ชื่อสถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลนาหมอศรี
ที่ตั้ง/การติดต่อ หมู่ที่ ๑ ตำบลนาหมอศรี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา รหัสไปรษณีย์ ๙๐๑๖๐
สังกัด ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอนาทวี
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสงขลา
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ
ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา
ประวัติสถานศึกษา
ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้ก่อตั้งอาคารศูนย์การเรียนชุมชน โดยอาศัยศาลาอเนกประสงค์ ม.๔ บ้านทุ่งแหลเหนือ เป็นสถานที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ต่อมาในภาคเรียนทื่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๔๘ ได้รับความอนุเคราะห์จาก นางอำไพ อินทร์ขาว ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลนาหมอศรี ให้ใช้สถานที่บริเวณด้านข้างที่เป็นที่โล่งเป็นสถานที่จัดการเรียนการสอน และได้ปรับปรุงและพัฒนาเป็นห้องเรียนเพื่อเป็นสถานที่ทำกิจกรรมการเรียนการสอน โดยได้รับความร่วมมือในการพัฒนาจากผู้นำท้องถิ่น นักศึกษา และประชาชนในพื้นที่ โดยมีอาจารย์อุทัยทิพย์ บุญชุม เป็นครูผู้รับผิดชอบดูแล
วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลนาหมอศรี ได้เปลี่ยนชื่อ เป็น กศน.ตำบลนาหมอศรี ตามหนังสือ สำนักงาน กศน. ที่ ศธ ๐๒๑๐.๐๒/๓๒๖๗ ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๒ เรื่อง ดำเนินงาน กศน.ตำบล สำนักงาน กศน. โดยเลขาธิการ กศน.(นายอภิชาติ จีระวุฒิ) ได้สั่งการให้ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัด ทุกจังหวัด และผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.กทม. ดำเนินการปรับศูนย์การเรียนชุมชนในทุกตำบลให้เป็น กศน.ตำบล โดยมีนายสุธี สังข์ทอง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาหมอศรี เป็นประธานในพิธีเปิด โดยมีอาจารย์อุทัยทิพย์ บุญชุม และอาจารย์สิริมา ล่าเม๊าะ เป็นผู้รับผิดชอบดูแล
วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ กศน.ตำบลนาหมอศรี ได้รับความอนุเคราะห์จาก นายสุธี สังข์ทอง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาหมอศรี ให้ใช้อาคารสถานที่ อบต.นาหมอศรี(หลังเก่า) เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอน โดยมีอาจารย์อุทัยทิพย์ บุญชุม และอาจารย์สิริมา ล่าเม๊าะ เป็นผู้รับผิดชอบดูแล จนถึงปัจจุบัน
อาณาเขต ตำบลนาหมอศรี ห่างจากที่ว่าการอำเภอนาทวี ๘ กิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอนาทวี มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตตำบลน้ำขาว อำเภอจะนะ
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตตำบลคลองทราย อำเภอนาทวี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตตำบลฉาง อำเภอนาทวี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตตำบลคลองทราย อำเภอนาทวี
ปรัชญาสถานศึกษา "การศึกษาคือชีวิต"
ชีวิตของมนุษย์เราทุกคนนั้นได้รับการศึกษาตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งลมหายใจสุดท้ายของชีวิต ในการใช้ชีวิตประจำวันในแต่ละวันนั้น มนุษย์เราต้องใช้การตัดสินใจใช้การประเมิน ใช้วิธีการทดลอง คำนวณ ใช้วิจารณญาณ ใช้มนุษยสัมพันธ์ การติดต่อสื่อสาร ประกอบในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยประสบการณ์และความรู้เป็นข้อมูลประกอบ ซึ่งการเรียนรู้เหล่านี้มนุษย์เราใช้วิธีการเรียนรู้ ในรูปแบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และเมื่อถึงวัยตามเกณฑ์ก็ต้องเข้าศึกษาในรูปแบบการศึกษา ในระบบ การศึกษาทั้ง ๓ รูปแบบนี้มนุษย์เราต้องศึกษาอยู่ตลอดเวลาโดยไม่มีวันหยุด “ การศึกษาคือชีวิต “
วิสัยทัศน์
ประชาชนตำบลนาหมอศรีได้รับการศึกษาตลอดชีวิต และการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดสังคมฐานความรู้ และการมีอาชีพอย่างยั่งยืน พร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
อัตลักษณ์ รักการเรียนรู้ คู่คุณธรรม
เอกลักษณ์ เศรษฐกิจพอเพียงเด่น เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต
พันธกิจ
๑. จัดและส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพ เพื่อยกระดับการศึกษา สมรรถนะในการเรียนรู้และการแก้ปัญหา พัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิตและสังคม และเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ของประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยการจัดการศึกษาต่อเนื่อง ดังนี้
๑.๑ การจัดการศึกษานอกระบบตั้งแต่ปฐมวัยจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๑.๒ การส่งเสริมการรู้หนังสือ
๑.๓ การศึกษาต่อเนื่อง
๑.๓.๑ การจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างยั่งยืน
๑.๓.๒ การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
๑.๓.๓ การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนตามแนวคิดการจัดการศึกษา
เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๑.๔ การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน
๑.๕ การประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๑.๖ การจัดการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
๒. ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม
อัธยาศัยของภาคีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศอาเซียนเพื่อผนึกกำลังในการพัฒนาคุณภาพของประชากร
๓. พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา และส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และการพัฒนาทักษะการเรียนรู้เพื่อให้รู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
๔. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน โดยการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของคนใน
ชุมชน ส่งเสริมบทบาทของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และศูนย์การเรียนในรูปแบบต่างๆ
๕. พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้สามารถดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม
อัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จ
เป้าประสงค์
๑. ประชาชนในพื้นที่อำเภอนาทวีได้รับโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบการศึกษา
นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
๒. ประชากรวัยแรงงานในพื้นที่อำเภอนาทวีมีระดับการศึกษาและคุณภาพชีวิตที่
สูงขึ้น และมีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวอย่างยั่งยืน บนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
๓. ชุมชนในพื้นที่อำเภอนาทวีมีฐานอาชีพที่กว้างและหลากหลาย สามารถพัฒนา
ไปสู่ระดับวิสาหกิจชุมชนที่มีความสามารถเชิงการแข่งขัน มีความเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ และสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความเข้มแข็งของชุมชน (OTOP Mini MBA)
๔. ประชาชนในพื้นที่อำเภอนาทวีมีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ และสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเรียนรู้ แก้ปัญหา และพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมอย่างสร้างสรรค์
๕. ประชาชนในพื้นที่อำเภอนาทวีมีความรู้และทักษะด้านภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษามลายูถิ่น ภาษามลายูกลาง และภาษากลุ่มประเทศอาเซียน รวมทั้งความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิภาคและความเป็นประชาคมอาเซียน
๖. องค์กรภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่อำเภอนาทวีและ รัฐเคดาห์ (ประเทศมาเลเซีย)
ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง
๗. หน่วยงานและสถานศึกษาพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่มีคุณภาพ
มาใช้ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมายและประชาชนทั่วไปอย่างทั่วถึง
๘. หน่วยงานและสถานศึกษานำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มี
คุณภาพมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้อย่างมี
ประสิทธิผล
๙. ชุมชนในพื้นที่อำเภอนาทวีได้รับการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ มีกิจกรรม
เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนโดยใช้รูปแบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมี กศน.ตำบลและศูนย์การเรียนชุมชนต่างๆ เป็นกลไกส่งเสริมการเรียนรู้
๑๐. หน่วยงานและสถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการการศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัยที่มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด
๑. ร้อยละ ๘๐ ของกลุ่มเป้าหมายต่างๆ (เช่น กลุ่มเด็ก กลุ่มเยาวชน กลุ่ม
วัยแรงงาน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส เป็นต้น) ที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้/ได้รับบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ
๒. จำนวนประชากรวัยแรงงาน (อายุ ๑๕ – ๕๙ ปี) ในพื้นที่อำเภอนาทวี ร้อยละ
๘๐ สามารถเข้ารับการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานการศึกษานอกระบบ
๓. จำนวนประชากรวัยแรงงาน (อายุ ๑๕ – ๕๙ ปี) ในพื้นที่อำเภอนาทวี ร้อยละ
๘๐ สามารถเข้ารับบริการการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
๔. ร้อยละ ๘๐ ของชุมชน (ตำบล/หมู่บ้าน) ในพื้นอำเภอนาทวี ได้รับการอบรม
หลักสูตร OTOP Mini MBA ตามโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนเพื่อการมีงานทำแล้ว สามารถจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ระดับตำบล/หมู่บ้านได้
๗. ร้อยละ ๘๐ ของจำนวนประชาชน ในพื้นที่อำเภอนาทวี ได้รับการศึกษาอบรม
ในหลักสูตร ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษามลายูถิ่น ภาษามลายูกลาง ภาษากลุ่มประเทศอาเซียน และอาเซียนศึกษา
๘. จำนวนองค์กรภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่อำเภอนาทวี และ บริเวณใกล้เคียง
รวมถึง รัฐเคดาห์ (ประเทศมาเลเซีย) ที่ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกับสถานศึกษา
๙. ร้อยละ ๘๐ ของสถานศึกษา มีการพัฒนา/วิจัยและพัฒนาสื่อและเทคโนโลยี
ทางการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน/ผู้รับบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๑๐. ร้อยละ ๘๐ ของผู้เรียน/ผู้เข้ารับบริการการศึกษานอกระบบ และการศึกษา
ตามอัธยาศัย มีความพึงพอใจในคุณภาพและปริมาณ/ความหลากหลายของสื่อการเรียนรู้ ที่สถานศึกษา จัดบริการ
๑๑. ร้อยละ ๘๐ ของสถานศึกษา มีการบริหารจัดการ และพัฒนาระบบเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยขององค์กร
๑๒. ร้อยละ ๘๐ ของ กศน. ตำบล และศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (ศรช.) จัดกิจกรรม
การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาชุมชน โดยใช้ปัญหาของชุมชนเป็นศูนย์กลาง
๑๓. ร้อยละ ๘๐ ของสถานศึกษา สามารถดำเนินงานโครงการ/ กิจกรรมตาม
บทบาทภารกิจที่รับผิดชอบได้สำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้โดยใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด/ตามแผนที่กำหนดไว้
เข้าชม : 2153 |