[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

  

เครือข่ายจัดการศึกษานอกโรงเรียน
วัดถ้ำตลอด

อังคาร ที่ 27 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2559


วัดถ้ำตลอด
ประวัติและความเป็นมา
ก่อนจะมาเป็นวัดถ้ำตลอดที่โยงใยกับรัฐลังกาสุกะ  ซึ่งเป็นรัฐที่เก่าแก่และเจริญที่สุดในคาบสมุทร มลายา  ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่  1  หรือ  ต้นคริสต์ศตวรรษที่  ระหว่าง  ค.. 80-100  หรือ  ประมาณ  พ.. 623 – 643  หรืออาจจะตั้งมาก่อน คริสต์ศตวรรษก็ได้  มีการเรียกหลายชื่อ  กล่าวคือ  จีน  เรียกว่า  หลางหยาสิว  LANG  YA  HSIU  หลางซีเจีย  LANG  SHI  CHIA  หลางหยาซู  LANG  YA  HSIU  หลางหยาLANG  YA  อารับ  เรียกว่า  ลันกอซูกา  ลังกอซูกา  อินเดีย  เรียกว่า  อิลังกาโสกา LANG  KAH  SUKA
                คำว่า  ลังกาสุกะ  มาจากภาษามลายูคำว่า  LANG  KAH  SUKA แปลว่า  มีความสุขสำราญ  สนุกสนานอย่างมาก  อาณาเขตของลังกาสุกะ  ครอบคลุมดินแดนต่างๆ  ทางฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรมลายูด้านอ่าวไทย  ตั้งแต่สงขลาถึงกลันตัน  ทางฝั่งตะวันตกด้านอ่าวเบงกอลจดเกดาห์  ทางทิศใต้ถึงสิงคโปร์  ทางทิศเหนือจดนครศรีธรรมราช  หรือจดประเทศพันพัน/พานพาน/น่าจะเป็นอำเภอพุนพิน          จ.สุราษฎร์ธานี  ประวัติศาสตร์นี้ได้จากนักประวัติศาสตร์ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ที่ได้บันทึกเอาไว้ในประเทศจีน  ชื่อว่า  เหลียงซู
                เหลียงซู  นักประวัติศาสตร์ชาวจีนได้บันทึกไว้ว่า  หลางหยาสิว  ตั้งอยู่ทางทะเลใต้  หนานไห่มีอาณาเขตจากพรมแดนตะวันออกถึงพรมแดนทิศตะวันตกใช้เวลาเดินทางด้วยเท้า  30  วัน  จากพรมแดนทิศเหนือถึงพรมแดนทิศใต้ใช้เวลาเดินทางด้วยเท้า  20  วัน  อยู่ห่างจากกวางเจา  (กลางตุ้ง) 24,000 ลี้  ภูมิประเทศและผลผลิตคล้ายประเทศฟูนัน (FUNAN)  เส้นทางคมนาคมทางบกระหว่างฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรมลายาถึงรัฐลังกาสุกะ  ใช้ช้างเป็นพาหนะโดยใช้เลียบลำน้ำเป็นแนวทางสำคัญ  เส้นทางที่ใช้มี  2  เส้นทาง  และทั้งสองเส้นทางใช้เวลาเดินทางประมาณ  1  เดือน  25  วันจากเมืองหลวงที่บ้านกรือเซะ CKERSIK  สู่ยะรัง  เมืองลังกาสุกะเดิม  ผ่าน  บ.ยาบี  - บ.โคกหมัก-.ปรักปรือ อ.หนองจิก สู่ บ.แม่กัง บ.ยางแดง  อ.โคกโพธิ์  ผ่านช่องเขา  บ.นาค้อ- บ.ป่าลาน.ป่าบอน  ข้ามช่องเขาสันกลาคีรี  สู่ บ.ควนหินกอง บ.คูหา  บ.ถ้ำตลอด .สวนชาม  อ .สะบ้าย้อย  เข้าสู้เมืองไทรบุรี  โดยคาดว่าออกทางบ.ทุ่งไทรแจ้ ม.5.เขาแดง  อ.สะบ้าย้อย  จ.สงขลา  มีเนื้อที่ตั้ง  วัดได้ประมาณ  20  ไร่ ฯลฯ  วัดถ้ำตลอด ตั้งอยู่  ม.6 .เขาแดง  อ.สะบ้าย้อย  จ.สงขลา  มีเนื้อที่ตั้ง  วัดได้ประมาณ  20  ไร่  88  ตารางวา  ไม่รวมด้านหน้าวัด  14  ไร่  3  งาน  14  ตารางวา 
วัดถ้ำตลอดมีเจ้าอาวาสปกครองวัดเท่าที่พอจำความได้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้ดังนี้
1.             พ่อท่านแก่นจันทร์                      มรณภาพ
2.             พ่อท่านยอด                                  มรณภาพ
3.             พ่อท่านแก้ว                                  มรณภาพ
4.             พ่อท่านพุธ                                    มรณภาพ
5.             พ่อท่านเสาร์                                 มรณภาพ
6.             พ่อท่านหนู                                   มรณภาพ
7.             พ่อท่านปาน  (หมวก)                ลาสิกขา
8.             พ่อท่านทองแก้ว (เดิมพรม)      ลาสิกขา
9.             พ่อท่านเอียด (จากคลองทราย) ลาสิกขา
10.      พ่อท่านชม (ช่วยประสม)         ลาสิกขา
11.      พ่อท่านชุ่ม                                    ย้ายไปอยู่วัดเขตตาราม  (ทุ่งข่า)
12.      พ่อท่านอินทร์  (คงสุวรรณ)      ลาสิกขา
13.      พ่อท่านติ  (ศรีทวีวัฒน์)             ลาสิกขา
14.      พ่อท่านทองแก้ว (เดิมพรม)      ลาสิกขา
15.      พระครูกุศลธรรมธาดา (วุ่น)     มรณภาพ
16.      พระปลัดกล้าย  ญาณสำโร        ผู้ช่วยเจ้าอาวาส  แต่งตั้งเมื่อวันที่ 1  ตุลาคม  2534
17.      พระปลัดกล้าย  ญาณสำโร  (ไชยชาย)  แต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส  เมื่อวันที่  25  เมษายน  พ..2548
ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดถ้ำตลอด  ม.6  ต.เขาแดง  อ.สะบ้าย้อย  จ.สงขลา  จนถึงปัจจุบัน
                วัดถ้ำตลอดเป็นวัดเก่าแก่เท่าที่พอค้นประวัติมาได้เมื่อประมาณ  พ..2219  แต่คงจะสร้างมาก่อนหน้านั้นอีก  ได้รับวิสุงคามสีมาตั้งแต่  พ.. 2275  รวมอายุวัดเท่าที่พอค้นคว้าได้  334  ปี  วัดถ้ำตลอดมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาหิน  มีถ้ำน้อยใหญ่มากมายอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้ที่หายากนานาชนิด  ว่านยาต่างๆ  นานาพันธุ์  และยังเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์  โบราณสถานสำคัญทางพระพุทธศาสนาหลายแห่งรอบๆ บริเวณวัดถ้ำตลอด  หนึ่งในนั้นคือ  ถ้ำสถานที่ที่หลวงปู่ทวดเคยใช้นั่งวิปัสสนา  เมื่อคราวที่หลวงปู่ทวดท่านยังมีชีวิตอยู่  ปฏิบัติภารกิจของพระสงฆ์ผู้ละแล้วเรื่องทางโลก  มุ่งสู่ทางธรรมเพื่อตามรอยของสมเด็จองค์พระสัมมนาสัมพุทธเจ้า  ถ้ำที่ท่านใช้นั่งวิปัสสนา  มีชื่อเรียกตามภาษาชาวบ้านว่าถ้ำคอก  หรือถ้ำหลวงปู่ทวด  ซึ่งปรากฏหลักฐานอยู่จนทุกวันนี้  ถ้ำคอกหรือถ้ำหลวงปู่ทวด    เป็นภูเขาหินขนาดใหญ่สวยงามมาก  ถ้ำสูงจากพื้นดินประมาณ 30-40  เมตร  ทางเข้าถ้ำจะมีต้นไม้ไทรขนาดใหญ่สองต้น  เป็นเขตบอกประตูเข้าถ้ำหรือเขตบริเวณถ้ำคอก  บริเวณนั้นจะเป็นที่ราบเรียบมีต้นไม้น้อยใหญ่  ให้ความร่มรื่นมากมายเหมาะแก่การทำสถานปฏิบัติธรรม  รอบบริเวณนั้นจะเป็นกำแพงภูเขาหินหน้าผาสูงกั้นเอาไว้ทั้งสามด้านชาวบ้านจึงเรียกกันว่าถ้ำคอก  จากปากทางต้นไทรใหญ่เดินตรงไปประมาณเกือบ300  เมตร  ก็จะถึงบันไดทางขึ้นหลวงปู่ทวด  เป็นบันไดไม้ประมาณ  80  กว่าขั้น  ซึ่งท่านพระอาจารย์กล้ายญาณสำโร  เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันท่านได้สร้างเอาไว้ให้ผู้มีจิตศรัทธาขึ้นไปกราบไหว้บูชา  องค์หลวงปู่ทวด  รูปหล่อตัวแทนขององค์ท่านภายในถ้ำคอด  หรือถ้ำหลวงปู่ทวดที่ท่านพระอาจารย์ปลัดกล้าย  ญาณสํวโร  ได้อันเชิญรูปเหมือนของท่านขึ้นไปประดิษฐาน  ณ  ที่ท่านเคยนั่งวิปัสสนา  บนถ้ำคอก  หากมองดี ๆ   จะพบก้อนหินขนาดใหญ่  บนก้อนหินนั้นจะเห็นเป็นหลุมลึก  คล้ายๆกับครกโบราณ  หรือหินบดยาในสมัยก่อน  มีสากหินนั้นและตัวอักษรเขียนด้วยหินสีโบราณ  เป็นลายมือของท่านหลวงปู่ทวด  ท่านเขียนชื่อของท่านเอาไว้ว่า  สมเด็จพระราชมุณีสามิราโมคุณูปจารย์
 
 

 

                ต่อมาภายในหลังมีคนขโมยสากหินไป  และร่องรอยเขียนสีโบราณชื่อของท่านคนที่ขึ้นไป  และได้ลูบชื่อของท่าน  หรือไม่ก็เขียนชื่อตนเองทับชื่อของท่าน  จนชื่อท่านเลือนรางไปในที่สุด  ณ  ถ้ำคอกแห่งเดียวกันนี้  คราวสมัยอาจารย์ทิมวัดช้างไห้  ได้เคยใช้เป็นที่วิปัสสนาจนบรรลุโพธิญาณและท่านก็ได้เก็บของว่านยาต่างๆ  กลับไปวัดช้างได้เพื่อจัดสร้างพระหลวงปู่ทวดรุ่นแรก  พ..  2497  จนมีชื่อเสียงโด่งดังมาจนถึงทุกวันนี้
                ปัจจุบันพระอาจารย์ปลัดกล้าย  ญาณสํวโร  ก็ยังใช้ถ้ำแห่งนี่เป็นที่สงบจิตวิปัสสนาอยู่บ่อยครั้ง  นอกจากนี้ภายในวัดถ้ำตลอดยังมีโบราณวัตถุและโบราณสถานอยู่หลายแห่ง  ถ้ำและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มากมาย  ชาวบ้านในแถบตำบลเขาแดงและเขตอำเภอใกล้เคียง  ให้ความเคารพศรัทธาทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ  อย่างเช่นถ้ำพระนอนใหญ่ภายในวัดถ้ำตลอดซึ่งอยู่ด้านล่างใต้ภูเขาวัดถ้ำตลอดมีลักษณะเป็นห้องโถงใหญ่  ซึ่งบรรจุคนได้หลายร้อยคน  จะมีบันไดขั้นไปนมัสการพระนอนองค์ใหญ่หรือพระปางไสยยาตร์อยู่ภายในถ้ำ  อายุราวๆ  ประมาณ 300  กว่าปี  สร้างเมื่อคราวสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง  รอบพระนอนจะเป็นพระเรียงรายล้อมรอบ  ชาวบ้านเชื่อกันว่าคงจะสร้างในคราวหลวงปู่ทวดท่านยังมีชีวิติอยู่  ออกจากห้องโถงใหญ่เดินตรงขึ้นไปทางทิศใต้ประมาณ  30-40  เมตร  ก็จะพบถ้ำอีกแห่งหนึ่งที่มีรูปปั้นยักษ์หรือพ่อท้าวเวสสุวรรณ  ยืนถือกระบองอยู่หน้าถ้ำ  ข้างๆ  รูปปั้นยักษ์ตามหินที่เชิงหน้าผา  ถ้าสังเกตดูดีๆ  จะเห็นรูปแกะสลักหินเป็นรูปสัตว์และรูปคนอยู่ทั้งสองข้าง  แต่ถ้าเราเงยแหงนหน้าขึ้นไปมองข้างบนเชิงหน้าผา  เราก็จะเห็นพระพุทธรูป  ปูนปั้นเรียงรายอยู่เต็มตายาว  ของหน้าผานั้น  แต่ถ้าหากว่าเราเดินดูพระพุทธรูปที่ตามหน้าผา  เข้าไปข้างในนิดหนึ่งมองที่เพดานถ้ำ  เราสังเกตดูจะเห็นรอยเขียนสีเป็นรูปลายกงจักรและดอกบัว  แต่ถ้าเราเดินตรงไปภายในถ้ำ  หลังรูปปั้นยักษ์หรือพ่อท้าวเวสสุวรรณ  ขึ้นบันไดไปเราก็จะพบพระพุทธรูปปูนปั้นเก่าแก่อายุมากกว่าพันปีอยู่ภายในถ้ำ  เป็นพระพุทธรูปปางไสยยาตร์  ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดภายในวัด  และยังมีรูปปั้นทวดโต๊ะหยัง  ซึ่งชาวบ้านในแถบนั้นให้การเคารพว่าศักดิ์สิทธิ์มาก  แต่ถ้าหากเราเดินตรงไปออกประตูด้านในพระนอนเก่าแก่  ก็จะเป็นถ้ำห้องโถงใหญ่ให้เราได้เดินเที่ยวชมภายใน  แต่ถ้าหากเราเดินไปเรื่อยๆก็จะทะลุออกตรงหน้าถ้ำพระพุทธรูปปางไสยยาตร์  องค์ใหญ่พอดี  นอกจากนี้บนเชิงเขาข้างบน  ยังมีพระอุโบสถเก่าแก่ที่อยู่บนเขา  มีอายุราวๆ  500  กว่าปี  และยังสามารถมองวิวชมทิวทัศน์จากข้างบนพระอุโบสถ  จะเห็นหมู่บ้านถ้ำตลอดได้อย่างสวยงามแปลกตาอีกอย่างหนึ่ง
 

                บริเวณวัดถ้ำตลอดจะมีถ้ำอยู่หลายแห่งที่มีความแปลกตาและสวยงาม  เข้ากับธรรมชาติได้เป็นอย่างดี  อย่างเช่น  ถ้ำกองทราย  ถ้ำบ้านแกะยาง  ถ้ำหลายแห่งมากมายที่น่าจะศึกษาค้นคว้า  และก็ยังมี ถ้ำอีกหลายลูก  ภายในบริเวณนั้นที่ชาวบ้านได้พบของเก่า พระเก่า  ของใช้เก่าๆ  ของคนโบราณ  ซึ่งในตอนนี้ทางกรมศิลปกรได้เข้ามาทำการสำรวจและขุดค้น  ศึกษาความเป็นมาของชุมชนโบราณอยู่ในขณะนี้  ภายในเขตวัดถ้ำตลอดและใกล้เคียง  เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาอนุรักษ์และรักษาเอาไว้  ซึ่งโบราณสถานและวัตถุโบราณต่างๆ  ที่มีค่าทางประวัติศาสตร์และทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง  สมควรที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่ยากจะหาค่าได้  สมควรที่พวกเราลูกหลานชนรุ่นหลัง  ควรจะอนุรักษ์เอาไว้ตราบนานเท่านาน

รูปปั้นทวดโต๊ะหยัง  




                 จากการบอกเล่าว่า  ถ้ำอีกแห่งที่มีรูปปั้นยักษ์หรือพ่อท้าวเวสสุวรรณ  ยืนถือกระบองอยู่หน้าถ้ำ  ข้างๆ  รูปปั้นยักษ์ตามหินที่เชิงหน้าผา  ถ้าสังเกตดูดีๆ  จะเห็นรูปแกะสลักหินเป็นรูปสัตว์และรูปคนอยู่ทั้งสองข้าง  แต่ถ้าเราเงยแหงนหน้าขึ้นไปมองข้างบนเชิงหน้าผา  เราก็จะเห็นพระพุทธรูป  ปูนปั้นเรียงรายอยู่เต็มตายาว  ของหน้าผานั้น  แต่ถ้าหากว่าเราเดินดูพระพุทธรูปที่ตามหน้าผา  เข้าไปข้างในนิดหนึ่งมองที่เพดานถ้ำ  เราสังเกตดูจะเห็นรอยเขียนสีเป็นรูปลายกงจักรและดอกบัว  แต่ถ้าเราเดินตรงไปภายในถ้ำ  หลังรูปปั้นยักษ์หรือพ่อท้าวเวสสุวรรณ  ขึ้นบันไดไปเราก็จะพบพระพุทธรูปปูนปั้นเก่าแก่อายุมากกว่าพันปีอยู่ภายในถ้ำ  เป็นพระพุทธรูปปางไสยยาตร์  ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดภายในวัด  และยังมีรูปปั้นทวดโต๊ะหยัง  ซึ่งชาวบ้านในแถบนั้นให้การเคารพว่าศักดิ์สิทธิ์มาก   ไม่มีคนเล่ามาก่อนว่าทำไมจึงได้มาอยู่ร่วมกัน   แต่เล่ามาว่าท่านแก่นจันทร์ตั้งวัดแข่งกับทวดหยัง(คนมาลายู)  ทวดหยังตั้งวัดในถ้ำ  แต่ท่านแก่นจันทร์ตั้งข้างนอก   


ถ้ำตลอด(ถ้ำหลอด)
         ถ้ำตลอด(ถ้ำหลอด)    เป็นเส้นทางภายในถ้ำที่ใช้เดินตรงไปออกประตูด้านในพระนอนเก่าแก่  ซึ่งจะเป็นถ้ำห้องโถงใหญ่ให้เราได้เดินเที่ยวชมภายใน  แต่ถ้าหากเราเดินไปเรื่อยๆก็จะทะลุออกตรงหน้าถ้ำพระพุทธรูปปางไสยยาตร์  องค์ใหญ่พอดี 
 

 
 
พระอุโบสถบนชะง่อนหิน
        เป็นพระอุโบสถเก่าแก่ที่อยู่บนเขา  มีอายุราวๆ  500  กว่าปี  และยังสามารถมองวิวชมทิวทัศน์จากข้างบนพระอุโบสถ  จะเห็นหมู่บ้านถ้ำตลอดได้อย่างสวยงามแปลกตาอีกอย่างหนึ่ง  แต่ไม่มีที่มาว่าทำไมจึงสร้างที่บนหินมีเพียงการบอกเล่ามาว่าท่านแก่นจันทร์ตั้งวัดแข่งกับทวดหยัง(คนมาลายู)  ทวดหยังตั้งวัดในถ้ำ  แต่ท่านแก่นจันทร์ตั้งข้างนอก   โดยย้ายจากที่เดิม  สาเหตุว่าเกิดมาจากฟ้าผ่าทำให้ยอดเจดีย์ด้วน
 
 

 



เข้าชม : 3757


เครือข่ายจัดการศึกษานอกโรงเรียน 5 อันดับล่าสุด

      ประชุม คณะกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมเสริมสร้างวิถีประชาธิปไตยระดับตำบล ครั้งที่1 ไตรมาสที่2 22 / เม.ย. / 2567
      มอบของขวัญ เนื่องในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2567 โดยมี นางบุญเนือบ ไชยขวัญ รองนายกอบต.เขาแดง และตัวแทนผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 6 บ้านถ้ำตลอด เป็นผู้รับมอบและให้การต้อนรับ 22 / เม.ย. / 2567
      โครงการเยี่ยมไข้คนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์ 1 / ก.พ. / 2560
      จิตอาสาพัฒนาบ้านเกิด 27 / ธ.ค. / 2559
      จุดพักศพหลวงปู่ทวด 27 / ธ.ค. / 2559


 
ศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบลเขาแดง
หมู่ที่ 6 ตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา  โทรศัพท์ 089-5947172, 090-1641327
kun.yang315
@gmail.com 
https://www.facebook.com/กศนตำบลเขาแดง
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05