ความเป็นมา
กศน.ตำบลบ้านโหนด เดิมตั้งอยู่ที่อาคารศาลาเอนกประสงค์อบต.บ้านโหนด หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านโหนด เป็นที่จัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษา ซึ่งแต่ก่อนเรียกว่า “ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลบ้านโหนด” และเริ่มเปิดการเรียนการเรียนการสอนตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 จนถึงภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ก็ได้ย้ายสถานที่พบกลุ่ม เนื่องจากสถานที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนการสอน โดยได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากผอ.รพ.สต.และผู้นำหมู่บ้าน อนุเคราะห์อาคารเก่าซึ้งเป็นอาคารสถานีอนามัยเก่าบ้านห้วยบอน หมู่ที 2 ตำบลบ้านโหนด และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “กศน.ตำบลบ้านโหนด” จนถึงปัจจุบัน
ที่ตั้ง
ตั้งอยู่ที่อาคารที่ทำการกองทุนหมู่บ้านบ้านพรุจา หมู่ที 7 บ้านพรุจา ตำบลบ้านโหนด อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา 90210 ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสะบ้าย้อย ประมาณ 13 กิโลเมตร
หมายเลขโทรศัพท์ 089-9776061,087-2895479
E-mail : Nora76061@Gmail..com
Web : http://sk.nfe.go.th/sby03
บทบาทหน้าที่ภารกิจ กศน.ตำบล
กศน. ตําบล มีบทบาทสำคัญในการจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชน โดยมีหัวหน้า กศน. ตำบล เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงาน กศน. ตำบล ดังนี้
๑. บทบาทหน้าที่ของหัวหน้า กศน. ตำบล
๑. การวางแผน
๑.๑ จัดทําฐานข้อมูลชุมชน
๑.๒ จัดทําแผนพัฒนา กศน. ตําบล
๑.๓ จัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี
๒. การจัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๒.๑ จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบ ดังนี้
- การส่งเสริมการรู้หนังสือ
- การศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- การศึกษาต่อเนื่อง
๒.๒ จัดและส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย
- ส่งเสริมการอ่าน
- จัดและพัฒนาแหล่งเรียนรู้
- บริการข่าวสารข้อมูล และสื่อทุกประเภท
- จัดและส่งเสริมกิจกรรมห้องสมุดประชาชนตำบล ห้องสมุดชุมชน มุมหนังสือบ้าน
๓. บริการการเรียนรู้ในชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่าย
๓.๑ ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับ สคบ.
๓.๒ ศูนย์ดิจิทัลชุมชน ร่วมกับ กระทรวง ICT และ D-TAC
๓.๓ มุมวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต ร่วมกับ สสวท.
๓.๔ การป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกับ อบต.สะบ้าย้อย
๓.๕ อำเภอเคลื่อนที่ร่วมกับอำเภอ
๓.๖ ศูนย์เรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบล
ร่วมกับกอ.รมน.
๓.๗ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาประชาธิปไตยประจำตำบล ร่วมกับ กกต.
กิจกรรมหลักของ กศน. ตำบล
การจัดตั้ง กศน. ตำบล มีความมุ่งหมายที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนในชุมชน ดังนั้นจึงอาจแบ่งกิจกรรมหลักของ กศน. ตำบล ได้ดังนี้
1. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของชุมชน (Information Center) เป็น แหล่งที่รวบรวมข้อมูลข่าวสารต่างๆ ของชุมชน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร ข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ชุมชน ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมืองการปกครอง การศึกษา สาธารณสุข ซึ่งเป็นข้อมูลเดียวกันกับขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นสถานที่ที่คนทั่วไปจะมาศึกษาข้อมูลพื้นฐานของชุมชนได้ในขณะเดียวกัน ก็จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้อื่นๆ ด้วยเช่น ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ การทำมาหากิน ในขณะเดียวกันก็จะเป็นแหล่งกระจายข่าวสารข้อมูลของภาครัฐผ่านเสียงตามสาย หรืออาจเป็นสถานีวิทยุชุมชน เพื่อกระจายข้อมูลข่าวสารของชุมชนด้วย
2. ศูนย์สร้างโอกาสการเรียนรู้ (Opportunity Center) เป็นสถานที่ที่จัดให้บริการเพื่อสร้างเสริมโอกาสเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของคนในชุมชน เช่น กิจกรรมศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fit it Center) ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาที่ประชาชนสามารถมาใช้บริการซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า วิทยุ เครื่องยนต์ขนาดเล็ก กิจกรรมส่งเสริมคุ้มครองผู้บริโภค กิจกรรมให้บริการของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ฯลฯ ดังนั้นกิจกรรมนี้จึงเป็นเสมือนที่นัดพบระหว่างประชาชนกับหน่วยให้บริการต่างๆ ของรัฐหรือองค์กรอื่นๆ เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ของประชาชน
3. ศูนย์การเรียนชุมชน (Learning Center) เป็นสถานที่จัดกิจกรรมเรียนรู้ต่างๆ ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน เช่น การศึกษาเทียบเท่าการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อยกระดับการศึกษาของประชากรวัยแรงงานซึ่งจัดโดย กศน. การศึกษานอกระบบที่จัดหลักสูตรการทำมาหากินในรูปของหลักสูตรระยะสั้นต่างๆ รวมทั้งเป็นที่จัดฝึกอบรมประชาชนในหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนต่างๆ และการถ่ายทอดความรู้ที่จำเป็นสำหรับประชาชน เช่นการเรียนรู้เกี่ยวกับการอยู่ในประชาคมอาเซียน การเรียนรู้เกี่ยวกับการเป็นพลเมือง (Civic Education) การเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น นอกจากนี้ยังจัดพื้นที่เป็นห้องสมุดชุมชนเพื่อส่งเสริมการอ่านของประชาชน และจัดให้มีเครื่องรับโทรทัศน์ และรับสัญญาณดาวเทียมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาต่างๆ ด้วย
4. ศูนย์ชุมชน (Community Center) เป็นสถานที่มีคนในชุมชนจะมาทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การจัดเวทีชาวบ้าน เวทีประชาคม หรือใช้เป็นสถานที่พบปะเสวนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือแม้แต่เป็นที่ "โสเล" หรือ "เขลง" กันในชุมชน กศน.ตำบล จึงทำหน้าที่คล้ายศาลาประชาคมไปพร้อมกันด้วย
หลักการทำงาน กศน. ตำบล มีครู กศน.ตำบล เป็นผู้ดำเนินงานจัดให้มีกิจกรรมเหล่านี้ขึ้น โดยยึดชุมชนเป็นฐานในการทำงานและการเรียนรู้ โดยใช้ต้นทุนของชุมชน เช่น อาคาร สถานที่ แหล่งวิทยาการ ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณี มีการประสานเครือข่ายในชุมชนร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยส่งเสริม สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนในชุมชน/ สังคม ได้แก่ อบต., อบจ., เทศบาล ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการดำเนินการจัดกิจกรรม กศน. ตำบล ทั้งในฐานะผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา บูรณาการกระบวนการเรียนรู้ และจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียนและชุมมชน มีอาสาสมัครต่าง ๆ ในชุมชน เช่น อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.), อาสาสมัคร กศน., อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้าราชการบำนาญ เยาวชนผู้นำท้องถิ่นต่าง ๆ คณะกรรมการ กศน. ตำบล ที่เป็นคนในชุมชนให้การส่งเสริมสนับสนุน ติดตามดูแลและร่วมประเมินผลการดำเนินงาน กศน. ตำบล เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตในชุมชน
แนวทางการดำเนินงานของ กศน.ตำบล ซึ่งมีการปรับบทบาทภารกิจให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและบริบทของพื้นที่ ตลอดจนรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน ภายใต้การขับเคลื่อนการดำเนินงาน 4 ศูนย์เรียนรู้ ประกอบด้วย
๑) ศูนย์เรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบล เป็นศูนย์กลางการส่งเสริม จัดกระบวนการเรียนรู้ และหน่วยประสานงานแหล่งเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภายในชุมชน ดำเนินงานร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)
๒) ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาประชาธิปไตยประจำตำบล เพื่อสร้างการเรียนรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข โดยเฉพาะสิทธิและหน้าที่ในระบอบประชาธิปไตย บูรณาการความร่วมมือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และภาคประชาสังคม
๓) ศูนย์ดิจิทัลชุมชน ซึ่งบริหารจัดการฐานข้อมูลที่จำเป็นสำหรับ กศน. และชุมชน เพื่อให้มีความรู้และรับรู้ที่เท่าทัน ปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกยุคดิจิทัล
๔) ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตชุมชน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาในระบบการศึกษา นอกระบบการศึกษา และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้มีคุณภาพที่สอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษา โดยยึดชุมชนเป็นฐานในการดำเนินงาน โดย กศน.ตำบล มีบทบาทเป็นผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวก
คณะกรรมการ กศน.ตำบล
ลำดับที่
|
ชื่อ – สกุล
|
ตำแหน่ง
|
1
|
นายสบรี หะยีเหาะ
|
ประธาน
|
2
|
นายจ่าสิบตำรวจบันลือ กัลยา
|
รองประธาน
|
3
|
นายสีรอซี ดาโอ๊ะโซ๊ะ
|
กรรมการ
|
4
|
นายฮาบีล สมอยุโซะ
|
กรรมการ
|
5
|
นายวัชรพงษ์ ชูคดี
|
กรรมการ
|
6
|
นายชาติ กิจจะเสน
|
กรรมการ
|
7
|
นายมนัส เต็มโมะ
|
กรรมการ
|
8
|
นายสาเหาะ สนิ
|
กรรมการ
|
9
|
นางสาวเกวดี พรมนุ้ย
|
กรรมการ
|
10
|
นายโนรา มะแซ
|
กรรมการและเลขานุการ
|
อาสาสมัคร กศน.ตำบล
หมู่ที่
|
ชื่อหมู่บ้าน
|
ชื่อ – สกุล
|
1
|
บ้านกะเชะ
|
นางสาวพารีดะ ยะพา
|
2
|
บ้านห้วยบอน
|
นางสาวมารียะ โมงหนิมะ
|
3
|
บ้านนากัน
|
นางสาววรรณวิดา บุญธรรมโม
|
4
|
บ้านนาม่วง
|
นางดาวรุณี สีเส้ง
|
5
|
บ้านโคก
|
นายเตาเฟส บาเหม
|
6
|
บ้านโหนด
|
นายสุลี โต๊ะเพ็ชร
|
7
|
บ้านพรุจา
|
นางอำพรรณ ลิ้มโป
|
บุคลากรใน กศน.ตำบล
กศน.ตำบลบ้านโหนดมีข้าราชการและพนักงานราชการปฏิบัติหน้าที่ประจำ กศน.ตำบล จำนวน 3 คน ดังนี้
|
ชื่อ – สกุล
|
ตำแหน่ง
|
วุฒิการศึกษา
|
๑.
|
นางศิริภรณ์ ชาชะ
|
ครูผู้ช่วย
|
คบ.วิทยาศาสตร์ทั่วไป
|
2
|
นายโนรา มะแซ
|
ครูอาสาฯ ประจำศรช.
|
บธบ. สาขาวิชาการจัดการ
|
3.
|
นางวัชรี ชูดำ
|
ครูอาสาฯ ประจำตำบล
|
ศศ.บ. สาขาการพัฒนาชุมชน
|
ประวัติความเป็นมาของตำบลบ้านโหนด
ตำบลบ้านโหนด ได้รับการจัดตั้งตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 และได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโหนด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 2 มีนาคม 2538 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 111 ตอนที่ 53 ก. ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2537 เป็นตำบลที่ตั้งอยู่ระหว่างอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา กับ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ความเป็นมาของตำบลบ้านโหนด บ้านโหนดเป็นชื่อเรียกของหมู่บ้านตามลักษณะพืช คือหมู่บ้านแห่งนี้เป็นหมู่บ้านที่มีต้นโตนดเป็นจำนวนมาก โหนด หมายถึง ต้นตาลโตนดภาษาถิ่นชาวบ้านเรียกว่า ต้นโหนด ต่อมาจึงเรียกชื่อกันสั้น ๆ เป็นบ้านโหนด
ที่ตั้ง (แสดงที่ตั้งและระยะห่างจากอำเภอ)
ตำบลบ้านโหนด เป็นหนึ่งใน 9 ตำบล ของอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโหนด ตั้งอยู่บริเวณที่สาธารณะประโยชน์ หมู่ที่ 2 บ้านห้วยบอน ห่างจากอำเภอสะบ้าย้อยประมาณ 12 กิโลเมตร
แผนที่ตำบลบ้านโหนด
อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
สภาพทั่วไปของตำบล
อาณาเขต (แสดงเนื้อที่โดยประมาณเป็นตารางกิโลเมตรและไร่
ตำบลบ้านโหนด มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 67.48 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 42,174 ไร่
มีอาณาเขตติดต่อกับหน่วยการปกครองท้องถิ่นอื่น ๆ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ทิศใต้ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลเปียน อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ทิศตะวันออก ติดต่อองค์การบริหารส่วนตำบลช้างให้ตก อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานีลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศมีลักษณะเป็นที่ราบและภูเขา มีน้ำตกซึ่งมีน้ำขังตลอดปี
จำนวนเนื้อที่
เนื้อที่ทั้งหมดในเขต อบต. บ้านโหนด 42,174 ไร่ (67.48 ตารางกิโลเมตร) ประกอบด้วย
พื้นที่ราบ 30,000 ไร่ ร้อยละ 71.1
ภูเขา 12,000 ไร่ ร้อยละ 28.5
พื้นน้ำ 174 ไร่ ร้อยละ 0.4
พื้นที่เกษตร 33.60 ตารางกิโลเมตร
พื้นที่ป่าไม้ 24.04 ตารางกิโลเมตร
พื้นที่พาณิชย์/ที่อยู่อาศัย 1.60 ตารางกิโลเมตร
พื้นที่คูคลอง/หนองน้ำสาธารณะ 8.00 ตารางกิโลเมตร
พื้นที่ส่วนราชการ 0.08 ตารางกิโลเมตร
พื้นที่ที่ว่างเปล่า 0.16 ตารางกิโลเมตร
เขตการปกครอง
- จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโหนด มีจำนวน 7 หมู่บ้าน คือ
๓.๑ข้อมูลด้านประชากร
3.1 จำนวนประชากรจำแนกตามเพศและเขตพื้นที่ตำบลบ้านโหนด
หมู่
ที่
|
ชื่อหมู่บ้าน
|
จำนวน
ครัวเรือน
|
จำนวนประชากร (คน)
|
จำนวนครัวเรือนในพื้นที่
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
เขต อบต.
|
เขตเทศบาล
|
๑
|
บ้านกะเชะ
|
|
๖๗๘
|
๖๔๔
|
๑,๓๒๒
|
๒๓๒
|
-
|
๒
|
บ้านห้วยบอน
|
๔๓๒
|
๘๕๐
|
๘๔๙
|
๑,๖๙๙
|
๔๓๒
|
-
|
๓
|
บ้านนากัน
|
๒๗๖
|
๓๒๓
|
๓๓๕
|
๖๕๘
|
๒๗๖
|
-
|
๔
|
บ้านนาม่วง
|
๒๒๑
|
๔๒๕
|
๔๑๓
|
๘๓๘
|
๒๒๑
|
-
|
๕
|
บ้านโคก
|
๑๗๒
|
๓๗๐
|
๓๗๙
|
๗๕๙
|
๑๗๒
|
-
|
๖
|
บ้านบ้านโหนด
|
๒๗๔
|
๕๒๙
|
๕๓๓
|
๑,๐๖๒
|
๒๗๔
|
-
|
๗
|
บ้านพรุจา
|
๑๐๕
|
๑๗๓
|
๑๘๗
|
๓๖๐
|
๑๐๕
|
-
|
รวม
|
๑,๗๑๒
|
๓,๓๔๘
|
๓,๓๕๐
|
๖,๖๙๘
|
๑,๗๑๒
|
-
|
ตำบลบ้านโหนด มีครัวเรือนอาศัยอยู่ จำนวน ๑,๗๑๒ ครัวเรือน อยู่ในเขตพื้นที่การปกครอง อบต.ทั้งหมดมีประชากรรวมทั้งสิ้น ๖,๖๙๘ คนแยกเป็นประชากรชาย จำนวน ๓,๓๔๘ คนคิดเป็นร้อยละ ๔๙.๙๘และประชากรหญิงจำนวน ๓,๓๕๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๐๒
๓.๒ จำนวนประชากรจำแนกตามช่วงอายุ
ช่วงอายุ (ปี)
|
จำนวน
|
ร้อยละของประชากรทั้งหมด
|
0 - 5
|
604
|
5.40
|
6 - 14
|
948
|
8.47
|
15 - 39
|
2,550
|
22.8
|
40 - 59
|
4,229
|
37.8
|
60 - 69
|
481
|
4.3
|
70 - 79
|
232
|
2.07
|
80 - 89
|
119
|
1.06
|
90 ปีขึ้นไป
|
21
|
0.18
|
รวม
|
11,184
|
|
จากตารางจำนวนประชากรจำแนกตามช่วงอายุ พบว่า ประชากรส่วนใหญ่เป็นประชากรวัยแรงงาน อายุ 15 - 59 ปี คิดเป็นร้อยละ 60.61 ประกอบด้วย ประชากรในช่วงอายุระหว่าง 15-39 ปี ร้อยละ 22.8 ซึ่งเป็นกลุ่มวัยแรงงานที่ให้ความสำคัญในการจัดบริการการเรียนรู้เป็นกลุ่มแรก และ ช่วงอายุ 40-59 ปี ร้อยละ 37.8 เป็นกลุ่มวัยแรงงานที่ให้ความสำคัญในการจัดบริการการเรียนรู้รองลงมา สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 7.61 เป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญในการจัดบริการการเรียนรู้ตามช่วงอายุจากมากไปหาน้อยตามลำดับ
4. ข้อมูลด้านสังคม
ด้านสังคมและประเพณีและวัฒนธรรมของคนในชุมชน สภาพสังคมของประชาชนในตำบลบ้านโหนดส่วนใหญ่อยู่เป็นครอบครัวใหญ่มีวงศาคณาญาติปลูกบ้านอยู่ในละแวกเดียวกัน เป็นสังคมพหุวัฒนธรรม นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 75.00 มีมัสยิด เป็นมัสยิดประจำหมู่บ้าน 4 ที่ ซึ่งเป็นสถานที่พิธีกรรมทางศาสนา และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านที่นับถือศาสนาอิสลาม และนับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 25.00 มีวัด จำนวน 3 แห่ง คือ วัดบ้านโหนด,วัดนาม่วงและสำนักสงฆ์บ้านระไมต์ ซึ่งทำให้เกิดประเพณีและวัฒนธรรมต่างที่สำคัญ ดังนี้
1. ประเพณีเมาลิด เป็นการแสดงออกถึงความรัก การให้เกียรติยกย่อง ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) โดยจัดงานคล้ายวันเกิดของท่านขึ้น การยกย่องวันเกิดของท่านนบีมุฮัมหมัด ดังนี้
- การดำเนินตาม การปฏิบัติในวันเกิดของท่าน คือ การถือศีลอดในวันจันทร์
- การมีความรักต่อท่านร่อซูล (ซ.ล.) เพราะการมีความรักต่อท่านร่อซูลนั้นคือ สิ่งที่แสดงถึง
การมีอีมาน ของเขา
- การกล่าวซอลาวาตต่อท่านนบี (ซ.ล.) ส่วนหนึ่งจากการให้เกียรติยกย่องและมีความรักต่อ
ท่านนบี คือ การกล่าวซอลาวาตต่อท่านนบี (ซ.ล.)
- การปฏิบัติตามคำสั่งใช้และการละเว้นที่จะปฏิบัติตามคำสั่งห้ามของท่านนบี
- ดำเนินตามแบบอย่างของท่านนบี (ซ.ล)
2. ประเพณีการถือศีลอด เป็นการละ การงด การระงับยับยั้ง การควบคุม ครองตน เช่น การละความชั่ว ยับยั้ง สิ่งต่างๆ ที่เกิดจากอารมณ์ฝ่ายต่ำ ส่วนความหมายในทางศาสนา หมายถึง การละเว้นการบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม การร่วมสังวาสระหว่างรุ่งสาง จนตะวันลับขอบฟ้า งดเว้นการพูดจาโกหก เหลวไหล ไร้สาระ เว้นจากการประพฤติชั่ว ทั้งโดยลับ และเปิดเผย ถือปฏิบัติตามแบบอย่างที่ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) ได้ทรงกำหนดไว้โดยให้ควบคุม พร้อมทั้งมือ เท้า หู ตา ใจ ลิ้น และอวัยวะทุกส่วน มิให้ใช้ไปในทางไร้สาระ
3. ประเพณีวันอีด มีจำนวน 2 วัน คือ
3.1 วันอีดิลฟิตรี เป็นวันแรกของการออกจากเทศกาลถือศีลอดของชาวมุสลิม (วันที่ 1 ของเดือนเชาวาล) เป็นวันแห่งรางวัลและการตอบแทนสำหรับผู้ที่ผ่านการทดสอบประจำปีในเดือนรอมมาฎอน ด้วยการบังคับ ตัวเองด้วยจิตศรัทธาที่มุ่งมั่น จากการกินดื่ม อยู่ในความสำรวมตนลดละกิเลสตัณหา และยืนฟังการอ่านอัลกรุอานในละหมาดตรอวีหฺเป็นเวลาเกือบหนึ่งชั่วโมงเต็มตลอดค่ำคืนของเดือนรอมมาฎอน พร้อมทั้งฝึกฝนด้านความโอบอ้อมอารีและความมีจิตเมตตาและกรุณาต่อผู้ที่ด้อยโอกาสและอ่อนแอกว่า ในช่วงเดือนรอมาฎอนเป็นเวลาหนึ่งเดือนเต็ม เพื่อขัดเกลาตนเองทั้งกายใจ ดังนั้นหลังจากที่พวกเขา สำเร็จออกจากเบ้าหลอมแห่งการทดสอบพร้อมกับจิตสำนึกแห่งมนุษยธรรมที่เปี่ยมล้น อิสลาม จึงประกาศให้วันนี้เป็นวันอีด (วันแห่งเทศกาลการเฉลิมฉลอง ) ที่ยิ่งใหญ่ของพวกเขาพร้อม กับสั่งให้มีการบริจาคทานแก่บรรดาผู้ที่ขัดสน ซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม "ซะกาตฟิฎเราะฮฺ" ควบคู่ไปกับการละหมาดอีด อัลลอฮได้ตรัสว่า ความว่า “แท้จริง ย่อมประสบความสำเร็จแล้ว นั่นคือผู้ที่ขัดเกลาตัวเองให้บริสุทธิ์ (ด้วยการถือศีลอดและบริจาคทาน)” และกล่าว(สรรเสริญ) พระนามของอัลลอฮฺ พร้อมทั้งดำรงการละหมาด(อีดิลฟิฏร)
3.2 วันอีดิลอัฎฮา คือ วันที่ 10 ของเดือนซุลหิจญะฮฺ ซึ่งเป็นวันที่ถัดจากวันอะเราะฟะฮฺหนึ่งวัน และเป็นวันส่งท้ายของสิบวันแรกของเดือนซุลหิจญะฮฺ ที่การปฏิบัติศาสนกิจในวันดังกล่าว จะมีความประเสริฐที่สุด และอัลลอฮจะพึงพอใจที่สุด เพราะเป็นวันหัจญ์อักบัร (หัจญ์ใหญ่) นบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) กล่าวว่า “ไม่มีวันใดๆ ที่การปฏิบัติ (ความดีและศาสนกิจ) จะเป็นที่ชอบใจของอัลลอฮฺมากกว่าการปฏิบัติในสิบวัน (แรกของเดือนซุลหิจญะฮฺ” วันที่ประเสริฐที่สุด ณ อัลลอฮฺ คือ วันนะหัร (วันอีดิลอัฎฮา) “ วันนะหัรฺคือวันหัจญ์อักบัรฺ” ถึงแม้ว่าอีดิลอัฎฮา (ซึ่งเป็นวันอีดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบปี และยิ่งใหญ่กว่าวันอีดิลฟิฏรฺ) อิสลามจึงได้ผนวกเอาวันที่ 9 ซุลหิจญะฮ หรือวันอะเราะฟะฮ และวันที่ 11-13 ซุลหิจญะฮ หรือวันตัชุรีก เข้ากับวันอีดิลอัฎฮาด้วย ดังนั้นเทศกาลวันอีดิลอัฎฮาจึงมีทั้งหมด 5 วัน ด้วยกัน ท่านบี (ซ.ล) กล่าวว่า “วันอะเราะฟะฮ วันเชือดกรุบาน (วันอีดิลอัฎฮา ) และวันตัชรีกทั้งสามเป็นวันดีของเราชาวมุสลิม เป็นวันแห่งการกินและดื่มเพียงแต่อิสลาม ส่งเสริมให้ชาวมุสลิมที่ไม่ได้ทำหัจญ์ถือศีลอดใน วันอะเราะฟะฮฺ นอกจากบรรดาฮุจญาต ที่กำลังทำพิธีกรรมอยู่ ณ ทุ่งอะเราะฟะฮ เท่านั้นที่ส่งเสริมให้กินดื่มในวันนี้ เพื่อที่จะได้มีแรง ในการปฎิบัติศาสนกิจอันหนักหน่วงในพิธีกรรมฮัจญ์
4. ประเพณีสงกรานต์ ซึ่งตรงกับวันที่ 13-16 เมษายน ของทุกปี โดยมีประเพณีที่สำคัญ คือ วันที่ 15 เมษายน มีการรดน้ำดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ เพื่อขอขมาลาโทษในสิ่งที่เคยล่วงเกิน และเป็นการแสดงความเคารพนับถือต่อบุพการี และบรรพบุรุษ เพื่อความเป็นสิริมงคลในชีวิตของลูกหลาน และมีประเพณีอื่นๆ อีกมากมาย เช่น มีการทำบุญตักบาตร ก่อเจดีย์ทรายเพื่อปักตุงล้านนา มีการสงฆ์น้ำพระ เป็นต้น
5. ประเพณีวันสารทเดือนสิบ เป็นงานบุญประเพณีของคนภาคใต้ของประเทศไทย ที่ได้รับอิทธิพลด้านความเชื่อ ซึ่งมาจากทางศาสนาพราหมณ์ โดยมีการผสมผสานกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนาเข้ามาในภายหลัง โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ให้แก่ดวงวิญญาณของบรรพชนและญาติที่ล่วงลับ ซึ่งเชื่อว่าได้รับการปล่อยตัวมาจากภูมินรก ที่ตนต้องจองจำอยู่เนื่องจากผลกรรมที่ตนได้เคยทำไว้ ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยจะเริ่มปล่อยตัวจากภูมินรกในทุก วันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 เพื่อมายังโลกมนุษย์ โดยมีจุดประสงค์ในการมาขอส่วนบุญจากลูกหลานญาติพี่น้อง ที่ได้เตรียมการอุทิศไว้ให้ เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ล่วงลับ หลังจากนั้นก็จะกลับไปยังภูมินรก ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10
6. ประเพณีเทศกาลชักพระ คือ ประเพณีทำบุญในวันออกพรรษา ซึ่งตรงกับ วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ซึ่งเชื่อกันว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้า เสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จมายังโลกมนุษย์ พุทธศาสนิกชนจึงมารอรับเสด็จ แล้วอัญเชิญพระพุทธ เจ้าขึ้นประทับบน บุษบกแล้วแห่ไปรอบเมือง
7. ประเพณีลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ประเพณีลอยกระทงนั้นมีมาแต่โบราณ โดยมีคติความเชื่อหลายอย่าง เช่น เชื่อว่าเป็นการบูชาและขอขมาแม่พระคงคา เป็นการสะเดาะเคราะห์ เป็นการบูชาพระเจ้าในศาสนาพราหมณ์ หรือเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท เป็นต้น
ปัจจุบันนี้สภาพสังคมในตำบล ยังคงยึดถือและปฏิบัติตามประเพณีที่เคยทำกันมาแม้ว่าวิถีชีวิตและวัฒนธรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นมาใหม่จากความทันสมัยของเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ต สังคมออนไลน์ต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิตดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม ความทันสมัยของเทคโนโลยีที่เข้ามามีทั้งข้อดีและข้อเสีย ที่ทำให้เกิดปัญหาต่างๆในสังคมมากมายโดยเฉพาะปัญหาเด็ก เยาวชน วัยรุ่น มีบุตรโดยไม่อยู่ในวัยอันควร เรียนไม่จบ ติดยาเสพติด ติดเกม หนีเรียน อันเนื่องมาจากการขาดการดูแลเอาใจใส่จากผู้ปกครอง ขาดความอบอุ่นจากครอบครัวหรือครอบครัวแตกแยกการเลี้ยงดูบุตรแบบวัตถุนิยม เป็นต้น การปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นที่จะต้องให้ประชาชนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย ยอมรับ และเรียนรู้ที่จะ เลือกสิ่งที่ดีเข้ามาในวิถีชีวิต และรักษาไว้ซึ่งประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามให้คงอยู่ สืบต่อถึงลูกหลานต่อไป
5. ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
อาชีพของประชาชนในตำบล
อาชีพส่วนใหญ่ของประชากรในพื้นที่ คือ ทำสวนยางพารา ปลูกไม้ผลยืนต้น และเลี้ยงสัตว์ ซึ่งจำแนกการกใช้พื้นที่ได้ดังนี้
- ทำสวนยางพารา 9,933 ไร่
- ทำนา 570 ไร่
- ทำไร่ 450 ไร่
- อื่นๆ 263 ไร่
จากการสำรวจชุมชน พบว่า ประชาชนที่อาศัยในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก อาชีพการเกษตรกรรมเป็นอาชีพดั้งเดิมของบรรพบุรุษสืบทอดต่อกันมาถึงลูกหลานในปัจจุบัน สำหรับประชาชนที่ประกอบอาชีพรองลงมา คือ ทำนา ทำไร่ และอื่นๆ รายได้โดยเฉลี่ยของประชากรในตำบลประมาณ รายได้เฉลี่ย คือ 55,000 บาท/คน/ปี
การเลี้ยงสัตว์
- ประเภทเชิงพาณิชย์ เช่น วัว โคเนื้อ แพะ แกะ มีทั้งที่เป็นฟาร์มขนาดใหญ่และ เลี้ยงในครัวเรือน
- ประเภทเพื่อบริโภคในครัวเรือนเช่น เป็ด ไก่ ปลา กบ โดยมากจะเลี้ยงตามธรรมชาติ
การค้าขาย
การค้าขายในตำบล เป็นอาชีพที่สร้างเงินสร้างรายได้ค่อนข้างดีพอสมควร เนื่องจากทำเลที่ตั้งอยู่ในเขตกึ่งเมืองกึ่งชนบทโดยเฉพาะที่เป็นร้านค้าขายของชำ/รวมถึงร้านขายอาหารประเภทอาหารตามสั่ง และเป็นธุรกิจค้าขาย ขนาดเล็ก-ขนาดกลาง ประชาชนมักไปใช้บริการมากกว่าเดินทางเข้าตัวเมือง
หน่วยธุรกิจในตำบลบ้านโหนด
- ธนาคาร - แห่ง
- โรงแรม - แห่ง
- ปั๊มน้ำมันหยอดเหรียญ 3 แห่ง
- โรงงานอุตสาหกรรม - แห่ง
- โรงสีขนาดเล็ก 3 แห่ง
- ร้านค้าทั่วไป 89 แห่ง
- ตลาดนัด 3 แห่ง
กลุ่มอาชีพเศรษฐกิจชุมชน
การดำเนินการกลุ่มอาชีพเศรษฐกิจชุมชน มีการจัดตั้งกลุ่ม การรวมกลุ่มอาชีพ กลุ่มเกษตรกร และการก่อเกิดอาชีพอย่างหลากหลายในตำบล โดยหลายภาคส่วนได้ส่งเสริมสนับสนุนกลุ่มอาชีพในหมูบ้าน ในการพัฒนาทั้งทักษะ/ความรู้ และข้อมูลการพัฒนางานหรือผลิตภัณฑ์ของทุกกลุ่มในตำบล
กลุ่มอาชีพที่มีอยู่ปัจจุบัน ได้แก่
กลุ่มเครื่องแกง บ้านโหนด หมู่ที่ 6 เริ่มจากการส่งเสริมการศึกษาต่อเนื่องของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสะบ้าย้อย โครงการ จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ หลักสูตรระยะสั้นการทำเครื่องแกง ให้กับกลุ่มแม่บ้าน ประชาชนทั่วไปและเมื่อเรียนจบหลักสูตรได้มีการผู้ที่สนใจรวมกลุ่มกันทำเป็นอาชีพขายส่งในชุมชนและตามร้านค้าต่างๆ มีสมาชิกที่รวมกลุ่ม 20 คน ระยะแรกกลุ่มมีปัญหาเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และด้านการตลาด ต่อมาสมาชิกในกลุ่มเพิ่มขึ้นและได้มีการปรับปรุงคุณภาพและรสชาติของเครื่องแกงให้มีความหลากหลายมากขึ้น มีบรรจุภัณฑ์สินค้าเป็นของฝากที่สวยงาม
กลุ่มขนมอาหาร เป็นกลุ่มแม่บ้าน หมู่ 3 จำนวน 20 คน ที่มีพื้นฐานความรู้ภูมิปัญญาด้านการทำขนม อาหารอยู่แล้ว เป็นการรวมกลุ่มกันเพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เริ่มจากการขายในชุมชนและหมู่บ้านใกล้เคียง ได้แก่ โดนัท ขนมเจาะหู จูจุ่น เป็นต้น เป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาด้านการจักสานของชุมชน มีนักศึกษา กศน.ในตำบลเข้ามาเรียนรู้เพื่อทำโครงงาน ในรายวิชาทักษะการประกอบอาชีพ ซึ่งครู กศน.ได้ใช้กลุ่มเป็นแหล่งเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษา กศน. และเป็นแหล่งศึกษาดูงานด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นของตำบลด้วย
แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคล ได้แก่
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
|
ความรู้ความสามารถ
|
ที่อยู่
|
1. นายบุญญพัฒน์ เรวัฒทูตานนท์
|
ด้านเศรษฐกิจพอเพียง
|
หมู่ที่ 6
|
2. นายบุญญพัฒน์ เรวัฒทูตานนท์
|
การปราชญ์ชาวบ้าน
|
หมู่ที่ 6
|
3.เจ้าอาวาสวัดบ้านโหนด
|
การปราชญ์ชาวบ้าน
|
หมู่ที่ 6
|
4.โต๊ะอีหม่ามมัสยิดบ้านห้วยบอน
|
การปราชญ์ชาวบ้าน
|
หมู่ที่ 2
|
5. นางแยนะ ยะพา
|
ด้านนวดแผนโบราณ
|
หมู่ที่ 1
|
แหล่งเรียนรู้ประเภทสถานที่/ชุมชน/กลุ่มทางเศรษฐกิจ/สังคม ได้แก่
ชื่อแหล่งเรียนรู้
|
ประเภทแหล่งเรียนรู้
|
ที่ตั้ง
|
1. วัดบ้านโหนด
|
โบราณสถาน
|
หมู่ 6
|
2. น้ำตกเวฬุวัน (น้ำพระไม้ไผ่)
|
แหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติ
|
หมู่ 2
|
3. วัดนาม่วง
|
โบราณสถาน
|
หมู่ 4
|
4. กลุ่มเครื่องแกง
|
วิสาหกิจชุมชน
|
หมู่ 6
|
5. กลุ่มเห็ดแครง
|
วิสาหกิจชุมชน
|
หมู่ 6
|
6. กลุ่มผลิตน้ำดื่มชุมชนบ้านโหนด
|
วิสาหกิจชุมชน
|
หมู่ 2
|
7.กลุ่มแปรรูปการแฟโรบัสต้า
|
วิสาหกิจชุมชน
|
หมู่ 6
|
แหล่งสนับสนุน ทุน/งบประมาณ ประเภทองค์กร ได้แก่
ภาคีเครือข่าย
|
การสนับสนุน
|
ที่อยู่/ที่ตั้ง
|
1.องค์การบริหารส่วนตำบล
|
อนุเคราะห์สถานที่/วิทยากร
|
หมู่ 2
|
2.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล
|
อนุเคราะห์สถานที่/ช่วยกิจกรรมกศน.
|
หมู่ 2,3
|
3.วัดบ้านโหนด/วัดนาม่วง
|
อนุเคราะห์สถานที่/วิทยากร
|
หมู่ 6,4
|
4.,มัสยิดทั้ง 4 ที่
|
อนุเคราะห์สถานที่/วิทยากร
|
หมุ่ 1,2,5,6
|
5.กลุ่มอสม./กลุ่มผู้สูงอายุฯ/กลุ่มอาชีพ ฯลฯ
|
ประชาสัมพันธ์ช่วยกิจกรรมกศน.
|
หมู่ 1-7
|
การท่องเที่ยวและการบริการ
ตำบลบ้านโหนด มีศักยภาพทางด้านท่องเที่ยว ทั้งในด้านปูชนียสถานและด้านแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณวัตถุ และที่สำคัญที่สุดซึ่งนับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์และสร้างชื่อเสียงเป็นอย่างยิ่ง ได้แก่ น้ำตกพระไม้ไผ่ซึ่งทางองค์การบริหารส่วนตำบลกำลังเร่งบูรณะ ปรับปรุงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามของตำบลต่อไป ในด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวของ ตำบลบ้านโหนด มีมิติและแผนงานที่จะเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวของตำบลกับการพัฒนาสินค้าของที่ระลึกของกลุ่มอาชีพ และกลุ่มสตรีโดยพัฒนาศูนย์/ลานแสดงสินค้าที่อยู่บริเวณน้ำตกฯให้สวยงาม เหมาะสมต่อไป
การเงินการธนาคาร
ในตำบลบ้านโหนด มีกองทุนหมู่บ้าน/ธนาคารหมู่บ้าน รวมถึงกลุ่มเครือข่ายที่รวมตัวกันเพื่อส่งเสริมการออมอยู่หลายกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มก็มีบทบาทที่แตกต่างกัน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณแต่ละยุค แต่ละสมัยตามแต่นโยบายของรัฐบาล โดยแต่ละกลุ่มมักประสบปัญหาหลายๆอย่าง เช่น การขาดความรู้ด้านการจัดการอย่างเป็นระบบ และขาดระบบการจัดการที่ทันสมัย รวมทั้งชาวบ้านขาดรากฐานด้านการออม สภาพปัญหาที่พบ คือไม่มีระบบการบริหารจัดการที่ดี ขาดความรู้ ความชำนาญ การสูญหนี้
การไฟฟ้า
การบริการไฟฟ้าในเขตตำบลบ้านโหนด อยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอสะบ้าย้อย โดยปัจจุบันในทุกหมู่บ้านมีกระแสไฟฟ้าใช้ และครัวเรือนในพื้นที่ส่วนใหญ่มีไฟฟ้าใช้ แต่ในพื้นที่บางส่วนที่อยู่ห่างไกลอยู่ในเขตพื้นที่ทุรกันดาร องค์การบริหารส่วนตำบลได้ดำเนินการประสานงานขอขยายเขตไฟฟ้าไปแล้ว ในด้านไฟฟ้าสาธารณะ (จุดส่องสว่าง) ในตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโหนด ได้วางแผน/จัดสรรเงินงบประมาณประจำปีเพื่อดำเนินการติดตั้งเพิ่มเติมและปรับปรุงจุดส่องสว่างสาธารณะในตำบลไว้แล้ว
การประปา
ตำบลบ้านโหนด ที่มีโครงการระบบประปาหมู่บ้านเพื่ออุปโภคบริโภคทุกหมู่บ้าน แต่ด้วยระบบที่มีอยู่เดิมชำรุด ทำให้ต้องประสบปัญหาการจัดหาน้ำของระบบประปา นับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดของตำบลบ้านโหนด จึงจำเป็นต้องพึ่งตนเองด้วยการขุดเจาะน้ำบาดาล แต่ต้องพบกับปัญหาคุณภาพของน้ำที่ไม่ดีมีสารเคมีปนเปื้อนจากการทำการเกษตรประชาชนในพื้นที่
๖. ข้อมูลด้านการศึกษา
ตำบลบ้านโหนด มีสถานศึกษารวมทั้งหมด ๗ แห่ง ในแต่ละสถานศึกษาที่อยู่ในเขตตำบลบ้านโหนด ดังนี้
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4 แห่ง คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกะเชะ, บ้านห้วยบอน,
นาม่วงและนากัน
- โรงเรียนประถมศึกษา 3 แห่ง ดังนี้
1. โรงเรียนบ้านห้วยบอน หมู่ที่ 2
2. โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน หมู่ที่ 3
3. โรงเรียนบ้านนาม่วง หมู่ที่ 4
- กศน.ตำบลบ้านโหนด สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบตามอัธยาศัย (กศน.)จำนวน ๑ แห่ง
- ตั้งอยู่ ณ อาคารอนามัยเก่าบ้านห้วยบอน หมู่ 2 ตำบลบ้านโหนด อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
๗. ข้อมูลด้านสาธารณสุข
สถานพยาบาล
ประเภทสถานพยาบาล
|
แห่ง
|
โรงพยาบาลรัฐ
|
-
|
โรงพยาบาลเอกชน
|
-
|
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)
|
2
|
คลีนิก
|
-
|
อื่น ๆ
|
-
|
จากตาราง พบว่าในตำบลบ้านโหนด มีสถานพยาบาลในชุมชน คือ รพ.สต. จำนวน 2 แห่ง
ความเป็นมา
กศน.ตำบลบ้านโหนด เดิมตั้งอยู่ที่อาคารศาลาเอนกประสงค์อบต.บ้านโหนด หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านโหนด เป็นที่จัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษา ซึ่งแต่ก่อนเรียกว่า “ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลบ้านโหนด” และเริ่มเปิดการเรียนการเรียนการสอนตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 จนถึงภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ก็ได้ย้ายสถานที่พบกลุ่ม เนื่องจากสถานที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนการสอน โดยได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากผอ.รพ.สต.และผู้นำหมู่บ้าน อนุเคราะห์อาคารเก่าซึ้งเป็นอาคารสถานีอนามัยเก่าบ้านห้วยบอน หมู่ที 2 ตำบลบ้านโหนด และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “กศน.ตำบลบ้านโหนด” จนถึงปัจจุบัน
ที่ตั้ง
ตั้งอยู่ที่อาคารสถานีอนามัยเก่าบ้านห้วยบอน หมู่ที 2 บ้านถ้ำตลอด ตำบลบ้านโหนด อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา 90210 ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสะบ้าย้อย ประมาณ 13 กิโลเมตร
หมายเลขโทรศัพท์ 089-9776061,087-2895479
E-mail : Nora76061@Gmail..com
Web : http://sk.nfe.go.th/sby03
บทบาทหน้าที่ภารกิจ กศน.ตำบล
กศน. ตําบล มีบทบาทสำคัญในการจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชน โดยมีหัวหน้า กศน. ตำบล เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงาน กศน. ตำบล ดังนี้
๑. บทบาทหน้าที่ของหัวหน้า กศน. ตำบล
๑. การวางแผน
๑.๑ จัดทําฐานข้อมูลชุมชน
๑.๒ จัดทําแผนพัฒนา กศน. ตําบล
๑.๓ จัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี
๒. การจัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๒.๑ จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบ ดังนี้
- การส่งเสริมการรู้หนังสือ
- การศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- การศึกษาต่อเนื่อง
๒.๒ จัดและส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย
- ส่งเสริมการอ่าน
- จัดและพัฒนาแหล่งเรียนรู้
- บริการข่าวสารข้อมูล และสื่อทุกประเภท
- จัดและส่งเสริมกิจกรรมห้องสมุดประชาชนตำบล ห้องสมุดชุมชน มุมหนังสือบ้าน
๓. บริการการเรียนรู้ในชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่าย
๓.๑ ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับ สคบ.
๓.๒ ศูนย์ดิจิทัลชุมชน ร่วมกับ กระทรวง ICT และ D-TAC
๓.๓ มุมวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต ร่วมกับ สสวท.
๓.๔ การป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกับ อบต.สะบ้าย้อย
๓.๕ อำเภอเคลื่อนที่ร่วมกับอำเภอ
๓.๖ ศูนย์เรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบล
ร่วมกับกอ.รมน.
๓.๗ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาประชาธิปไตยประจำตำบล ร่วมกับ กกต.
กิจกรรมหลักของ กศน. ตำบล
การจัดตั้ง กศน. ตำบล มีความมุ่งหมายที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนในชุมชน ดังนั้นจึงอาจแบ่งกิจกรรมหลักของ กศน. ตำบล ได้ดังนี้
1. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของชุมชน (Information Center) เป็น แหล่งที่รวบรวมข้อมูลข่าวสารต่างๆ ของชุมชน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร ข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ชุมชน ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมืองการปกครอง การศึกษา สาธารณสุข ซึ่งเป็นข้อมูลเดียวกันกับขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นสถานที่ที่คนทั่วไปจะมาศึกษาข้อมูลพื้นฐานของชุมชนได้ในขณะเดียวกัน ก็จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้อื่นๆ ด้วยเช่น ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ การทำมาหากิน ในขณะเดียวกันก็จะเป็นแหล่งกระจายข่าวสารข้อมูลของภาครัฐผ่านเสียงตามสาย หรืออาจเป็นสถานีวิทยุชุมชน เพื่อกระจายข้อมูลข่าวสารของชุมชนด้วย
2. ศูนย์สร้างโอกาสการเรียนรู้ (Opportunity Center) เป็นสถานที่ที่จัดให้บริการเพื่อสร้างเสริมโอกาสเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของคนในชุมชน เช่น กิจกรรมศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fit it Center) ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาที่ประชาชนสามารถมาใช้บริการซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า วิทยุ เครื่องยนต์ขนาดเล็ก กิจกรรมส่งเสริมคุ้มครองผู้บริโภค กิจกรรมให้บริการของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ฯลฯ ดังนั้นกิจกรรมนี้จึงเป็นเสมือนที่นัดพบระหว่างประชาชนกับหน่วยให้บริการต่างๆ ของรัฐหรือองค์กรอื่นๆ เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ของประชาชน
3. ศูนย์การเรียนชุมชน (Learning Center) เป็นสถานที่จัดกิจกรรมเรียนรู้ต่างๆ ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน เช่น การศึกษาเทียบเท่าการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อยกระดับการศึกษาของประชากรวัยแรงงานซึ่งจัดโดย กศน. การศึกษานอกระบบที่จัดหลักสูตรการทำมาหากินในรูปของหลักสูตรระยะสั้นต่างๆ รวมทั้งเป็นที่จัดฝึกอบรมประชาชนในหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนต่างๆ และการถ่ายทอดความรู้ที่จำเป็นสำหรับประชาชน เช่นการเรียนรู้เกี่ยวกับการอยู่ในประชาคมอาเซียน การเรียนรู้เกี่ยวกับการเป็นพลเมือง (Civic Education) การเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น นอกจากนี้ยังจัดพื้นที่เป็นห้องสมุดชุมชนเพื่อส่งเสริมการอ่านของประชาชน และจัดให้มีเครื่องรับโทรทัศน์ และรับสัญญาณดาวเทียมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาต่างๆ ด้วย
4. ศูนย์ชุมชน (Community Center) เป็นสถานที่มีคนในชุมชนจะมาทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การจัดเวทีชาวบ้าน เวทีประชาคม หรือใช้เป็นสถานที่พบปะเสวนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือแม้แต่เป็นที่ "โสเล" หรือ "เขลง" กันในชุมชน กศน.ตำบล จึงทำหน้าที่คล้ายศาลาประชาคมไปพร้อมกันด้วย
หลักการทำงาน กศน. ตำบล มีครู กศน.ตำบล เป็นผู้ดำเนินงานจัดให้มีกิจกรรมเหล่านี้ขึ้น โดยยึดชุมชนเป็นฐานในการทำงานและการเรียนรู้ โดยใช้ต้นทุนของชุมชน เช่น อาคาร สถานที่ แหล่งวิทยาการ ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณี มีการประสานเครือข่ายในชุมชนร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยส่งเสริม สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนในชุมชน/ สังคม ได้แก่ อบต., อบจ., เทศบาล ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการดำเนินการจัดกิจกรรม กศน. ตำบล ทั้งในฐานะผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา บูรณาการกระบวนการเรียนรู้ และจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียนและชุมมชน มีอาสาสมัครต่าง ๆ ในชุมชน เช่น อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.), อาสาสมัคร กศน., อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้าราชการบำนาญ เยาวชนผู้นำท้องถิ่นต่าง ๆ คณะกรรมการ กศน. ตำบล ที่เป็นคนในชุมชนให้การส่งเสริมสนับสนุน ติดตามดูแลและร่วมประเมินผลการดำเนินงาน กศน. ตำบล เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตในชุมชน
แนวทางการดำเนินงานของ กศน.ตำบล ซึ่งมีการปรับบทบาทภารกิจให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและบริบทของพื้นที่ ตลอดจนรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน ภายใต้การขับเคลื่อนการดำเนินงาน 4 ศูนย์เรียนรู้ ประกอบด้วย
๑) ศูนย์เรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบล เป็นศูนย์กลางการส่งเสริม จัดกระบวนการเรียนรู้ และหน่วยประสานงานแหล่งเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภายในชุมชน ดำเนินงานร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)
๒) ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาประชาธิปไตยประจำตำบล เพื่อสร้างการเรียนรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข โดยเฉพาะสิทธิและหน้าที่ในระบอบประชาธิปไตย บูรณาการความร่วมมือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และภาคประชาสังคม
๓) ศูนย์ดิจิทัลชุมชน ซึ่งบริหารจัดการฐานข้อมูลที่จำเป็นสำหรับ กศน. และชุมชน เพื่อให้มีความรู้และรับรู้ที่เท่าทัน ปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกยุคดิจิทัล
๔) ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตชุมชน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาในระบบการศึกษา นอกระบบการศึกษา และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้มีคุณภาพที่สอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษา โดยยึดชุมชนเป็นฐานในการดำเนินงาน โดย กศน.ตำบล มีบทบาทเป็นผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวก
คณะกรรมการ กศน.ตำบล
ลำดับที่
|
ชื่อ – สกุล
|
ตำแหน่ง
|
1
|
นายสบรี หะยีเหาะ
|
ประธาน
|
2
|
นายจ่าสิบตำรวจบันลือ กัลยา
|
รองประธาน
|
3
|
นายสีรอซี ดาโอ๊ะโซ๊ะ
|
กรรมการ
|
4
|
นายฮาบีล สมอยุโซะ
|
กรรมการ
|
5
|
นายวัชรพงษ์ ชูคดี
|
กรรมการ
|
6
|
นายชาติ กิจจะเสน
|
กรรมการ
|
7
|
นายมนัส เต็มโมะ
|
กรรมการ
|
8
|
นายสาเหาะ สนิ
|
กรรมการ
|
9
|
นางสาวเกวดี พรมนุ้ย
|
กรรมการ
|
10
|
นายโนรา มะแซ
|
กรรมการและเลขานุการ
|
อาสาสมัคร กศน.ตำบล
หมู่ที่
|
ชื่อหมู่บ้าน
|
ชื่อ – สกุล
|
1
|
บ้านกะเชะ
|
นางสาวพารีดะ ยะพา
|
2
|
บ้านห้วยบอน
|
นางสาวมารียะ โมงหนิมะ
|
3
|
บ้านนากัน
|
นางสาววรรณวิดา บุญธรรมโม
|
4
|
บ้านนาม่วง
|
นางดาวรุณี สีเส้ง
|
5
|
บ้านโคก
|
นายเตาเฟส บาเหม
|
6
|
บ้านโหนด
|
นายสุลี โต๊ะเพ็ชร
|
7
|
บ้านพรุจา
|
นางอำพรรณ ลิ้มโป
|
บุคลากรใน กศน.ตำบล
กศน.ตำบลบ้านโหนดมีข้าราชการและพนักงานราชการปฏิบัติหน้าที่ประจำ กศน.ตำบล จำนวน 3 คน ดังนี้
|
ชื่อ – สกุล
|
ตำแหน่ง
|
วุฒิการศึกษา
|
๑.
|
นางศิริภรณ์ ชาชะ
|
ครูผู้ช่วย
|
คบ.วิทยาศาสตร์ทั่วไป
|
2
|
นายโนรา มะแซ
|
ครูอาสาฯ ประจำศรช.
|
บธบ. สาขาวิชาการจัดการ
|
3.
|
นางวัชรี ชูดำ
|
ครูอาสาฯ ประจำตำบล
|
ศศ.บ. สาขาการพัฒนาชุมชน
|
ประวัติความเป็นมาของตำบลบ้านโหนด
ตำบลบ้านโหนด ได้รับการจัดตั้งตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 และได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโหนด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 2 มีนาคม 2538 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 111 ตอนที่ 53 ก. ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2537 เป็นตำบลที่ตั้งอยู่ระหว่างอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา กับ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ความเป็นมาของตำบลบ้านโหนด บ้านโหนดเป็นชื่อเรียกของหมู่บ้านตามลักษณะพืช คือหมู่บ้านแห่งนี้เป็นหมู่บ้านที่มีต้นโตนดเป็นจำนวนมาก โหนด หมายถึง ต้นตาลโตนดภาษาถิ่นชาวบ้านเรียกว่า ต้นโหนด ต่อมาจึงเรียกชื่อกันสั้น ๆ เป็นบ้านโหนด
ที่ตั้ง (แสดงที่ตั้งและระยะห่างจากอำเภอ)
ตำบลบ้านโหนด เป็นหนึ่งใน 9 ตำบล ของอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโหนด ตั้งอยู่บริเวณที่สาธารณะประโยชน์ หมู่ที่ 2 บ้านห้วยบอน ห่างจากอำเภอสะบ้าย้อยประมาณ 12 กิโลเมตร
แผนที่ตำบลบ้านโหนด
อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
สภาพทั่วไปของตำบล
อาณาเขต (แสดงเนื้อที่โดยประมาณเป็นตารางกิโลเมตรและไร่
ตำบลบ้านโหนด มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 67.48 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 42,174 ไร่
มีอาณาเขตติดต่อกับหน่วยการปกครองท้องถิ่นอื่น ๆ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ทิศใต้ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลเปียน อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ทิศตะวันออก ติดต่อองค์การบริหารส่วนตำบลช้างให้ตก อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศมีลักษณะเป็นที่ราบและภูเขา มีน้ำตกซึ่งมีน้ำขังตลอดปี
จำนวนเนื้อที่
เนื้อที่ทั้งหมดในเขต อบต. บ้านโหนด 42,174 ไร่ (67.48 ตารางกิโลเมตร) ประกอบด้วย
พื้นที่ราบ 30,000 ไร่ ร้อยละ 71.1
ภูเขา 12,000 ไร่ ร้อยละ 28.5
พื้นน้ำ 174 ไร่ ร้อยละ 0.4
พื้นที่เกษตร 33.60 ตารางกิโลเมตร
พื้นที่ป่าไม้ 24.04 ตารางกิโลเมตร
พื้นที่พาณิชย์/ที่อยู่อาศัย 1.60 ตารางกิโลเมตร
พื้นที่คูคลอง/หนองน้ำสาธารณะ 8.00 ตารางกิโลเมตร
พื้นที่ส่วนราชการ 0.08 ตารางกิโลเมตร
พื้นที่ที่ว่างเปล่า 0.16 ตารางกิโลเมตร
เขตการปกครอง
- จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโหนด มีจำนวน 7 หมู่บ้าน คือ
|
|
|
|
|
|
บ้านกะเชะ
|
|
นายสีรอซี ดาโอะโสะ
|
087-8964023
|
|
บ้านห้วยบอน
|
๔๓๒
|
นายฮาบีล สมอยุโซ๊ะ
|
085-6289231
|
|
บ้านนากัน
|
๒๗๖
|
นายวัชรพงษ์ ชูคดี
|
085-6400599
|
|
บ้านนาม่วง
|
๒๒๑
|
นายวินัย อุทัดทอง
|
080-7017645
|
|
บ้านโคก
|
๑๗๒
|
นายมนัส เต็มโมะ *(กำนัน)
|
081-8989133
|
|
บ้านบ้านโหนด
|
๒๗๔
|
นายสาเหาะ สนิ
|
084-4425003
|
|
บ้านพรุจา
|
๑๐๕
|
นางสาวเกวดี พรมนุ้ย
|
088-3587287
|
|
|
|
|
|
๓.๑ข้อมูลด้านประชากร
3.1 จำนวนประชากรจำแนกตามเพศและเขตพื้นที่ตำบลบ้านโหนด
หมู่
ที่
|
ชื่อหมู่บ้าน
|
จำนวน
ครัวเรือน
|
จำนวนประชากร (คน)
|
จำนวนครัวเรือนในพื้นที่
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
เขต อบต.
|
เขตเทศบาล
|
๑
|
บ้านกะเชะ
|
|
๖๗๘
|
๖๔๔
|
๑,๓๒๒
|
๒๓๒
|
-
|
๒
|
บ้านห้วยบอน
|
๔๓๒
|
๘๕๐
|
๘๔๙
|
๑,๖๙๙
|
๔๓๒
|
-
|
๓
|
บ้านนากัน
|
๒๗๖
|
๓๒๓
|
๓๓๕
|
๖๕๘
|
๒๗๖
|
-
|
๔
|
บ้านนาม่วง
|
๒๒๑
|
๔๒๕
|
๔๑๓
|
๘๓๘
|
๒๒๑
|
-
|
๕
|
บ้านโคก
|
๑๗๒
|
๓๗๐
|
๓๗๙
|
๗๕๙
|
๑๗๒
|
-
|
๖
|
บ้านบ้านโหนด
|
๒๗๔
|
๕๒๙
|
๕๓๓
|
๑,๐๖๒
|
๒๗๔
|
-
|
๗
|
บ้านพรุจา
|
๑๐๕
|
๑๗๓
|
๑๘๗
|
๓๖๐
|
๑๐๕
|
-
|
รวม
|
๑,๗๑๒
|
๓,๓๔๘
|
๓,๓๕๐
|
๖,๖๙๘
|
๑,๗๑๒
|
-
|
ตำบลบ้านโหนด มีครัวเรือนอาศัยอยู่ จำนวน ๑,๗๑๒ ครัวเรือน อยู่ในเขตพื้นที่การปกครอง อบต.ทั้งหมดมีประชากรรวมทั้งสิ้น ๖,๖๙๘ คนแยกเป็นประชากรชาย จำนวน ๓,๓๔๘ คนคิดเป็นร้อยละ ๔๙.๙๘และประชากรหญิงจำนวน ๓,๓๕๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๐๒
๓.๒ จำนวนประชากรจำแนกตามช่วงอายุ
ช่วงอายุ (ปี)
|
จำนวน
|
ร้อยละของประชากรทั้งหมด
|
0 - 5
|
604
|
5.40
|
6 - 14
|
948
|
8.47
|
15 - 39
|
2,550
|
22.8
|
40 - 59
|
4,229
|
37.8
|
60 - 69
|
481
|
4.3
|
70 - 79
|
232
|
2.07
|
80 - 89
|
119
|
1.06
|
90 ปีขึ้นไป
|
21
|
0.18
|
รวม
|
11,184
|
|
จากตารางจำนวนประชากรจำแนกตามช่วงอายุ พบว่า ประชากรส่วนใหญ่เป็นประชากรวัยแรงงาน อายุ 15 - 59 ปี คิดเป็นร้อยละ 60.61 ประกอบด้วย ประชากรในช่วงอายุระหว่าง 15-39 ปี ร้อยละ 22.8 ซึ่งเป็นกลุ่มวัยแรงงานที่ให้ความสำคัญในการจัดบริการการเรียนรู้เป็นกลุ่มแรก และ ช่วงอายุ 40-59 ปี ร้อยละ 37.8 เป็นกลุ่มวัยแรงงานที่ให้ความสำคัญในการจัดบริการการเรียนรู้รองลงมา สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 7.61 เป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญในการจัดบริการการเรียนรู้ตามช่วงอายุจากมากไปหาน้อยตามลำดับ
4. ข้อมูลด้านสังคม
ด้านสังคมและประเพณีและวัฒนธรรมของคนในชุมชน สภาพสังคมของประชาชนในตำบลบ้านโหนดส่วนใหญ่อยู่เป็นครอบครัวใหญ่มีวงศาคณาญาติปลูกบ้านอยู่ในละแวกเดียวกัน เป็นสังคมพหุวัฒนธรรม นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 75.00 มีมัสยิด เป็นมัสยิดประจำหมู่บ้าน 4 ที่ ซึ่งเป็นสถานที่พิธีกรรมทางศาสนา และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านที่นับถือศาสนาอิสลาม และนับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 25.00 มีวัด จำนวน 3 แห่ง คือ วัดบ้านโหนด,วัดนาม่วงและสำนักสงฆ์บ้านระไมต์ ซึ่งทำให้เกิดประเพณีและวัฒนธรรมต่างที่สำคัญ ดังนี้
1. ประเพณีเมาลิด เป็นการแสดงออกถึงความรัก การให้เกียรติยกย่อง ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) โดยจัดงานคล้ายวันเกิดของท่านขึ้น การยกย่องวันเกิดของท่านนบีมุฮัมหมัด ดังนี้
- การดำเนินตาม การปฏิบัติในวันเกิดของท่าน คือ การถือศีลอดในวันจันทร์
- การมีความรักต่อท่านร่อซูล (ซ.ล.) เพราะการมีความรักต่อท่านร่อซูลนั้นคือ สิ่งที่แสดงถึง
การมีอีมาน ของเขา
- การกล่าวซอลาวาตต่อท่านนบี (ซ.ล.) ส่วนหนึ่งจากการให้เกียรติยกย่องและมีความรักต่อ
ท่านนบี คือ การกล่าวซอลาวาตต่อท่านนบี (ซ.ล.)
- การปฏิบัติตามคำสั่งใช้และการละเว้นที่จะปฏิบัติตามคำสั่งห้ามของท่านนบี
- ดำเนินตามแบบอย่างของท่านนบี (ซ.ล)
2. ประเพณีการถือศีลอด เป็นการละ การงด การระงับยับยั้ง การควบคุม ครองตน เช่น การละความชั่ว ยับยั้ง สิ่งต่างๆ ที่เกิดจากอารมณ์ฝ่ายต่ำ ส่วนความหมายในทางศาสนา หมายถึง การละเว้นการบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม การร่วมสังวาสระหว่างรุ่งสาง จนตะวันลับขอบฟ้า งดเว้นการพูดจาโกหก เหลวไหล ไร้สาระ เว้นจากการประพฤติชั่ว ทั้งโดยลับ และเปิดเผย ถือปฏิบัติตามแบบอย่างที่ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) ได้ทรงกำหนดไว้โดยให้ควบคุม พร้อมทั้งมือ เท้า หู ตา ใจ ลิ้น และอวัยวะทุกส่วน มิให้ใช้ไปในทางไร้สาระ
3. ประเพณีวันอีด มีจำนวน 2 วัน คือ
3.1 วันอีดิลฟิตรี เป็นวันแรกของการออกจากเทศกาลถือศีลอดของชาวมุสลิม (วันที่ 1 ของเดือนเชาวาล) เป็นวันแห่งรางวัลและการตอบแทนสำหรับผู้ที่ผ่านการทดสอบประจำปีในเดือนรอมมาฎอน ด้วยการบังคับ ตัวเองด้วยจิตศรัทธาที่มุ่งมั่น จากการกินดื่ม อยู่ในความสำรวมตนลดละกิเลสตัณหา และยืนฟังการอ่านอัลกรุอานในละหมาดตรอวีหฺเป็นเวลาเกือบหนึ่งชั่วโมงเต็มตลอดค่ำคืนของเดือนรอมมาฎอน พร้อมทั้งฝึกฝนด้านความโอบอ้อมอารีและความมีจิตเมตตาและกรุณาต่อผู้ที่ด้อยโอกาสและอ่อนแอกว่า ในช่วงเดือนรอมาฎอนเป็นเวลาหนึ่งเดือนเต็ม เพื่อขัดเกลาตนเองทั้งกายใจ ดังนั้นหลังจากที่พวกเขา สำเร็จออกจากเบ้าหลอมแห่งการทดสอบพร้อมกับจิตสำนึกแห่งมนุษยธรรมที่เปี่ยมล้น อิสลาม จึงประกาศให้วันนี้เป็นวันอีด (วันแห่งเทศกาลการเฉลิมฉลอง ) ที่ยิ่งใหญ่ของพวกเขาพร้อม กับสั่งให้มีการบริจาคทานแก่บรรดาผู้ที่ขัดสน ซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม "ซะกาตฟิฎเราะฮฺ" ควบคู่ไปกับการละหมาดอีด อัลลอฮได้ตรัสว่า ความว่า “แท้จริง ย่อมประสบความสำเร็จแล้ว นั่นคือผู้ที่ขัดเกลาตัวเองให้บริสุทธิ์ (ด้วยการถือศีลอดและบริจาคทาน)” และกล่าว(สรรเสริญ) พระนามของอัลลอฮฺ พร้อมทั้งดำรงการละหมาด(อีดิลฟิฏร)
3.2 วันอีดิลอัฎฮา คือ วันที่ 10 ของเดือนซุลหิจญะฮฺ ซึ่งเป็นวันที่ถัดจากวันอะเราะฟะฮฺหนึ่งวัน และเป็นวันส่งท้ายของสิบวันแรกของเดือนซุลหิจญะฮฺ ที่การปฏิบัติศาสนกิจในวันดังกล่าว จะมีความประเสริฐที่สุด และอัลลอฮจะพึงพอใจที่สุด เพราะเป็นวันหัจญ์อักบัร (หัจญ์ใหญ่) นบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) กล่าวว่า “ไม่มีวันใดๆ ที่การปฏิบัติ (ความดีและศาสนกิจ) จะเป็นที่ชอบใจของอัลลอฮฺมากกว่าการปฏิบัติในสิบวัน (แรกของเดือนซุลหิจญะฮฺ” วันที่ประเสริฐที่สุด ณ อัลลอฮฺ คือ วันนะหัร (วันอีดิลอัฎฮา) “ วันนะหัรฺคือวันหัจญ์อักบัรฺ” ถึงแม้ว่าอีดิลอัฎฮา (ซึ่งเป็นวันอีดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบปี และยิ่งใหญ่กว่าวันอีดิลฟิฏรฺ) อิสลามจึงได้ผนวกเอาวันที่ 9 ซุลหิจญะฮ หรือวันอะเราะฟะฮ และวันที่ 11-13 ซุลหิจญะฮ หรือวันตัชุรีก เข้ากับวันอีดิลอัฎฮาด้วย ดังนั้นเทศกาลวันอีดิลอัฎฮาจึงมีทั้งหมด 5 วัน ด้วยกัน ท่านบี (ซ.ล) กล่าวว่า “วันอะเราะฟะฮ วันเชือดกรุบาน (วันอีดิลอัฎฮา ) และวันตัชรีกทั้งสามเป็นวันดีของเราชาวมุสลิม เป็นวันแห่งการกินและดื่มเพียงแต่อิสลาม ส่งเสริมให้ชาวมุสลิมที่ไม่ได้ทำหัจญ์ถือศีลอดใน วันอะเราะฟะฮฺ นอกจากบรรดาฮุจญาต ที่กำลังทำพิธีกรรมอยู่ ณ ทุ่งอะเราะฟะฮ เท่านั้นที่ส่งเสริมให้กินดื่มในวันนี้ เพื่อที่จะได้มีแรง ในการปฎิบัติศาสนกิจอันหนักหน่วงในพิธีกรรมฮัจญ์
4. ประเพณีสงกรานต์ ซึ่งตรงกับวันที่ 13-16 เมษายน ของทุกปี โดยมีประเพณีที่สำคัญ คือ วันที่ 15 เมษายน มีการรดน้ำดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ เพื่อขอขมาลาโทษในสิ่งที่เคยล่วงเกิน และเป็นการแสดงความเคารพนับถือต่อบุพการี และบรรพบุรุษ เพื่อความเป็นสิริมงคลในชีวิตของลูกหลาน และมีประเพณีอื่นๆ อีกมากมาย เช่น มีการทำบุญตักบาตร ก่อเจดีย์ทรายเพื่อปักตุงล้านนา มีการสงฆ์น้ำพระ เป็นต้น
5. ประเพณีวันสารทเดือนสิบ เป็นงานบุญประเพณีของคนภาคใต้ของประเทศไทย ที่ได้รับอิทธิพลด้านความเชื่อ ซึ่งมาจากทางศาสนาพราหมณ์ โดยมีการผสมผสานกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนาเข้ามาในภายหลัง โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ให้แก่ดวงวิญญาณของบรรพชนและญาติที่ล่วงลับ ซึ่งเชื่อว่าได้รับการปล่อยตัวมาจากภูมินรก ที่ตนต้องจองจำอยู่เนื่องจากผลกรรมที่ตนได้เคยทำไว้ ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยจะเริ่มปล่อยตัวจากภูมินรกในทุก วันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 เพื่อมายังโลกมนุษย์ โดยมีจุดประสงค์ในการมาขอส่วนบุญจากลูกหลานญาติพี่น้อง ที่ได้เตรียมการอุทิศไว้ให้ เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ล่วงลับ หลังจากนั้นก็จะกลับไปยังภูมินรก ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10
6. ประเพณีเทศกาลชักพระ คือ ประเพณีทำบุญในวันออกพรรษา ซึ่งตรงกับ วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ซึ่งเชื่อกันว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้า เสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จมายังโลกมนุษย์ พุทธศาสนิกชนจึงมารอรับเสด็จ แล้วอัญเชิญพระพุทธ เจ้าขึ้นประทับบน บุษบกแล้วแห่ไปรอบเมือง
7. ประเพณีลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ประเพณีลอยกระทงนั้นมีมาแต่โบราณ โดยมีคติความเชื่อหลายอย่าง เช่น เชื่อว่าเป็นการบูชาและขอขมาแม่พระคงคา เป็นการสะเดาะเคราะห์ เป็นการบูชาพระเจ้าในศาสนาพราหมณ์ หรือเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท เป็นต้น
ปัจจุบันนี้สภาพสังคมในตำบล ยังคงยึดถือและปฏิบัติตามประเพณีที่เคยทำกันมาแม้ว่าวิถีชีวิตและวัฒนธรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นมาใหม่จากความทันสมัยของเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ต สังคมออนไลน์ต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิตดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม ความทันสมัยของเทคโนโลยีที่เข้ามามีทั้งข้อดีและข้อเสีย ที่ทำให้เกิดปัญหาต่างๆในสังคมมากมายโดยเฉพาะปัญหาเด็ก เยาวชน วัยรุ่น มีบุตรโดยไม่อยู่ในวัยอันควร เรียนไม่จบ ติดยาเสพติด ติดเกม หนีเรียน อันเนื่องมาจากการขาดการดูแลเอาใจใส่จากผู้ปกครอง ขาดความอบอุ่นจากครอบครัวหรือครอบครัวแตกแยกการเลี้ยงดูบุตรแบบวัตถุนิยม เป็นต้น การปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นที่จะต้องให้ประชาชนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย ยอมรับ และเรียนรู้ที่จะ เลือกสิ่งที่ดีเข้ามาในวิถีชีวิต และรักษาไว้ซึ่งประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามให้คงอยู่ สืบต่อถึงลูกหลานต่อไป
5. ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
อาชีพของประชาชนในตำบล
อาชีพส่วนใหญ่ของประชากรในพื้นที่ คือ ทำสวนยางพารา ปลูกไม้ผลยืนต้น และเลี้ยงสัตว์ ซึ่งจำแนกการกใช้พื้นที่ได้ดังนี้
- ทำสวนยางพารา 9,933 ไร่
- ทำนา 570 ไร่
- ทำไร่ 450 ไร่
- อื่นๆ 263 ไร่
จากการสำรวจชุมชน พบว่า ประชาชนที่อาศัยในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก อาชีพการเกษตรกรรมเป็นอาชีพดั้งเดิมของบรรพบุรุษสืบทอดต่อกันมาถึงลูกหลานในปัจจุบัน สำหรับประชาชนที่ประกอบอาชีพรองลงมา คือ ทำนา ทำไร่ และอื่นๆ รายได้โดยเฉลี่ยของประชากรในตำบลประมาณ รายได้เฉลี่ย คือ 55,000 บาท/คน/ปี
การเลี้ยงสัตว์
- ประเภทเชิงพาณิชย์ เช่น วัว โคเนื้อ แพะ แกะ มีทั้งที่เป็นฟาร์มขนาดใหญ่และ เลี้ยงในครัวเรือน
- ประเภทเพื่อบริโภคในครัวเรือนเช่น เป็ด ไก่ ปลา กบ โดยมากจะเลี้ยงตามธรรมชาติ
การค้าขาย
การค้าขายในตำบล เป็นอาชีพที่สร้างเงินสร้างรายได้ค่อนข้างดีพอสมควร เนื่องจากทำเลที่ตั้งอยู่ในเขตกึ่งเมืองกึ่งชนบทโดยเฉพาะที่เป็นร้านค้าขายของชำ/รวมถึงร้านขายอาหารประเภทอาหารตามสั่ง และเป็นธุรกิจค้าขาย ขนาดเล็ก-ขนาดกลาง ประชาชนมักไปใช้บริการมากกว่าเดินทางเข้าตัวเมือง
หน่วยธุรกิจในตำบลบ้านโหนด
- ธนาคาร - แห่ง
- โรงแรม - แห่ง
- ปั๊มน้ำมันหยอดเหรียญ 3 แห่ง
- โรงงานอุตสาหกรรม - แห่ง
- โรงสีขนาดเล็ก 3 แห่ง
- ร้านค้าทั่วไป 89 แห่ง
- ตลาดนัด 3 แห่ง
กลุ่มอาชีพเศรษฐกิจชุมชน
การดำเนินการกลุ่มอาชีพเศรษฐกิจชุมชน มีการจัดตั้งกลุ่ม การรวมกลุ่มอาชีพ กลุ่มเกษตรกร และการก่อเกิดอาชีพอย่างหลากหลายในตำบล โดยหลายภาคส่วนได้ส่งเสริมสนับสนุนกลุ่มอาชีพในหมูบ้าน ในการพัฒนาทั้งทักษะ/ความรู้ และข้อมูลการพัฒนางานหรือผลิตภัณฑ์ของทุกกลุ่มในตำบล
กลุ่มอาชีพที่มีอยู่ปัจจุบัน ได้แก่
กลุ่มเครื่องแกง บ้านโหนด หมู่ที่ 6 เริ่มจากการส่งเสริมการศึกษาต่อเนื่องของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสะบ้าย้อย โครงการ จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ หลักสูตรระยะสั้นการทำเครื่องแกง ให้กับกลุ่มแม่บ้าน ประชาชนทั่วไปและเมื่อเรียนจบหลักสูตรได้มีการผู้ที่สนใจรวมกลุ่มกันทำเป็นอาชีพขายส่งในชุมชนและตามร้านค้าต่างๆ มีสมาชิกที่รวมกลุ่ม 20 คน ระยะแรกกลุ่มมีปัญหาเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และด้านการตลาด ต่อมาสมาชิกในกลุ่มเพิ่มขึ้นและได้มีการปรับปรุงคุณภาพและรสชาติของเครื่องแกงให้มีความหลากหลายมากขึ้น มีบรรจุภัณฑ์สินค้าเป็นของฝากที่สวยงาม
กลุ่มขนมอาหาร เป็นกลุ่มแม่บ้าน หมู่ 3 จำนวน 20 คน ที่มีพื้นฐานความรู้ภูมิปัญญาด้านการทำขนม อาหารอยู่แล้ว เป็นการรวมกลุ่มกันเพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เริ่มจากการขายในชุมชนและหมู่บ้านใกล้เคียง ได้แก่ โดนัท ขนมเจาะหู จูจุ่น เป็นต้น เป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาด้านการจักสานของชุมชน มีนักศึกษา กศน.ในตำบลเข้ามาเรียนรู้เพื่อทำโครงงาน ในรายวิชาทักษะการประกอบอาชีพ ซึ่งครู กศน.ได้ใช้กลุ่มเป็นแหล่งเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษา กศน. และเป็นแหล่งศึกษาดูงานด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นของตำบลด้วย
แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคล ได้แก่
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
|
ความรู้ความสามารถ
|
ที่อยู่
|
1. นายบุญญพัฒน์ เรวัฒทูตานนท์
|
ด้านเศรษฐกิจพอเพียง
|
หมู่ที่ 6
|
2. นายบุญญพัฒน์ เรวัฒทูตานนท์
|
การปราชญ์ชาวบ้าน
|
หมู่ที่ 6
|
3.เจ้าอาวาสวัดบ้านโหนด
|
การปราชญ์ชาวบ้าน
|
หมู่ที่ 6
|
4.โต๊ะอีหม่ามมัสยิดบ้านห้วยบอน
|
การปราชญ์ชาวบ้าน
|
หมู่ที่ 2
|
5. นางแยนะ ยะพา
|
ด้านนวดแผนโบราณ
|
หมู่ที่ 1
|
แหล่งเรียนรู้ประเภทสถานที่/ชุมชน/กลุ่มทางเศรษฐกิจ/สังคม ได้แก่
ชื่อแหล่งเรียนรู้
|
ประเภทแหล่งเรียนรู้
|
ที่ตั้ง
|
1. วัดบ้านโหนด
|
โบราณสถาน
|
หมู่ 6
|
2. น้ำตกเวฬุวัน (น้ำพระไม้ไผ่)
|
แหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติ
|
หมู่ 2
|
3. วัดนาม่วง
|
โบราณสถาน
|
หมู่ 4
|
4. กลุ่มเครื่องแกง
|
วิสาหกิจชุมชน
|
หมู่ 6
|
5. กลุ่มเห็ดแครง
|
วิสาหกิจชุมชน
|
หมู่ 6
|
6. กลุ่มผลิตน้ำดื่มชุมชนบ้านโหนด
|
วิสาหกิจชุมชน
|
หมู่ 2
|
7.กลุ่มแปรรูปการแฟโรบัสต้า
|
วิสาหกิจชุมชน
|
หมู่ 6
|
แหล่งสนับสนุน ทุน/งบประมาณ ประเภทองค์กร ได้แก่
ภาคีเครือข่าย
|
การสนับสนุน
|
ที่อยู่/ที่ตั้ง
|
1.องค์การบริหารส่วนตำบล
|
อนุเคราะห์สถานที่/วิทยากร
|
หมู่ 2
|
2.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล
|
อนุเคราะห์สถานที่/ช่วยกิจกรรมกศน.
|
หมู่ 2,3
|
3.วัดบ้านโหนด/วัดนาม่วง
|
อนุเคราะห์สถานที่/วิทยากร
|
หมู่ 6,4
|
4.,มัสยิดทั้ง 4 ที่
|
อนุเคราะห์สถานที่/วิทยากร
|
หมุ่ 1,2,5,6
|
5.กลุ่มอสม./กลุ่มผู้สูงอายุฯ/กลุ่มอาชีพ ฯลฯ
|
ประชาสัมพันธ์ช่วยกิจกรรมกศน.
|
หมู่ 1-7
|
การท่องเที่ยวและการบริการ
ตำบลบ้านโหนด มีศักยภาพทางด้านท่องเที่ยว ทั้งในด้านปูชนียสถานและด้านแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณวัตถุ และที่สำคัญที่สุดซึ่งนับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์และสร้างชื่อเสียงเป็นอย่างยิ่ง ได้แก่ น้ำตกพระไม้ไผ่ซึ่งทางองค์การบริหารส่วนตำบลกำลังเร่งบูรณะ ปรับปรุงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามของตำบลต่อไป ในด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวของ ตำบลบ้านโหนด มีมิติและแผนงานที่จะเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวของตำบลกับการพัฒนาสินค้าของที่ระลึกของกลุ่มอาชีพ และกลุ่มสตรีโดยพัฒนาศูนย์/ลานแสดงสินค้าที่อยู่บริเวณน้ำตกฯให้สวยงาม เหมาะสมต่อไป
การเงินการธนาคาร
ในตำบลบ้านโหนด มีกองทุนหมู่บ้าน/ธนาคารหมู่บ้าน รวมถึงกลุ่มเครือข่ายที่รวมตัวกันเพื่อส่งเสริมการออมอยู่หลายกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มก็มีบทบาทที่แตกต่างกัน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณแต่ละยุค แต่ละสมัยตามแต่นโยบายของรัฐบาล โดยแต่ละกลุ่มมักประสบปัญหาหลายๆอย่าง เช่น การขาดความรู้ด้านการจัดการอย่างเป็นระบบ และขาดระบบการจัดการที่ทันสมัย รวมทั้งชาวบ้านขาดรากฐานด้านการออม สภาพปัญหาที่พบ คือไม่มีระบบการบริหารจัดการที่ดี ขาดความรู้ ความชำนาญ การสูญหนี้
การไฟฟ้า
การบริการไฟฟ้าในเขตตำบลบ้านโหนด อยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอสะบ้าย้อย โดยปัจจุบันในทุกหมู่บ้านมีกระแสไฟฟ้าใช้ และครัวเรือนในพื้นที่ส่วนใหญ่มีไฟฟ้าใช้ แต่ในพื้นที่บางส่วนที่อยู่ห่างไกลอยู่ในเขตพื้นที่ทุรกันดาร องค์การบริหารส่วนตำบลได้ดำเนินการประสานงานขอขยายเขตไฟฟ้าไปแล้ว ในด้านไฟฟ้าสาธารณะ (จุดส่องสว่าง) ในตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโหนด ได้วางแผน/จัดสรรเงินงบประมาณประจำปีเพื่อดำเนินการติดตั้งเพิ่มเติมและปรับปรุงจุดส่องสว่างสาธารณะในตำบลไว้แล้ว
การประปา
ตำบลบ้านโหนด ที่มีโครงการระบบประปาหมู่บ้านเพื่ออุปโภคบริโภคทุกหมู่บ้าน แต่ด้วยระบบที่มีอยู่เดิมชำรุด ทำให้ต้องประสบปัญหาการจัดหาน้ำของระบบประปา นับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดของตำบลบ้านโหนด จึงจำเป็นต้องพึ่งตนเองด้วยการขุดเจาะน้ำบาดาล แต่ต้องพบกับปัญหาคุณภาพของน้ำที่ไม่ดีมีสารเคมีปนเปื้อนจากการทำการเกษตรประชาชนในพื้นที่
๖. ข้อมูลด้านการศึกษา
ตำบลบ้านโหนด มีสถานศึกษารวมทั้งหมด ๗ แห่ง ในแต่ละสถานศึกษาที่อยู่ในเขตตำบลบ้านโหนด ดังนี้
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4 แห่ง คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกะเชะ, บ้านห้วยบอน,
นาม่วงและนากัน
- โรงเรียนประถมศึกษา 3 แห่ง ดังนี้
1. โรงเรียนบ้านห้วยบอน หมู่ที่ 2
2. โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน หมู่ที่ 3
3. โรงเรียนบ้านนาม่วง หมู่ที่ 4
- กศน.ตำบลบ้านโหนด สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบตามอัธยาศัย (กศน.)จำนวน ๑ แห่ง
- ตั้งอยู่ ณ อาคารอนามัยเก่าบ้านห้วยบอน หมู่ 2 ตำบลบ้านโหนด อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
๗. ข้อมูลด้านสาธารณสุข
สถานพยาบาล
ประเภทสถานพยาบาล
|
แห่ง
|
โรงพยาบาลรัฐ
|
-
|
โรงพยาบาลเอกชน
|
-
|
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)
|
2
|
คลีนิก
|
-
|
อื่น ๆ
|
-
|
จากตาราง พบว่าในตำบลบ้านโหนด มีสถานพยาบาลในชุมชน คือ รพ.สต. จำนวน 2 แห่ง
เข้าชม : 847 |