[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

กศน.ตำบลเกาะแต้ว

 

ชื่อ กศน.ตำบล

ที่ตั้ง

ผู้รับผิดชอบ

กศน.ตำบลเกาะแต้ว

  วัดสามกอง หมู่ที่ 2  ตำบลเกาะแต้ว 

นางเครือวรรณ  อ่อนเจริญ



ข้อมูลทั่วไปตำบลเกาะแต้ว

คำขวัญ    “เกาะแต้วน่าอยู่  พลเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี”

ที่ตั้งของเทศบาลตำบลเกาะแต้ว

อยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา มีระยะทางห่างจากอำเภอเมืองสงขลา 14 กิโลเมตร ที่ตั้งที่ทำการ หมู่ที่ 10 ถนนสายบ้านด่าน - บ้านบ่ออิฐ

มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลข้างเคียง ดังนี้

ทิศเหนือ          จดเขต ตำบลขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

ทิศใต้             จดเขต ตำบลทุ่งหวัง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา และ ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

ทิศตะวันออก     จด      อ่าวไทย

ทิศตะวันตก      จดเขต ตำบลพะวง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

พื้นที่  เทศบาลตำบลเกาะแต้วมีเนื้อที่ 28.38 ตารางกิโลเมตร ( 17,738 ไร่ ) เป็นพื้นที่อยู่อาศัย 3,000 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตร 11,320 ไร่ พื้นที่สาธารณะ 3,418ไร่

จำนวนหมู่บ้านมี 10 หมู่บ้าน และอยู่ในเขตเทศบาลตำบลเกาะแต้ว จำนวน 10 หมู่บ้าน ได้แก่ 

          หมู่ที่ 1 บ้านแหลมเคียน

หมู่ที่ บ้านสามกอง 
หมู่ที่ บ้านชุมพอ

หมู่ที่ บ้านด่าน 
หมู่ที่ บ้านด่าน

หมู่ที่ บ้านเกาะแต้ว 
หมู่ที่ บ้านเกาะวา

หมู่ที่ บ้านบ่ออิฐ 
หมู่ที่ บ้านชูเกียรติ

หมู่ที่ 10 บ้านด่านกลาง

ประชากร    องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะแต้ว มีประชากรอาศัยอยู่ทั้งสิ้น  10,715 คน 

แยกเป็นชาย 5,236  คน หญิง 5,479  คน มีครัวเรือนทั้งสิ้น  2,960  ครัวเรือน และมีความหนาแน่นเฉลี่ย 373.36 คน/ตารางกิโลเมตร

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

ประชากร

รวม

(คน)

จำนวนครัว

เรือน/หลัง

หมายเหตุ

เพศชาย (คน)

เพศหญิง (คน

1

บ้านแหลมเคียน

763

865

1,628

450

 

2

บ้านสามกอง

355

421

776

178

 

3

บ้านชุมพอ

601

676

1,277

347

 

4

บ้านด่าน

485

439

924

214

 

5

บ้านด่าน

344

363

707

238

 

6

บ้านเกาะแต้ว

450

473

923

274

 

7

บ้านเกาะวา

380

363

743

196

 

8

บ้านบ่ออิฐ

1,028

996

2,024

628

 

9

บ้านเกาะแต้ว

387

413

800

203

 

10

บ้านด่านกลาง

443

470

913

232

 

รวม

5,236

5,479

10,715

2,960

 

















ศาสนา  ประชากรนับถือ ศาสนาอิสลามประมาณ 57 เปอร์เซ็นต์ และนับถือศาสนาพุทธ ประมาณ 42 เปอร์เซ็นต์ และศาสนาอื่นๆ ประมาณ เปอร์เซ็นต์

ประวัติชุมชนโดยย่อ  อายุชุมชน  85  ปี  ตำบล  เกาะแต้ว  เดิมเรียกว่า  “ดอกแต้ว”  ต่อมา

          สมัยก่อนในพื้นที่มีต้นไม้ชนิดหนึ่งลักษณะทรงพุ่มใหญ่ ร่มรื่น ชาวบ้านเรียกว่า “ต้นแต้ว” ซึ่งขึ้นอยู่เป็นหย่อม ๆ ลักษณะคล้ายเป็นเกาะ และได้มีชาวอิสลามจากต่างอำเภอ เช่น อำเภอสทิงพระ จะนะ สะเดา ได้เข้ามาบุกเบิกตั้งที่อยู่อาศัย (ปัจจุบันเป็นหมู่ที่ 6 ตำบลเกาะแต้ว) ประกอบอาชีพทำนา ปลูกผัก สวนยางและเลี้ยงสัตว์ ต่อมามีประชากรอพยพเข้ามาอยู่อาศัยเป็นกลุ่ม ๆ ทั่วทั้งตำบล และได้ตั้งถิ่นที่อยู่อาศัยว่า “บ้านเกาะแต้ว” และพัฒนามาเป็นตำบลเกาะแต้ว ในปัจจุบัน

ประเพณี / วัฒนธรรม

          1. ทำบุญศาลากลางหมู่บ้าน

2. ทำบุญป่าช้า

          3. ทำบุญชายทะเล

          4. ตักบาตรเทโว

          5. ลากพระ

          6. การปฏิบัติศาสนกิจเดือนรอมฏอน

          7.  ทำบุญมัสยิด

          8. ประเพณีลอยกระทรง

 

สถานศึกษาการศึกษาในระบบระดับประถมศึกษา  จำนวน  3  แห่ง  ได้แก่ 

1.       โรงเรียนชุมชนบ้านด่าน ม.4 บ้านด่าน ต.เกาะแต้ว อ.เมือง จ.สงขลา

2.       โรงเรียนวัดสามกอง  ม.2 บ้านสามกอง ต.เกาะแต้ว อ.เมือง จ.สงขลา

3.  โรงเรียนบ้านบ่ออิฐ ม.8 บ้านบ่ออิฐ ต.เกาะแต้ว อ.เมือง จ.สงขลา

สถานศึกษาการศึกษาในระบบระดับมัธยมศึกษา จำนวน  1  แห่ง  ได้แก่ 

1.       โรงเรียนเกาะแต้วพิทยาสรรค์ ม.4 บ้านด่าน ต.เกาะแต้ว อ.เมือง จ.สงขลา

สถานศึกษามัธยมได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานเอกชน จำนวน 2 แห่ง แยกเป็น

โรงเรียนระดับประถม จำนวน 1 แห่ง

          1. โรงเรียนดารุลอามาน ม.5 บ้านด่าน ต.เกาะแต้ว อ.เมือง จ.สงขลา

          โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง

          2. โรงเรียนอูลูมุดดีน ม.8 บ้านบ่ออิฐ ต.เกาะแต้ว อ.เมือง จ.สงขลา

สถานศึกษานอกระบบ  จำนวน   แห่ง  ได้แก่

          1. กศน.ตำบลเกาะแต้ว  ม.10 บ้านด่านกลาง ต.เกาะแต้ว อ.เมือง จ.สงขลา

การประกอบอาชีพ 

          การประกอบอาชีพของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเกาะแต้ว ประมาณร้อยละ 70 ประกอบอาชีพด้านการเกษตร เช่น ปลูกพืชเศรษฐกิจ (ปลูกยางพารา  และข้าวเจ้า)  ทำปศุสัตว์  (ส่วนใหญ่เลี้ยงโคพื้นเมือง  โคผสม ไก่ไข่ เป็ดเทศ) รองลงมาได้แก่ อาชีพค้าขาย การบริการหรือรับจ้าง (สำหรับประชาชนวัยหนุ่มสาวส่วนใหญ่รับจ้างทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการแปรรูปอาหารทะเล ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลใกล้เคียง)  รับราชการและลูกจ้างของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  ประมง  ตามลำดับ

                    อาชีพหลัก  การเกษตร

                   อาชีพรอง

                   1.  ค้าขาย

                   2. รับราชการ

                   3. รับราชการ

                   4.  ลูกจ้างของรัฐ

                   ถ.  รัฐวิสาหกิจ  

                   .  ฯลฯ

ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน             

          1. พื้นที่ลุ่มต่ำ (ดินนา) เป็นดินเหนียวเกิดจากตะกอนลำน้ำเก่า การระบายน้ำเลว ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด

          ปัญหา เป็นดินเหนียว มีความสมบูรณ์ต่ำ และน้ำท่วมขังในฤดูฝน

          แนวทางแก้ไข  เลือกชนิดพืช ให้เหมาะสมกับฤดูกาล ปลูกพืชหมุนเวียน ปุ๋ยอินทรีย์วัตถุ  ปุ๋ยหมัก  ปุ๋ยคอก ร่วมกับปุ๋ยเคมี ถ้าปลูกพืชผัก พืชไร่ หรือไม้ผล ต้องมีระบบป้องกันอันตรายจากน้ำท่วม โดยการยกร่องและทำดินล้อมรอบ

          2. พื้นที่ลุ่มต่ำชายทะเล เป็นดินร่วนหรือดินเหนียว มีชั้นดินเลนของตะกอนน้ำทะเลและมี

สารประกอบกำมะถันมาก  ในช่วงความลึกกว่า 100 เซนติเมตร เป็นพื้นที่พรุ

          ปัญหา เป็นกรดจัดมาก ความสมบูรณ์ต่ำ  ระบายน้ำเลว มีน้ำท่วมขังนานในฤดูฝน

แนวทางแก้ไข หากปลูกข้าวต้องเลือกพันธุ์ข้าวที่ทนต่อสภาพดินเปรี้ยวจัด ปรับสภาพ

ด้วยปูนมาร์ล   หินปูนบด  ถ้าปลูกพืชผัก พืชไร่  หรือไม้ผล  ต้องมีระบบป้องกันน้ำท่วมโดยการยกร่องที่ถูกวิธีและมีคันดินล้อมรอบ

3. พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน มีความลาดชันมากกว่า 35 % มีชั้นดินตื้นถึงลึกมากหรืออาจมี

หินโผล่

ปัญหา  ดินมีการชะล้างพังทลาย สูญเสียหน้าดิน มีหินโผล่ เป็นอุปสรรคต่อการทำ

เกษตรกรรม

          แนวทางแก้ไข  ควรปล่อยไว้เป็นป่าธรรมชาติ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร หรือใช้ประโยชน์ที่ดินในเชิงอนุรักษ์วนเกษตรในเขตดินที่ลึกปานกลาง

          4. พื้นที่ลูกลื่นลอนลาด เป็นดินร่วนปนทรายลึกมาก การระบายน้ำดี ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดแก่

          ปัญหา  มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ขาดแคลนน้ำในบางช่วงเพาะปลูก

          แนวทางแก้ไข   ปลูกพืชหมุนเวียน   หรือปรับปรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ   ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก  ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยเคมี มีแหล่งน้ำ และระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ

          5. พื้นที่สันทรายชายทะเล  เป็นดินทรายจัดที่มีชั้นดานอินทรีย์ในบางพื้นที่  ปฏิกิริยาดินเป็นกรด ถึงเป็นกรดปานกลาง

          ปัญหา  เป็นดินทรายจัด ความสมบูรณ์ต่ำ ขาดแคลนน้ำ ง่ายต่อการถูกชะล้าง พังทลายสูญเสียหน้าดิน

         แนวทางแก้ไข  เลือกชนิดพืชให้เหมาะสม ปลูกพืชบำรุงดิน ปรับปรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ ปุ๋ยหมัก  ปุ๋ยคอก  ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยเคมี มีแหล่งน้ำ และระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ โดยการปลูกพืชคลุมดิน หรือใช้วัตถุคลุมดิน

แหล่งเรียนรู้ชุมชน       

1.       ชื่อแหล่งเรียนรู้  เศรษฐกิจพอเพียง ของคุณลุงนายมานิต หนูเพชร ที่อยู่ 16  หมู่ที่  1 ต.เกาะแต้ว

ความรู้ความสามารถ เป็นหมอดิน   



เข้าชม : 9917
 
 
กศน.ตำบลเกาะแต้ว 
ตั้งอยู่  ณ  วัดสามกอง หมู่ที่ 2  ตำบลเกาะแต้ว  อำเภอเมืองสงขลา  จังหวัดสงขลา 90000 โทร 083-1837403 อ.เครือวรรณ  อ่อนเจริญ หัวหน้า กศน.ตำบล
E.Mail : kohtaew@gmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05