ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเทพา
@ สภาพทั่วไปของสถานศึกษา
ชื่อสถานศึกษา : ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเทพา
ที่อยู่ : อาคารเลขที่ 26 ถนนเทพา - ลำไพล ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา รหัสไปรษณีย์ 90150
เบอร์โทรศัพท์ : 074-3764987 เบอร์โทรสาร : 074-3764987
E-mail ติดต่อ : thephanfe@hotmail.com
สังกัด : สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสงขลา
สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
@ ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา
ประวัติสถานศึกษา : ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเทพา ได้ประกาศจัดตั้งเป็นสถานศึกษาโดยประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องการจัดตั้งศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ ตามประกาศ ณวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๓๖ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้สร้างอาคารบริเวณถนนเทพา - ลำไพล ซึ่งได้ใช้เป็นอาคารของห้องสมุดประชาชนอำเภอเทพาและอาคารสำนักงาน ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้สร้างอาคารสำนักงานศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเทพาแยกออกจากอาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอเทพา ต่อมาได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยจึงเปลี่ยนชื่อศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเทพามาเป็นศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเทพา เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๑ โดยมีชื่อย่อ กศน.เทพา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ
อาณาเขตที่ตั้งสถานศึกษา : ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเทพา มีพื้นที่รับผิดชอบ 7 ตำบล ดังนี้
สภาพของชุมชน : อำเภอเทพา เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสงขลาตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย ที่ว่าการอำเภอเทพาตั้งอยู่ที่บ้านท่าพรุ หมู่ที่ 1 ตำบลเทพา อำเภอเทพา อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดสงขลาซึ่งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดสงขลา 73 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร 1,056 กิโลเมตร มีเส้นทางรถไฟผ่านหน้าที่ว่าการอำเภอ
อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับทะเลหลวง(อ่าวไทย)
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอหนองจิก และอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสะบ้าย้อยและอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ลักษณะทางภูมิศาสตร์และลักษณะภูมิอากาศ : อำเภอเทพา ตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้น มีฝนตกชุกเป็นฤดู แต่อากาศไม่ร้อนจัดเนื่องจากอิทธิพลของลมทะเล มี 2 ฤดูกาล คือ ฤดูฝน (ในช่วงเดือนกันยายน – มกราคม) และฤดูร้อน (กุมภาพันธ์ – สิงหาคม)
สภาพเศรษฐกิจ : ด้านเศรษฐกิจประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร ได้แก่การทำสวนยาง การทำสวนผลไม้ นาข้าว พื้นที่เกษตรเชิงอนุรักษ์ ซึ่งพื้นที่ตลอดแนวชายฝั่งที่ติดกับอ่าวไทย พื้นที่เกษตรเชิงอนุรักษ์นี้ จะรวมพื้นที่ที่เป็นเขตพัฒนาทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และปศุสัตว์และเขตพัฒนาการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง ชาวประมงขนาดเล็กในบริเวณหมู่บ้านชาวทะเลและเป็นหมู่บ้านยากจน เกณฑ์เฉลี่ย จปฐ. ประชาชนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น พาณิชยกรรมส่วนใหญ่เป็นการค้าขายแบบปลีก สินค้าอุปโภค บริโภค และผลิตผลทางการเกษตร
สภาพทางสังคม : ประชากรศาสนาพุทธ 40% โดยประมาณ และนับถือศาสนาอิสลาม 60%โดยประมาณ มีสถานที่ศึกษาในเขตอำเภอทั้งหมด 49 โรง แบ่งเป็น ระดับมัธยมศึกษา มี 2 โรง และระดับประถมศึกษา 47 โรง และวิทยาลัยชุมชน จำนวน 1 แห่ง
@ ทำเนียบผู้บริหาร
ลำดับที่
|
ชื่อ - สกุล
|
ตำแหน่ง
|
ระยะเวลา
ดำรงตำแหน่ง
|
1
|
นางสาวอังคณา อุ่นจิตต์
|
ผอ.ศูนย์ กศน.อำเภอเทพา
|
พ.ศ. 2537 - 2546
|
2
|
นายหลบ สุวรรณ
|
ผอ.ศูนย์ กศน.อำเภอเทพา
|
พ.ศ. 2546 - 2547
|
3
|
นายวิเชียร โชติช่วง
|
ผอ.ศูนย์ กศน.อำเภอเทพา
|
พ.ศ. 2547 - 2550
|
4
|
นายสนิท ตั้นซ้าย
|
ผอ.ศูนย์ กศน.อำเภอเทพา
|
พ.ศ. 2550 - 2552
|
5
|
นายศิริพงค์ บัวแดง
|
ผอ.ศูนย์ กศน.อำเภอเทพา
|
พ.ศ. 2552 - 2553
|
6
|
นายดนลาเต๊ะ อิแอ
|
ผอ.ศูนย์ กศน.อำเภอเทพา
|
พ.ศ. 2553 - 2554
|
7
|
นางเบญจมาศ มเหสักขกุล
|
ผอ.ศูนย์ กศน.อำเภอเทพา
|
พ.ศ. 2554 - 2555
|
8
|
นางขนิษฐา มะลิสุวรรณ
|
ผอ.ศูนย์ กศน.อำเภอเทพา
|
พ.ศ. 2555 - 2558
|
9
|
นายพงษ์ศักดิ์ ศรีเวชนันต์
|
ผอ.ศูนย์ กศน.อำเภอเทพา
|
พ.ศ. 2558 - 2565
|
10
|
นางสาวพัชรี ไชยโรจน์
|
ผอ.ศูนย์ กศน.อำเภอเทพา
|
พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน
|
@จำนวนบุคลากร (ปีปัจจุบัน)
ประเภท/ตำแหน่ง
|
จำนวน
|
ต่ำกว่า ป.ตรี
|
ป.ตรี
|
ป.โท
|
ป.เอก
|
รวมจำนวน
|
ข้าราชการครู
|
-
|
8
|
-
|
-
|
8
|
พนักงานราชการ (ครูอาสาฯ)
|
-
|
17
|
3
|
-
|
20
|
พนักงานราชการ(ครู กศน.ตำบล)
|
-
|
1
|
1
|
-
|
1
|
ครูศูนย์การเรียนชุมชน
|
-
|
-
|
-
|
-
|
-
|
ครูการศึกษาพิเศษ (ครูสอนเด็กเร่ร่อนและครูสอนคนพิการ)
|
-
|
1
|
-
|
-
|
1
|
ครูประจำกลุ่ม
|
-
|
-
|
-
|
-
|
-
|
บรรณารักษ์
|
-
|
1
|
-
|
-
|
1
|
เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
|
-
|
-
|
-
|
-
|
-
|
เจ้าพนักงานธุรการ
|
-
|
-
|
-
|
-
|
-
|
ลูกจ้างชั่วคราว
|
1
|
-
|
-
|
-
|
1
|
รวมจำนวน
|
1
|
28
|
4
|
-
|
32
|
อัตลักษณ์สถานศึกษา
“ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง”
เอกลักษณ์สถานศึกษา
“การศึกษาตามอัธยาศัยเด่น”
ปรัชญาสถานศึกษา
“วิสัยทัศน์ก้าวไกล ใส่ใจการเรียนรู้ คู่คุณธรรม”
วิสัยทัศน์สถานศึกษา
ประชาชนอำเภอเทพ ได้รับการศึกษาตลอดชีวิตอย่างทั่วถึง ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งสู่ประชาคมอาเซียน
พันธกิจ
๑. จัดการศึกษาให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่อยู่นอกโรงเรียนตามความต้องการและความจำเป็น
๒. พัฒนาการเรียนรู้ให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้มีคุณธรรมนำความรู้ และมีทักษะการดำรงชีวิตบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๓. ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
๔. ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตจากสื่อเทคโนโลยี เพื่อการศึกษาและแหล่งเรียนรู้ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย
๕. พัฒนาประชาชนกลุ่มเป้าหมายเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
เป้าประสงค์
เพื่อให้ประชาชนในอำเภอเมืองสงขลา ได้รับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพ อย่างทั่วถึง เท่าเทียมเสมอภาค และต่อเนื่องบนพื้นฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน
เป้าหมาย
๑. เป้าหมายด้านการยกระดับการศึกษาและการขยายโอกาสทางการศึกษา
เป็นการยกระดับการศึกษาพื้นฐานให้กับประชาชนวัยแรงงาน และการขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมายที่มีความประสงค์จะได้รับการศึกษา โดยกำหนดเป้าหมายไว้ ดังนี้
๑.๑ เป้าหมายระดับบุคคล
๑) ประชากรวัยแรงงาน (อายุ ๑๕-๕๙ ปี) ได้รับการยกระดับการศึกษาที่สูงขึ้นถึงระดับมัธยมศึกษา และการศึกษาต่อเนื่อง จำนวน ๒,๒๘๔,๐๐๐ คน โดยจำแนกเป็น
๑.๑ ประชากรวัยแรงงานอายุ ๑๕-๕๙ ปี จำนวน ๑,๑๒๑,๐๐๐ คน ได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา
๑.๒ ประชากรวัยแรงงานอายุ ๔๐-๕๙ ปี ได้รับการศึกษาต่อเนื่อง (การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ และการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน)
๒) ประชากรกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน ๑๒๕,๐๐๐ คน ได้รับการศึกษาต่อเนื่อง ประกอบด้วยการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ การศึกษาพัฒนาทักษะชีวิต และการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน และได้รับการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย
๓) ประชากรกลุ่มผู้ด้อยโอกาส เช่น ประชากรกลุ่มชาติพันธ์ เด็กจากครอบครัวที่
ยากจน สตรี เด็กและเยาวชนในสถานพินิจ ผู้ต้องขัง ประชากรพื้นที่บริเวณชายแดน ประชากรในพื้นที่ชนบทห่างไกล ผู้พิการ ผู้ไม่รู้หนังสือ และกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ จำนวน ๙๔,๐๐๐ คน รวมทั้งคนไทยที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ ได้รับบริการการศึกษานอกระบบที่เหมาะสมกับสภาพของผู้เรียน
๔) ประชากรที่ได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย จำนวน ๗,๐๐๐,๐๐๐ คน
๑.๒ เป้าหมายระดับครัวเรือน
ครัวเรือนไม่ต่ำกว่า ๙๐๐,๐๐๐ ครัวเรือน ได้รับบริการการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างน้อย ๑ กิจกรรม
กิจกรรมการศึกษานอกระบบ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองสงขลา มีดังนี้
๑. การศึกษานอกระบบ
๑.๑ การส่งเสริมการรู้หนังสือ
๑.๒ การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
๑.๓ การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
๑.๔ การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
๑.๕ การพัฒนาอาสาสมัคร กศน.
๑.๖ การจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๑.๗ โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุ
๑.๘ โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็กด้อยโอกาส
๑.๙ การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- ระดับประถมศึกษา
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
๑.๑๐ การเทียบระดับการศึกษา
- ระดับประถมศึกษา
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
๒. การจัดศึกษาตามอัธยาศัย
พื้นที่รับผิดชอบ
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเทพา มีพื้นที่รับผิดชอบ ๗ ตำบล ดังนี้
ข้อมูลตำบลและสภาพพื้นที่
อำเภอเมืองสงขลามีพื้นที่ทั้งหมด ๑๘๙.๒๖๙ ตร.กม. แบ่งเป็น ๖ ตำบล ดังนี้
ที่
|
ตำบล
|
พื้นที่
(ตร.กม.)
|
สภาพพื้นที่
|
จำนวนประชากร (คน)
|
หมายเหตุ
|
ชาย
|
หญิง
|
๑
|
พะวง
|
๔๐.๓๔
|
เป็นที่ราบลุ่ม สลับเนินเขา
|
๑๑,๔๕๖
|
๑๑,๙๑๐
|
|
๒
|
เกาะยอ
|
๑๕.๐๐
|
เป็นเกาะล้อมรอบด้วยทะเลสาบสงขลา
|
๒,๑๒๓
|
๒,๓๓๖
|
|
๓
|
เกาะแต้ว
|
๒๘.๓๘
|
เป็นที่ราบลุ่มสลับกับที่ราบดอน
|
๕,๑๘๑
|
๕,๔๕๐
|
|
๔
|
เขารูปช้าง
|
๒๑.๖๘
|
เป็นพื้นที่ลาดเอียงเชิงเขาสลับกับพื้นที่ราบลุ่ม
|
๑๘,๐๓๘
|
๒๐,๓๘๓
|
|
๕
|
บ่อยาง
|
๙.๒๗
|
เป็นที่ราบชายฝั่งทะเล
|
๓๖,๐๗๕
|
๒๘,๙๖๓
|
|
๖
|
ทุ่งหวัง
|
๕๘.๒๕
|
เป็นที่ราบลุ่ม
|
๔,๗๐๕
|
๕,๑๖๓
|
|
|
รวมทั้งสิ้น
|
๑๘๙.๒๖๙
|
|
๗๗,๕๗๘
|
๗๔,๒๐๕
|
|
การบริหารจัดการศึกษา
กศน.อำเภอเมืองสงขลา บริหารจัดการการศึกษาโดยยึดแนวปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 9 (3) ให้มีการdกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภทการศึกษา โดยเฉพาะในมาตรา 47 กำหนดไว้ว่าให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานทุกระดับ อันประกอบด้วย ระบบประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก และ ในมาตรา 48 กำหนดให้สถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายใน เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง กศน.อำเภอเมืองสงขลา จึงได้กำหนดการบริหารงานให้สอดคล้องกับระบบการประกันคุณภาพ ของสถานศึกษาในสังกัด กศน. 6 มาตรฐาน 26 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
1. งานบริหารสถานศึกษาตามภารกิจของผู้บริหารสถานศึกษา
งานที่ 1 ชื่อ งานบริหารกิจการสถานศึกษา
สอดคล้องกับมาตรฐานการประกันคุณภาพ มาตรฐานที่ 1 ( ต.1-8 )
สอดคล้องกับมาตรฐานการประกันคุณภาพ มาตรฐานที่ 2 ( ต.1-7)
สอดคล้องกับมาตรฐานการประกันคุณภาพ มาตรฐานที่ 3 ( ต.1-2 / ต.4-5 )
สอดคล้องกับมาตรฐานการประกันคุณภาพ มาตรฐานที่ 4 ( ต.1-2 )
งานที่ 2 ชื่อ งานบริหารบุคคล
สอดคล้องกับมาตรฐานการประกันคุณภาพ มาตรฐานที่ 2 ( ต. 2-4 )
งานที่ 3 ชื่อ งานบริหารงบประมาณ
สอดคล้องกับมาตรฐานการประกันคุณภาพ มาตรฐานที่ 3 ( ต.1-5)
งานที่ 4 ชื่อ งานบริหารทั่วไป
สอดคล้องกับมาตรฐานการประกันคุณภาพ มาตรฐานที่ 3 ( ต.1-5)
สอดคล้องกับมาตรฐานการประกันคุณภาพ มาตรฐานที่ 4 ( ต.1-2 )
สอดคล้องกับมาตรฐานการประกันคุณภาพ มาตรฐานที่ 5 ( ต.1-2 )
สอดคล้องกับมาตรฐานการประกันคุณภาพ มาตรฐานที่ 6 ( ต.1-2 )
2. งานโครงสร้างการบริหารสถานศึกษา
กลุ่มงานที่ 1 ชื่อ กลุ่มงานอำนวยการ
สอดคล้องกับมาตรฐานการประกันคุณภาพ มาตรฐานที่ 3 ( ต.1-5)
สอดคล้องกับมาตรฐานการประกันคุณภาพ มาตรฐานที่ 4 ( ต.1-2 )
สอดคล้องกับมาตรฐานการประกันคุณภาพ มาตรฐานที่ 5 ( ต.1-2 )
สอดคล้องกับมาตรฐานการประกันคุณภาพ มาตรฐานที่ 6 ( ต.1-2
กลุ่มงานที่ 2 ชื่อ กลุ่มงานจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สอดคล้องกับการประกันคุณภาพมาตรฐานที่ 1 ( ต.1-8 )
สอดคล้องกับการประกันคุณภาพมาตรฐานที่ 2 ( ต.1-7)
กลุ่มงานที่ 3 ชื่อ กลุ่มงานส่งเสริมภาคีเครือข่ายและกิจการพิเศษ
สอดคล้องกับการประกันคุณภาพมาตรฐานที่ 6 ( ต.1 – 2 )
นโยบายสถานศึกษา
1. มุ่งมั่นสร้างสรรค์ พัฒนาระบบบริหารจัดการและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรตามหลัก ธรรมาภิบาล
2. ส่งเสริมสนับสนุน การนำเทคโนโลยีสนสนเทศและการสื่อสารมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ
3. ส่งเสริมสนับสนุน ภาคีเครือข่ายจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
4. พัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้ผู้เรียน ผู้รับบริการมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการศึกษา
5. เร่งรัดพัฒนาข้าราชการครู ครู กศน. และสร้างความสัมพันธ์กับภาคีเครือข่าย ส่งเสริมให้การดำเนินงานของสถานศึกษาได้มาตรฐาน
ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 1 มุ่งเน้นบริการด้านการศึกษา
1. ให้ประชากรวัยแรงงาน ในอำเภอเมืองสงขลา ได้รับบริการด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกระดับ
2. ให้ประชาชนได้รับการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพอย่างทั่วถึงและหลากหลาย
3. ให้ผู้เรียน/ผู้รับบริการ นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสมและมีคุณภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (Community Base Learning)
1. พัฒนา กศน. ตำบล ให้มีความเป็นเลิศสู่ประชาคมอาเซียน
2. พัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชน ให้มีศักยภาพในการบริการการศึกษาตลอดชีวิต อย่างหลากหลายบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. พัฒนาบุคลากรให้มีความเป็นเลิศสู่ประชาคมอาเซียน
เข้าชม : 5032 |