ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอสิงหนคร เครื่องปั้นดินเผา
..ภูมิหลังความเป็นมาของภูมิปัญญา..
- ดำเนินการมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษมีการสืบทอดกันมา โดยพ่อแม่เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้ทำมาตั้งแต่เด็ก
..ประวัติการปั้นหม้อ..
การทำเครื่องปั้นดินเผาในสมัยโบราณนั้นอาจจะทำกันเฉพาะใช้ในครัวเรือน แต่เมื่อเวลาผ่านมาผู้คนเริ่มไปมาหาสู่กันมากขึ้นจากหมู่บ้านหนึ่ง ไปสู่หมู่บ้านหนึ่ง
บ้านสทิงหม้อ เป็นหมู่บ้านเล็กๆอยู่ในเขตอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานแล้ว คำว่า “สทิง” เพี้ยนมาจาก “สทึง” แปลว่า คลองหรือแม่น้ำโดยรวมแล้วก็คงแปลว่า บ้านคลองหม้อ หรือบ้านที่มีการปั้นหม้อมากนั่นเอง
นักโบราณคดีได้สันนิษฐานว่าชาวบ้านสทิงหม้อเป็นผู้คนที่อพยพมาจากชุมชนโบราณสทิงพระ (ภายหลังการล่มสลายชุมชนโบราณสทิงพระ) ตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น แล้วมาตั้งบ้านเรือนอยู่แถบริมทะเลสาบสงขลา
กลุ่มชนที่อพยพมามีความชำนาญในการปั้นหม้ออยู่แล้ว เมื่อย้ายบ้านมาอยู่ที่บริเวณนี้ก็ยังคงประกอบอาชีพเดิม จนทำให้ชุมชนสทิงหม้อเป็นชุมชนนักปั้นหม้อส่งขายให้แก่ชุมชนต่างๆ ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงตลอดมา
มีตำนานเล่าว่า ราษฎรในหมู่บ้านมีอาชีพปั้นดินแล้วนำมาเผา ซึ่งสิ่งที่ปั้นทั้งหมดนั้นจะเป็นภาชนะที่ใช้ในครัวเรือน เมื่อปั้นและเผาเสร็จจะบรรทุกเรือ นำไปเร่ขายในหมู่บ้านใกล้เคียง คนในหมู่บ้านนี้มีความภาคภูมิใจในฝีมือการปั้นมาก ว่ามี "สทิง" ซึ่งแปลว่า สวยงาม จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า "สทิงหม้อ"
...แก่นและคุณค่าของภูมิปัญญา(ที่มีต่อชุมชน)...
1) เป็นแหล่งศึกษาดูงาน เรียนรู้ ก่อให้เกิดเศรษฐกิจ
2) สร้างเศรษฐกิจชุมชน
...กระบวนการ หรือแนวปฏิบัติของภูมิปัญญาท้องถิ่น...
1) นำดินเหนียวจากตำบลปากรอ ผสมกับดินของตำบลสทิงหม้อ และผสมกับทรายนำมาเหยียบด้วยเท้า เสร็จแล้วเข้าเครื่องบด
2) ขึ้นรูปปั้นตามรูปทรงที่ต้องการ ผึ่งลมเอาไว้ 2 อาทิตย์
3) เอาเข้าเตาเผาประมาณ 1 อาทิตย์
4) นำไปจำหน่าย
..กลุ่มเครื่องปั้นดินเผา....
นางปลื้มใจ เกษตรสุนทร
บ้านเลขที่ 26 หมู่ที่ 4
ตำบลสทิงหม้อ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
เข้าชม : 3675
|