คนส่วนใหญ่ ในชมพูทวีปเคารพนับถือ คือ ศาสนาพราห์ม พุทธ จึงต้องแข่งขัน กับ พราห์ม ในการสร้างความเชื่อให้กับมวลชน เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้่วว่า ศาสนาพราห์มนั้น ล้วนแต่มีองค์เทพ พรหม ทั้งหลาย เป็นที่เคารพ และองค์เทพ พรหมเหล่านั้น ล้วนแต่มีสารพัดอภินิหารที่อยู่เหนือมนุษย์
ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แดดออก ฝนตก ฝนแล้ง ล้วนแต่เกิดขึ้นจากอิทธิฤทธิ์ การบรรดาลดล ของบรรดาทวยเทพทั้งสิ้น ซึ่ง พระพุทธองค์ ปฏิเสธเรื่องนี้โดยสิ้นเชิง ดังที่ทราบกันอยู่ ครั้นเมื่อสิ้นพุทธกาล พุทธ เริ่ม เพลี่ยงพล้ำ แก่พราห์มด้านมวลชน บรรดาพุทธสาวกทั้งหลาย จำเป็นต้องสร้างกฤดาภินิหารต่างๆนานา เกี่ยวกับพระพุทธองค์ ประกอบการสอนธรรม แข่งกับ อิทธิฤทธิ์ของทวยเทพ
( ไม่ว่า่ใคร ชาติไหน มักจะชอบครับเรื่องอภินิหารเหนือมนุษย์ )
โดยยกเรื่องราวที่พระพุทธองค์ บรรยายไว้แบบอุปมาอุปไมย ที่เรียกว่า ชาดก อิทธิปาฏิหารย์ ของพระพุทธองค์ จึงแพร่หลาย ปรากฏการณ์ต่างๆ แข่งกับเทพของพราห์ม อย่างดุเดือด แถมข่มทวยเทพของพราห์ม ซะอีก จนพราห์มเซ จึงต้องหักดิบ ข่มทับ ด้วยการประกาศว่า
แท้ที่จริงแล้วพระพุทธองค์นั้น คือ ปางหนึ่งของนารายณ์ อวตาร ลงมาจากสรวงสวรรค์ เพื่อหลอกล่อมนุษย์ที่โง่งมงาย ออกไปจากศาสนาพราห์มอันสูงส่งของพวกตน เจอไม้นี้เข้าไปก็เดี้ยงเหมือนกันครับ
วกกลับเข้ามาเรื่อง รอยพระพุทธบาท ก่อนที่จะไกลเกินไป
เมื่อพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ในประเทศไทย ตอนนั้นจะเรียกว่าอะไรก็ตามที เอาเป็นว่า ประเทศไทยก็แล้วกันนะครับอิทธิปาฏิหารย์ ก็ติดมาด้วย ในรูปของ นิทานชาดก กลายมาเป็นคัมภีร์ กลายมาเป็นตำนาน เล่าขานสืบต่อกันมา คนจะดูลิเก ก็ต้องโหมโรงออกแขก เรียกความสนใจ ฉันท์ใด ก็ ฉันท์นั้น (แปลว่าอะไร ไม่รู้)
การจะเผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ให้คนฟัง คนเชื่อ ก็ต้องมี กฤดาภินิหาร เป็นองค์ประกอบ
แล้วอะุไรจะมีอภินิหารได้เท่ากับพระพุทธองค์ ได้ทรงเสด็จมาประทับรอยเท้าไว้ให้คนรุ่นหลังได้เคารพบูชา จะสร้างรูปประพุทธองค์หรือ ก็ไม่มีแบบแผนธรรมเนียมปฏิบัติ สลักหินเป็นรอยพระบาท บนยอดดอยนี่แหละ ลงตัวที่สุด
เป็นการประกาศให้ปวงชนทั้งหลายได้รับรู้ว่า พระพุทธศาสนา อันมีองค์พระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้เหยียบลง ณ ดินแดนแห่งนี้
และที่อยู่ตามยอดดอย ก็ด้วยเหตุผลว่า ดอยทั้งลูก จะราบเรียบก็ต่อเมื่อโลกแตกสลาย เมื่อโลกยังไม่ถึงกาลดับ รอยบาทพระพุทธองค์ก็ยังคงอยู่ ให้ปวงชนทั้งหลายได้เคารพบูชาตราบนานเท่านาน รอยพระพุทธบาท ในมุมมองของผม
ก็เอวังลงด้วยประ กา ระ ฉะนี้
หลายคนเคยอาจจะตั้งคำถามว่า ?
รอยพระพุทธบาท ทำไมใหญ่จังครับ ข้างซ้ายอยู่ สระบุรี ข้างขวาอยู่ ลพบุรี ห่างกันไกลเวอร์ พระพุทธเจ้า สูงเวอร์ๆ หรืออย่างไรครับ ?
มันเป็นคำเปรียบเปรย รอยเท้าหมายถึงการมาถึง รอยพระพุทธบาทก็เปรียบว่าศาสนาพุทธได้เผยแผ่เข้ามาในที่นั้นๆแล้วครับ ที่เห็นใหญ่ๆคือสร้างเอา เหมือนการทำอนุสรณ์สถานประมาณนั้น
รอยพระพุทธบาท คิดว่าคงต้องมีของจริงบ้างแหล่ะ
เรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ก็มีจริง ไม่ใช่เป็นแค่ตำนาน ไม่ใช่เป็นแค่คำบอกเล่าผ่านตัวอักษรในหนังสือ
กราบรอยพระพุทธบาท ไม่เคยคำนึงว่าจริงหรือทำจำลอง แต่เรากราบเพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้า ถึงคำสั่งสอนของพระองค์ และสิ่งที่เราได้พยายามปฏิบัติตามคำสอนของท่าน แม้เราไปกราบพระพุทธรูปอื่นๆก็ตามไม่เคยอ้อนวอนร้องขอพรอย่างไร
เรารู้ว่าพร คือความดีความประเสริฐั้น เราต้องทำเอาเอง
รอยพระพุทธบาท ที่เก่าแก่ที่สุดเมืองไทย คือที่ใด
รอยพระพุทธบาทที่เก่าแก่ที่สุดในไทยคือ
รอยพระพุทธบาทที่กลุ่มโบราณสถานสระมรกต เมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีน สันนิษฐานว่ามีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 14 ขุดค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2529 เป็นรอยพระพุทธบาทที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย สลักลงบนพื้นศิลาแลงธรรมชาติ
รอยพระพุทธบาท ที่เชื่อกันว่าคือรอยพระพุทธบาทที่ยอดเขาสุมนกูฏ ปัจจุบันเรียกว่ายอด Adam Peak ในประเทศศรีลังกา
ขอบคุณเนื้อหาจาก http://www.bigza.com/news-174208
ที่มา http://www.pbru.ac.th/th/index.php/news-topic/2015-05-01-09-02-23/1814-2015-06-15-15-35-32
เข้าชม : 2186
|
|
ภูมิปัญญาชาวบ้าน 5 อันดับล่าสุด
รอยพระพุทธบาท 23 / ม.ค. / 2560
|