|
|
ประวัติความเป็นมาของตำบลเปียน
คำว่า “เปียน” เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า “เปลี่ยน” สำหรับประวัติและความเป็นมาของตำบลเปียนนั้น จากคำบอกเล่าของบุคคลในพื้นที่ กล่าวไว้ว่า สมัยก่อนชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมมีความสามัคคีกัน จึงเปลี่ยนสถานที่ตั้งหมู่บ้าน กับหมู่บ้านใกล้เคียง เช่น ชาวบ้านที่อยู่ในบ้านเปียน อดีตอาศัยอยู่ที่บ้านเก่า และคนบ้านเก่าอาศัยอยู่ที่บ้านเปียน และต่อมาชาวบ้านในบ้านเปียนขอสถานที่ตั้งใหม่ จึงชื่อหมู่บ้านว่า หมู่บ้านเปลี่ยน เพราะมีการแลกเปลี่ยนที่อยู่อาศัยกัน ต่อมาจึงเรียกเพี้ยนจากคำว่า “บ้านเปลี่ยน” มาเป็น “บ้านเปียน” จนถึงทุกวันนี้ และชาวไทยมุสลิมจะเรียกชื่อบ้านเปียนว่า “บ้านปียา” พื้นที่ตำบลเปียน มีพี่น้องชาวไทยมุสลิม 70% และมีชาวไทยพุทธ 30 %
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
ตำบลเปียน มีเนื้อที่ทั้งหมด 28,023 ไร่ (ประมาณ 44.48 ตารางกิโลเมตร) พื้นที่ทำการเกษตร และที่อยู่อาศัยประมาณ 22,070 ไร่พื้นที่สาธารณะประโยชน์ประมาณ 488 ไร่
พื้นที่ตำบลเปียน เป็นแนวยาวจากเหนือลงใต้ บริเวณตอนเหนือและตอนกลางของตำบลจะเป็นที่ราบส่วนใหญ่ มีการทำนาและปลูกยางพารา ส่วนบริเวณตอนใต้เป็นเขตป่าสงวน (ป่าเทือกเขาสันกาลาคีรี) จะมีการปลูกยางพาราบริเวณเป็นภูเขา และสองข้างถนน ชุมชนจะอาศัยอยู่บริเวณริมถนน ใกล้วัด มัสยิด และโรงเรียน
ลักษณะภูมิอากาศ
โดยที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของภาคใต้มีลักษณะเป็นแหลมใหญ่ยื่นออกไปในทะเล ภาคใต้จึงเปิดรับมรสุมทั้งสองด้าน คือ ถ้าอยู่ทางฝั่งตะวันตกจะเปิดรับมรสุมตะวันออกเฉียงใต้อย่างเต็มที่ เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกันยายน และช่วงนี้ฝั่งตะวันออกของภาคคือ ตำบลเปียน อำเภอสะบ้าย้อย จะเป็นปลายลมได้รับลมมรสุมนี้น้อยทำให้ฝนตกน้อย แต่ในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือทางฝั่งทะเลตะวันตกจะเปิดรับมรสุมอย่างเต็มที่ คือ ประมาณเดือนตุลาคม
อาณาเขตติดต่อมีดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลท่าม่วง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ทิศใต้ ติดกับ ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลบ้านโหนด อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลสะบ้าย้อย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ลักษณะของดิน เป็นพื้นที่ราบและภูเขา ปลูกสวนยางพารา ดินเป็นดินร่วน
ลักษณะของแหล่งน้ำ
แหล่งน้ำธรรมชาติ มีจำนวนคลอง 4 สาย คือ คลองเปียน คลองเรียน คลองเทพา คลองระไมล์
-หมู่ที่ 1 มีลำน้ำผ่าน 1 สาย คือ คลองเปียน
-หมู่ที่ 2 มีลำน้ำผ่าน 2 สาย คือ คลองเรียน,คลองเทพา
-หมู่ที่ 3 มีลำน้ำผ่าน 2 สาย คือ คลองเปียน,คลองเรียน
-หมู่ที่ 4 มีลำน้ำผ่าน 2 สาย คือ คลองระไมล์,คลองรียน
-หมู่ที่ 5 มีลำน้ำผ่าน 2 สาย คือ คลองเปียน,คลองเรียน
-หมู่ที่ 6 มีลำน้ำผ่าน 2 สาย คือ คลองเปียน,คลองเรียน
-หมู่ที่ 7 มีลำน้ำผ่าน 2 สาย คือ คลองระไมล์,คลองเรียน
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
-ฝาย จำนวน 6 แห่ง คือ หมู่ที่ 1 บ้านเปียน จำนวน 1 แห่ง หมู่ที่ 3 บ้านเก่า-ตำแย จำนวน 2 แห่ง หมู่ที่ 4 บ้านระไมล์ จำนวน 1 แห่หมู่ที่ 5 บ้านทุ่งเภา จำนวน 1 แห่ง หมู่ที่ 6 บ้านสวนโอน จำนวน 1 แห่ง
-บ่อน้ำตื้น จำนวน 9 แห่ง
-บ่อบาดาล จำนวน 18 แห่ง
-ประปา จำนวน 9 แห่ง ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านเปียน หมู่ที่ 2 บ้านควนหรัน หมู่ที่ 3 บ้านเก่า หมู่ที่ 4 บ้านระไมล์ หมู่ที่ 5 บ้านทุ่งเภา หมู่ที่ 6 บ้านสวนโอนและหมู่ที่ 7 บ้านระไมล์ต้นมะขาม
-อ่างเก็บน้ำ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ หมู่ที่ 5,6ทรัพยากรน้ำ มีแหล่งน้ำที่สำคัญ คือ ใช้ในด้านการเกษตร คลองเปียน คลองเรียน คลองเทพา
เข้าชม : 3010 |
|
|
|
|