วันอานันทมหิดล
วันอานันทมหิดล 9 มิถุนายนของทุกปี
พระราชประวัติ วันอานันทมหิดล
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระราชสมภพ เมื่อวันอาทิตย์ขึ้น 2 ค่ำเดือน 11 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมือง ไฮเดเบอร์ก ประเทศเยอรมัน ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สอง ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชนก (ขณะนั่นดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชกรมขุนสงขลานครินทร์) และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (ขณะนั่นทรงเป็น หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา) เมื่อพระชนมายุ 3 พรรษา ได้เสด็จกลับประเทศไทยพร้อมด้วยพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนี โดยเสด็จประทับ ณ วังสระปทุม ในปีต่อมาได้ทรงศึกษาชั้นอนุบาล ณ โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย 2 ปี แล้ว จึงเสด็จไปประทับต่อ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
เมื่อ เปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2475 ต่อมาภายหลัง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2477 สภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลในขณะนั้นมีมติเห็นชอบให้อัญเชิญ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล (พระยศขณะนั้น) ขึ้นครองราชย์สืบราชสันติวงศ์ เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล” เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 แต่ในขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา จึงต้องทรงมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งได้แก่พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภา และเจ้าพระยายมราช ทำการบริหารแผ่นดินแทนจนกว่าจะทรงบรรลุนิติภาวะ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้เสด็จนิวัตกลับประเทศไทยเป็นครั้งแรกหลักจากขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ซึ่งขณะนั้นทรงมีพระชนมายุได้ 13 พรรษา การเสด็จนิวัตรครั้งนี้โดยทางเรือชื่อ มีโอเนีย พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอและสมเด็จพระอนุชา ซึ่งเมื่อเสด็จถึงปีนัง ได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์สเตรทเอคโค ดังมีข้อความตอนหนึ่งว่า
“ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีที่จะได้เดินทางกลับสู่ประเทศอันเป็นที่รักของข้าพเจ้า และในอันที่จะได้เห็นประชาราษฎร์ของข้าพเจ้าเอง”
ตลอด ระยะเวลา 2 เดือน ที่ทรงเสด็จประทับอยู่ในเมืองไทย ได้ทรงออกเยี่ยมราษฎรในที่ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสเฝ้าชมพระบารมีอย่างใกล้ชิด จากนั้นได้ทรงเสด็จกลับไปศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 การคมนาคมติดต่อเป็นไปโดยลำบากพระองค์ท่านจึงไม่ทรงมีโอกาสติดต่อกับประเทศ ไทย เมื่อสงครามสงบ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ซึ่งขณะนั้นกำลังศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์และเหลือเวลาอีกประมาณ 3 ปี จะทรงได้รับปริญญาเอกจึงเสด็จ นิวัติกลับประเทศไทยอีกครั้ง เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2488 ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุได้ 21 พรรษา ซึ่งทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว
ในการเสด็จนิวัตเมืองไทยครั้งนี้ เดิมทรงตั้งพระราชหฤทัยจะประทับอยู่ในเมืองไทยเพียง 1 เดือนจากนั้นจะเสด็จพระราชดำเนินกลับสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อให้ทันการเปิดภาคเรียนใหม่ในกลางเดือนมกราคมแต่เนื่องจากทรงมีพระราช กรณียกิจในฐานะประมุขของประเทศ มากมาย ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นของชาติและพสกนิกร ทำให้ทรงเลื่อนเวลาที่จะเสด็จพระราชดำเนินกลับสวิตเซอร์แลนด์ออกไปเป็นวัน ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.2489
น้อมรำลึก วันอานันทมหิดล 9 มิถุนายน วันอานันทมหิดล
พระราชภารกิจ
ทรงเสด็จออกรับการตรวจพลสวนสนามของฝ่ายพันธมิตรในประเทศไทยพร้อม ด้วยลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบตเตน แม่ทัพใหญ่ของอังกฤษ อันเป็นผลให้ภาพพจน์และฐานะของประเทศเป็นที่ยอมรับแก่ประเทศทางตะวันตกที่ เป็นฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งก่อนหน้านี้ฐานะของประเทศไทยไม่ค่อยสู้ดีนักเนื่องจากในระหว่างสงคราม โลก ประเทศต้องอยู่ในภาวะจำยอมที่ต้องให้ความร่วมมือแก่กองทัพญี่ปุ่นซึ่งเป็น ฝ่ายอักษะ ทำให้เมื่อสงครามสงบแล้ว มีประเทศพันธมิตรหลายชาติไม่พอใจและถือโอกาสข่มขู่ไทย
การพระราชทานวินิจฉัยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2489 ให้ใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศในวันเสด็จเปิดสภาผู้แทนราษฎร
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง จีนกลายเป็นประเทศมหาอำนาจที่อยู่ข้างฝ่ายชนะสงครามทำให้ชาวจีนบางกลุ่มที่ อาศัยอยู่ในเมืองไทยทำการเรียกร้องสิทธิบางประการจากรัฐบาลไทย ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างชาวไทยกับจีน จนถึงขั้นก่อความไม่สงบและมีการรุมทำร้ายร่างกายคนไทยที่เรียกว่า “เสียพะ” อยู่เนือง ๆ เหตุการณ์นี้ได้ทวีความรุนแรงและขยายพื้นที่อย่างกว้างขวางออกไปมากขึ้น จนเกือบจะกลายเป็นสงครามกลางเมือง เมื่อความบาดหมางระหว่างชาวไทยและชาวจีนนี้ทราบถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวอานันทมหิดล ได้ทรงหาวิธีแก้ไขด้วยพระองค์เอง โดยทรงตระหนักว่าถ้าเสด็จฯ ออกเยี่ยมเยียนท้องถิ่นชาวจีนที่อาศัยอยู่เป็นจำนวนมากแล้ว ย่อมจะสามารถประสานรอยร้าวที่มีอยู่ ให้สนิทแน่นแฟ้นขึ้นได้ จึงทรงกำหนดการเสด็จเยี่ยมสำเพ็งอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2489 พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ข่าวการเสด็จสำเพ็งครั้งนี้เป็นข่าวใหญ่ที่สร้างความตื้นเต้นยินดีเป็นอย่าง ยิ่งแก่พ่อค้าชาวจีน และพ่อค้าอินเดียที่อาศัยอยู่แถบนั้น เพราะเป็นครั้งแรกที่มีพระมหากษัตริย์เสด็จเยี่ยมสำเพ็งอย่างเป็นทางการ การเสด็จเยี่ยมเยียนครั้งนี้ทางใช้เวลานานถึง 4 ชั่วโมง เพราะมีชาวจีนมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทมากมายและการรับเสด็จก็เป็นไปอย่าง มโหฬารด้วยความจงรักภักดีและเคารพบูชาอย่างสูง
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เสด็จวรรคตเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2498 ปวงชนชาวไทยต่างรำลึกถึงพระเมตตาธิคุณและพระมหากรุณาธิคุณ อันมีเป็นอเนกประการจึงร่วมใจน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่าน โดยถือเอาวันที่ 9 มิถุนายนของทุกปี เป็น “วันอานันทมหิดล” ในปี พ.ศ.2528 สมาคมศิษย์เก่าแพทย์จุฬาลงกรณ์ ได้รวบรวมทุนจากเงินบริจาคของศิษย์เก่าแพทย์จุฬาฯ “ทุกรุ่นจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงบันดาลให้เกิดคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศให้ประชาชนได้รำลึกถึงพระองค์ท่านสืบไปโดยมอบ ให้ คุณไข่มุกด์ ชูโต เป็น ผู้ออกแบบและปั้น พระบรมรูปหล่อด้วยส่วนผสมทองเหลืองและทองแดงขนาดเท่าครึ่งของพระองค์จริง ในท่าประทับนั่งเหนือเก้าอี้ ผินพระพักตร์ไปทางเบื้องขวาของพระองค์เล็กน้อย พระบรมรูปและเก้าอี้สูงประมาณหนึ่งเมตรครึ่ง พระบรมราชานุสาวรีย์ประดิษฐานไว้หน้าตึกอานันทมหิดล คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2529
http://www.tlcthai.com
เข้าชม : 1506
|