แหล่งเรียนรู้และภาคีเครือข่าย
- วัดพระสามองค์ หรือ วัดเทพาไพโรจน์
พระพุทธรูปสามองค์ ประดิษฐานอยู่ ณ วัดเทพาไพโรจน์ ม.๔ ต.เทพา อ.เทพา จ.สงขลา เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนมาตั้งแต่โบราณกาล สร้างด้วยศิลาทรายแดง นั่งเรียงกันในศาลา ฝาผนังกั้นทึบทั้งสี่ด้าน ทางเข้าออกเป็นประตูไม้ ชาวบ้านเรียกว่า “พระสามองค์” เล่ากันว่าเมื่อครั้งข้าหลวงนายอ่อน ปกครองอำเภอเทพานั้น ได้สร้างศาลาเป็นที่พักอยู่หน้าเมืองเพื่อไว้เป็นที่พักก่อนเข้าเมือง และที่ศาลานี้มีพระรูปหนึ่งชื่อ “พระนวล” ซึ่งเป็นพระธุดงค์
ต่อมาราว พ.ศ. ๒๔๗๔ ชาวไทยมุสลิมซึ่งมีอาชีพทำประมงได้มาตั้งบ้านสร้างเรือนที่บริเวณใกล้ ๆ กับพระสามองค์ แต่ก็ต้องย้ายออกไปอย่างไม่มีสาเหตุ หลังจากนั้นชาวไทยพุทธซึ่งเห็นพุทธอภินิหารก็พากันสักการะ และช่วยกันสร้างศาลาขึ้นมาใหม่ ด้วยไม้หลังคามุงจาก และมีพระมาจำพรรษาเช่นเดิม ต่อมาพระเหล่านั้นไม่สามารถจำพรรษาอยู่ได้โดยไม่ทราบสาเหตุ จึงต้องกลายเป็นวัดร้างอีกครั้งหนึ่ง ศาลาที่สร้างก็ผุพังลงไปตามกาลเวลาเหลือไว้แต่พระทั้งสามองค์
ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ มีคนจีนได้มาบนบานให้ลูกชายที่หายไปได้กลับคืนมา จะสร้างศาลาหลังใหม่ให้ และเมื่อได้สมปรารถนาแล้ว ชาวจีนนั้นก็สร้างศาลาหลังใหม่ด้วยไม้หลุมพอ หลังคาสังกะสี
ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ เกิดพายุใหญ่พัดศาลานั้นพังลงมา โดยปลายเสาทั้ง ๔ ต้น ล้มลงมาทุบองค์พระทั้งสามจนแตกละเอียด โดยก่อนเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ชาวบ้านได้ฝันว่าพระท่านจะไม่อยู่แล้ว เพราะชาวบ้านไม่เอาใจใส่
ต่อมา พ.ศ. ๒๕๐๕ นายลอย เทพไชย ศึกษาธิการอำเภอเทพา ได้ชักชวนชาวบ้านบริจาคเงินทอง เพื่อบูรณะพระทั้งสามองค์ใหม่ โดยนำเศษผงองค์พระเดิมที่แตกละเอียดมาบรรจุลงในพระที่สร้างขึ้นใหม่ ซึ่งมีโครงสร้างเป็นเหล็ก และทำขึ้นด้วยคอนกรีต โดยการปั้นของนายอุดม มัชฌิมาภิโร และทาด้วยสีโมเสด มองดูเหมือนพระเนื้อสามกษัตริย์ พร้อมทั้งสร้างศาลาเป็นที่ประดิษฐานขึ้นอีกครั้ง
ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของพระสามองค์นั้นมีมาก โดยเฉพาะชาวจีนมีความเชื่อถือมาก โดยได้มีการบวงสรวงสักการะเป็นประจำทุกปี ต่อมานายบังยัง แซ่แต้ ได้บริจาคเงินบูรณะตกแต่งใหม่อีกครั้ง และในสมัยนายจบ พลฤทธิ์ เป็นศึกษาธิการอำเภอเทพา ท่านได้สร้าง “พระจีน” พระสำนักวัดสังกะจายอีกรูปหนึ่ง ประดิษฐานในวิหารเดียวกัน
พระสามองค์จึงเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของเทพามาจวบถึงทุกวันนี้ ในเดือนเมษายนของทุกปี ประชาชนชาวอำเภอเทพา และอำเภอใกล้เคียงจะร่วมกันสรงน้ำ และเปลี่ยนผ้าให้พระสามองค์เป็นประจำ จนกลายเป็นประเพณี ซึ่งเรียกว่า “ ประเพณีเปลี่ยนผ้าพระสามองค์ ” ซึ่งจะจัดขึ้นใน วันที่ ๙ เมษายน ของทุกปี
เมื่อเดือนเมษายน๒๕๕๓ มีการทำพิธีอัญเชิญหลวงพ่อพระสามองค์ ขึ้นประดิษฐาน ณ วิหารหลังใหม่ และปัจจุบันกำลังปรับปรุงสภาพแวดล้อมรอบวิหาร โดยบูรณะวิหารหลังเก่า เป็นศูนย์พิพิธภัณฑ์เรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์ ปรับปรุงศาลาอเนกประสงค์สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา สถานที่ประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่ ๕ และศาลาริมแม่น้ำเทพา
- หาดสร้อยสวรรค์
หาดสร้อยสวรรค์เป็นหาดทรายมีลักษณะทอดเป็นแนวยาวบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๔ ตำบลเทพา ห่างจากที่ว่าการอำเภอเทพา ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร บริเวณชายหาดมีจุดพักริมทาง ซึ่งกรมทางหลวงได้จัดเป็นสวนหย่อมและมีร้านจำหน่ายอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว หาดสร้อยสวรรค์ดังกล่าวอยู่ติดถนนจะนะ – หนองจิก
- แพล่องแม่น้ำเทพา
เป็นการล่องแพแม่น้ำเทพาโดยใช้เรือยนต์ระยะทางประมาณ ๖ กิโลเมตร จากท่าน้ำบ้านตลาดแขก เขตเทศบาลตำบลเทพา จนถึงปากน้ำเทพา บรรยากาศชื่นชมธรรมชาติสองฝั่งแม่น้ำ เรียนรู้วิถีชีวิตของชาวบ้าน
รายชื่อแหล่งเรียนรู้และภาคีเครือข่าย
ชื่อแหล่งเรียนรู้
|
ประเภทแหล่งเรียนรู้
|
ที่ตั้ง
|
๑.วัดพิกุลบุญญาราม
|
ศาสนสถาน
|
เขตเทศบาล หมู่ ๑ ตำบลเทพา
|
๒.วัดพระสามองค์
|
ศาสนาสถาน
|
บ้านนาเกาะ หมู่. ๔ ตำบลเทพา
|
๓.วัดสุริยาราม
|
ศาสนสถาน
|
บ้านพรุหมาก หมู่ ๓ ตำบลเทพา
|
๔.โรงเรียนบ้านเทพา
|
โรงเรียน
|
เขตเทศบาล หมู่ ๑ ตำบลเทพา
|
๕.โรงเรียนบ้านเทพา
|
โรงเรียน
|
เขตเทศบาล หมู่ ๑ตำบลเทพา
|
๖.มัสยิดดารุสสลาม
|
ศาสนสถาน
|
ชุมชนตลาดแขก หมู่ ๑ตำบลเทพา
|
๗.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
|
โรงเรียน
|
เขตเทศบาล หมู่ ๑ ตำบลเทพา
|
๘.โรงเรียนบ้านป่ากอ
|
โรงเรียน
|
บ้านป่ากอ หมู่ ๕ ตำบลเทพา
|
ชื่อแหล่งเรียนรู้
|
ประเภทแหล่งเรียนรู้
|
ที่ตั้ง
|
๙.โรงเรียนบ้านป่าโอน
|
โรงเรียน
|
บ้านป่าโอน หมู่ ๖ ตำบลเทพา
|
๑๐.โรงเรียนวัดเทพาไพโรจน์
|
โรงเรียน
|
บ้านนาเกาะ หมู่ ๔ ตำบลเทพา
|
๑๑.โรงเรียนบ้านพระพุทธ
|
โรงเรียน
|
บ้านพระพุทธ หมู่ ๒ ตำบลเทพา
|
๑๒.เทศบาลตำบลเทพา
|
อาคารสถานที่
|
ถนนประธานสุขา หมู่ ๑ ตำบลเทพา
|
๑๓.องค์การบริหารส่วนตำบลเทพา
|
อาคารสถานที่
|
บ้านท่าพรุ หมู่ ๑ ตำบลเทพา
|
๑๔.ที่ว่าการอำเภอเทพา
|
อาคารสถานที่
|
เขตเทศบาล หมู่ ๑ ตำบลเทพา
|
๑๕.ห้องสมุดประชาชนเทพา
|
อาคารสถานที่
|
เขตเทศบาล หมู่ ๑ ตำบลเทพา
|
๑๖.สหกรณ์การเกษตร
|
อาคารสถานที่
|
บ้านพรุหมาก หมู่ ๓ ตำบลเทพา
|
๑๗.สำนักงานที่ดินอำเภอเทพา
|
อาคารสถานที่
|
ถนนประธานสุขา หมู่ ๑ ตำบลเทพา
|
๑๘.สำนักงานเกษตรอำเภอเทพา
|
อาคารสถานที่
|
ถนนประธานสุขา หมู่ ๑ ตำบลเทพา
|
๑๙.สถานีรถไฟ
|
อาคารสถานที่
|
เขตเทศบาล หมู่ ๑ ตำบลเทพา
|
๒๐.สถานีตำรวจภูธร
|
อาคารสถานที่
|
เขตเทศบาล หมู่ ๑ ตำบลเทพา
|
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น
|
ความสามารถ/ประสบการณ์
|
ที่อยู่
|
๑.นางสุนีย์ หัดขะเจ
|
ทำกะปิเทพา น้ำบูดู
|
๓๒ ม. ๒ต.เทพา อ.เทพา จ. สงขลา
|
๒.นางสาวนูรีย๊ะ มูณี
|
ปักผ้าคลุมผม
|
๗๑ ม.๓ ต.เทพา อ.เทพา จ.สงขลา
|
๓.นางสุภาพ ข้อมงคลอุดม
|
ทำปลาเค็ม ทำกะปิ
|
๑๒๔ ม.๗ ต.เทพา อ.เทพา จ.สงขลา
|
๔.นายหร่อหยา กาเส็ง
|
จักสานฝาขัดแตะ
|
๑๒๖ ม.๓ ต.เทพา อ.เทพา จ.สงขลา
|
๕.นายดาโห๊ะ หัดขะเจ
|
ยาสมุนไพร
|
๗๓ ม.๓ ต.เทพา อ.เทพา จ.สงขลา
|
๖.นายยูโซ๊ะ เพ็งเล๊าะ
|
การต่อกระดูก
|
๓๗ ม. ๓ ต.เทพา อ.เทพา จ.สงขลา
|
๗.นายหวันหีม หีมยี
|
การเลี้ยงปลา
|
๑๙๓ ม.๖ ต.เทพา อ.เทพา จ.สงขลา
|
๘.นายดีน มูณี
|
การเลี้ยงโคขุน
|
๑๖๑ ม.๖ ต.เทพา อ.เทพา จ.สงขลา
|
๙.นางกินนารี มามะ
|
การทำปลาแห้ง
|
๕๗ ม.๗ ต.เทพา อ.เทพา จ.สงขลา
|
๑๐.นายสะมะแอ อีบาราเฮง
|
การทำอวน
|
๗๘ ม.๗ ต.เทพา อ.เทพา จ.สงขลา
|
|
|
|
ผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ในตำบลเทพา
1. ผลิตภัณฑ์จากผ้าปาเต๊ะ
2. กะปิเทพา
3. ไก่ทอดเทพา
4. หมวกกาปิเย๊าะ
เข้าชม : 1412 |