[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

ยินดีต้อนรับสู่ศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบลเกาะสะบ้าWelcom Koh Saba Subdistrict Learning Center http://sk.nfe.go.th/thepa06/



 

 การศึกษาขั้นพื้นฐาน


 

การปรับปรุงและเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การดำเนินงาน

ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551  พ.ศ.2559

………………………………………………

 

ความเป็นมาและแนวคิด

 

 

 

เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนามนุษย์ นานาประเทศต่าง

 

ก็พัฒนาคนในชาติของตนเองผ่านระบบการศึกษาเช่นเดียวกัน แต่เมื่อเวลาผ่านไปประเทศประสบปัญหา เช่น ปัญหาความยากจน ปัญหาความแตกต่างกันทางด้านความคิด ปัญหาการใช้ความรุนแรง ปัญหาสังคมเด็กติดเกม

 

สารเสพติด และการพนันต่าง ๆ เป็นต้น ปัญหาดังกล่าวสะท้อนถึงระบบการจัดการศึกษาของประเทศว่าการศึกษาได้ทำหน้าที่ของการเป็นเครื่องมือในการพัฒนามนุษย์ได้เพียงใด

 

                    ในอีกด้านหนึ่ง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2558 กำหนดเป้าหมายให้ปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นเป็น 12 ปี แต่จากการสำรวจภาวการณ์การมีงานทำของประชากร  พ.ศ. 2557 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า แรงงานไทยอายุระหว่าง 15-59 ปี จำนวนประมาณ 25.08 ล้านคน จากจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 34.85 ล้านคน เป็นผู้ที่ยังไม่จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากเป้าหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับดังกล่าวกับผลการจัดการศึกษาเพื่อยกระดับการศึกษาของประชาชนในปี พ.ศ. 2557 เฉพาะประชากรวัยแรงงาน ที่ยังไม่จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี รัฐบาลยังมีภาระที่ต้องยกระดับการศึกษาของประชากร อีก 25 ล้านคน ซึ่งเป็นความยากที่จะให้บรรลุเป้าหมายตามแผน

 

                    ด้วยเหตุปัจจัยดังกล่าวข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่าการศึกษายังไม่สามารถช่วยให้ประชาชนบางส่วนมีความรู้ มีความสามารถและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้ รวมถึงการพัฒนาจิตใจและจิตสำนึกในความเป็นคนดีได้ และเด็กและเยาชนส่วนหนึ่งต้องออกจากระบบการศึกษาเข้าสู่ตลาดแรงงานทำงานในสถานประกอบการทั้งๆที่ไม่มีทักษะฝีมือในการทำงาน และอีกส่วนหนึ่งปฏิเสธระบบการศึกษา ไปอยู่ในสถานที่




 

สุ่มเสี่ยงต่อการสร้างปัญหาทางสังคมตามมา

 

                    สำนักงาน กศน. มีบทบาทในการพัฒนาประชาชนที่อยู่นอกระบบโรงเรียน จึงหามาตรการที่จะทำให้การจัดการศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนามนุษย์ได้อย่างแท้จริง และสามารถยกระดับการศึกษาของแรงงานดังกล่าว เพื่อให้จำนวนประชากรของชาติมีระดับการศึกษาเฉลี่ยสูงขึ้น โดยจะนำหลักการและแนวคิดในการจัดการศึกษานอกระบบมาใช้ให้เป็นรูปธรรม หลักการและแนวคิดดังกล่าวมีด้วยกัน 5 ประการ คือ

 

1) หลักความเสมอภาค 2) หลักการพัฒนาตนเองและการพึ่งตนเอง 3) หลักการบูรณาการกับวิถีชีวิต 4) หลักความสอดคล้อง 5) หลักการเรียนรู้ร่วมกันและการมีส่วนร่วมของชุมชนสังคม โดยจะปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินงานการศึกษานอกระบบขั้นพื้นฐานในบางเรื่อง ให้สามารถดำเนินการเพื่อยกระดับการศึกษาของประชากรไทยให้ได้ และมุ่งจัดการศึกษาที่ตอบโจทย์ของประชาชน ชุมชนและสังคม ยึดผู้เรียนเป็นเป้าหมาย โดยจะจัดให้มีโปรแกรมการเรียนที่หลากหลาย สอดคล้องกับการทำงาน การประกอบอาชีพของผู้เรียนเพื่อพัฒนาและยกระดับการทำงาน และการประกอบอาชีพของตนเอง หรือต่อยอดการงานอาชีพ ด้วยแนวคิดและความจำเป็นดังกล่าว จึงปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

 

 

 

วัตถุประสงค์

 

1.       เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและบริบทของชุมชน สังคม

 

มากยิ่งขึ้น

 

          2. เพื่อเร่งรัดการยกระดับปีการศึกษาเฉลี่ยของประชาชน

 

         

 

 

 

หลักเกณฑ์การดำเนินงานที่ปรับปรุง

 

เพื่อให้สามารถจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

พุทธศักราช 2551 บรรลุตามหลักการของหลักสูตรมากยิ่งขึ้น จึงปรับปรุงและเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การดำเนินงาน

 

ในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

 

 

1. โครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร

หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

ที่

สาระการเรียนรู้

จำนวนหน่วยกิต

ประถมศึกษา

มัธยมศึกษาตอนต้น

มัธยมศึกษาตอนปลาย

วิชาบังคับ

วิชาเลือก

วิชาบังคับ

วิชาเลือก

วิชาบังคับ

วิชาเลือก

1

ทักษะการเรียนรู้

5

 

5

 

5

 

2

ความรู้พื้นฐาน

12

 

16

 

20

 

3

การประกอบอาชีพ

8

 

8

 

8

 

4

ทักษะการดำเนินชีวิต

5

 

5

 

5

 

5

การพัฒนาสังคม

6

 

6

 

6

 

รวม

36

12

40

16

44

32

48 นก.

56 นก.

76 นก.

กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต

200 ชม.

200 ชม.

200 ชม.

 

โครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 คงใช้

โครงสร้างเดิม แต่จะปรับรายละเอียดภายใน ซึ่งไม่กระทบต่อมาตรฐานและสาระการเรียนรู้ในหลักสูตร ดังนี้

1.1   วิชาบังคับ

1.1.1 ปรับเนื้อหาบางรายวิชาให้มีความทันสมัยและทันต่อการเปลี่ยนแปลง

1.1.2 วิเคราะห์เนื้อหาที่ต้องรู้ในรายวิชาบังคับ และจัดทำสื่อเผยแพร่ให้สถานศึกษาและผู้เรียนนำไปใช้ในการเรียน

               1.2 วิชาเลือก วิชาเลือกจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ วิชาเลือกบังคับ และวิชาเลือกเสรี โดยกำหนดสัดส่วนดังนี้

ที่

สาระการเรียนรู้

จำนวนหน่วยกิต

ประถมศึกษา

มัธยมศึกษาตอนต้น

มัธยมศึกษาตอนปลาย

เลือกบังคับ

เลือกเสรี

เลือกบังคับ

เลือกเสรี

เลือกบังคับ

เลือกเสรี

1

ทักษะการเรียนรู้

-

 

-

 

-

 

2

ความรู้พื้นฐาน

2

 

3

 

3

 

3

การประกอบอาชีพ

-

 

-

 

-

 

4

ทักษะการดำเนินชีวิต

2

 

3

 

3

 

5

การพัฒนาสังคม

-

 

-

 

-

 

รวม

4

8

6

10

6

26

12 นก.

16 นก.

32 นก.

 

1.2.1 วิชาเลือกบังคับ เป็นวิชาที่พัฒนาขึ้นตามนโยบายของประเทศ และเพื่อแก้ปัญหาวิกฤต

ของประเทศในเรื่องต่างๆ ในช่วงแรก จะพัฒนาจำนวน  2 วิชา ทั้ง 3 ระดับ คือ วิชาพลังงานไฟฟ้า และความรู้ทาง

การเงิน

 

               1.2.2 วิชาเลือกเสรี เป็นวิชาที่สถานศึกษาพัฒนาขึ้นเอง โดยให้ยึดหลักการในการพัฒนา คือ

                       1) พัฒนาโปรแกรมการเรียน เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางและเป้าหมายทางการเรียนของผู้เรียน สถานศึกษาจึงต้องวิเคราะห์ความต้องการ ความจำเป็น และความสนใจของผู้เรียน เพื่อออกแบบโปรแกรมการเรียน ภายในโปรแกรมการเรียนจะประกอบไปด้วยรายวิชาต่างๆ ที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้

                       2) การพัฒนารายวิชาในโปรแกรมการเรียน สถานศึกษาควรดำเนินการร่วมกับผู้เรียนและภูมิปัญญา ผู้รู้ หรือผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆ จัดทำโปรแกรมการเรียนและพัฒนารายวิชาต่างๆ

 

2. การจัดกระบวนการเรียนรู้

                       2.1 ครู กศน. เป็นผู้ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนเป็นรายกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย และ รายบุคคล  ( Individualized Education Program /Plan) ในขณะเดียวกันครูและผู้เรียนต้องร่วมกันในการอภิปราย แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์และสรุปผลการเรียนรู้ร่วมกัน อันจะทำให้ได้องค์ความรู้ใหม่ๆ

                       2.2 ผู้เรียนใช้วิธีการเรียนรู้หลายวิธีผสมกันทั้งการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้แบบทางไกล การพบกลุ่ม การเข้าค่าย การสอนเสริม หรือ การเรียนโดยโครงงาน การเรียนรู้ที่หลากหลายวิธีจะต้องมีแผนการเรียนรู้ โดยครูและผู้เรียนจัดทำสัญญาการเรียนรู้ร่วมกัน และครูจะเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนและกำกับให้การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นไปตามแผนและบรรลุเป้าหมาย

 

3. สื่อ

   3.1 สื่อวิชาเลือกบังคับกลุ่มพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจัดทำต้นฉบับ

                  3.2 สื่อรายวิชาเลือกเสรี สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรรายวิชาเลือกเสรี แล้วเสนอให้คณะกรรมการของ สำนักงาน กศน.จังหวัดพิจารณา ตรวจสอบสอดคล้องของรายวิชากับโปรแกรมการเรียน สอดคล้องกับมาตรฐานของกลุ่มสาระในแต่ละระดับการศึกษา จากนั้น สำนักงาน กศน.จึงขอรหัสรายวิชาเลือกจากระบบโปรแกรมรายวิชาเลือก ทั้งนี้

ไม่อนุญาตให้พัฒนารายวิชาเลือกที่เรียนได้ทุกระดับการศึกษา

        3.3 รูปแบบของสื่อ มี 2 รูปแบบ คือ แบบชุดวิชาและแบบเรียนปลายเปิดโดยให้พิจารณา

ตามธรรมชาติของวิชา    

        3.4 การจัดทำสื่อเสริมการเรียนรู้ กลุ่มพัฒนาการศึกษานอระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ร่วมกันผลิตสื่อเสริมการเรียนรู้ในเนื้อหาที่ยาก เพื่อเสริมความรู้ความเข้าใจในการเรียนรายวิชาต่างๆ

4. การวัดและประเมินผล

   การวัดและประเมินผลจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

                      4.1 วิชาบังคับ สำนักงาน กศน.กำหนดสัดส่วนการวัดผลระหว่างภาคเรียนและปลายภาคเรียน เป็น 60 : 40 โดยวัดผลในเนื้อหาที่ต้องรู้ และจัดทำ Test Blueprint เฉพาะเนื้อหาที่ต้องรู้ Test Blueprint  ดังกล่าว จะสอดคล้องกับการสอบ N-net ด้วย

                      4.2 วิชาเลือกบังคับ กำหนดสัดส่วนการวัดผลระหว่างภาคและปลายภาค คือ 60 : 40 โดยกลุ่มพัฒนาระบบการทดสอบจะเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดทำ Test Blueprintและจัดทำแบบทดสอบ ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนและการวัดประเมินผลมีมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ

             4.3 วิชาเลือกเสรี สถานศึกษาปรับปรุงระเบียบสถานศึกษาว่าด้วยการวัดและประเมินผล

การเรียน โดยเพิ่ม เกณฑ์การวัดและประเมินผล

 

5. การเทียบโอนผลการเรียน

    สำนักงาน กศน. มีนโยบายให้ดำเนินการเทียบโอนผลการเรียนโดยใช้วิธีการต่าง ๆ คือ

5.1   ปรับแนวทางการเทียบโอนผลการเรียนจากหลักสูตรต่างๆ ของการศึกษาในระบบให้สามารถ

เทียบโอนเข้าสู่การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

5.2   พัฒนาเกณฑ์การเทียบโอนกลุ่มอาชีพ เช่น กลุ่มอาชีพนวดแผนไทย กลุ่มอาชีพพนักงาน

รักษาความปลอดภัย เป็นต้น

5.3   พัฒนาเกณฑ์การเทียบโอนจากหลักฐานการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ ที่หน่วยงานต่างๆ เป็นผู้

ประเมิน เช่น กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ หรือกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  ที่มีระบบการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพให้กับผู้ประกอบอาชีพ เพื่อมาจัดทำหลักเกณฑ์การเทียบโอนคุณวุฒิวิชาชีพต่างๆเหล่านี้ร่วมกัน

6. แผนการลงทะเบียนเรียน 4 ภาคเรียน

    การลงทะเบียนเรียนในช่วงแรก สำนักงาน กศน.กำหนดแผนการลงทะเบียนให้เป็นแนวเดียวกัน

สำหรับผู้เรียนที่ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาในภาคเรียนที่ 1/2559  ตัวอย่างแผนการลงทะเบียนเรียน

 

  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ตัวย่างแผนการลงทะเบียนเรียน

หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

ระดับประถมศึกษา

 

ที่

สาระการเรียนรู้

ภาคเรียนที่1/2559

ภาคเรียนที่ 2/2559

ภาคเรียนที่ 1/2560

ภาคเรียนที่ 2/2560

รหัสวิชา

รายวิชา

นก.

รหัสวิชา

รายวิชา

นก.

รหัสวิชา

รายวิชา

นก.

รหัสวิชา

รายวิชา

นก.

วิชาบังคับ

1

ทักษะการเรียนรู้

ทร11001

ทักษะการเรียนรู้

5

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2

ความรู้พื้นฐาน

พค 11001

คณิตศาสตร์

3

พต 11001

ภาษาอังกฤษ

3

พท 11001

ภาษาไทย

3

พว 11001

วิทยาศาสตร์

3

3

การประกอบอาชีพ

อช 11001

ช่องทางการประกอบอาชีพ

2

อช 11002

ทักษะการประกอบอาชีพ

4

 

 

 

อช 11003

พัฒนาอาชีพให้มีอยู่มีกิน

2

4

ทักษะการดำเนินชีวิต

ทช 11001

เศรษฐกิจพอเพียง

1

ทช 11002

สุขศึกษา

2

 

 

 

ทช 11003

ศิลปศึกษา

2

5

การพัฒนาสังคม

 

 

 

สค 11001

สังคมศึกษา

3

สค 11002

ศาสนาและหน้าที่พลเมือง

2

สค 11003

การพัฒนาตนเอง ชุมชน สังคม

1

รวมหน่วยกิต (บังคับ)

11

 

 

12

 

 

5

 

 

8

วิชาเลือก

1

ความรู้พื้นฐาน

 

การใช้พลังงานไฟฟ้า

2

 

 

 

 

เลือกเสรี

2

 

โครงงาน

3

2

ทักษะการดำเนินชีวิต

 

 

 

 

การเงินเพื่อชีวิต

2

 

เลือกเสรี

3

 

 

 

รวมหน่วยกิต (เลือก)

2

 

 

2

 

 

5

 

 

3

รวมหน่วยกิต (ทั้งหมด)

13

 

 

14

 

 

10

 

 

11

 

หมายเหตุ การลงทะเบียนเรียนในวิชาเลือกเสรี สถานศึกษาเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสมของผู้เรียน หรือ ตามบริบทของพื้นที่ ชุมชน สภาพแวดล้อม

 

 

 
  กล่องข้อความ: 5

 


ตัวย่างแผนการลงทะเบียนเรียน

หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

 

ที่

สาระการเรียนรู้

ภาคเรียนที่1/2559

ภาคเรียนที่ 2/2559

ภาคเรียนที่ 1/2560

ภาคเรียนที่ 2/2560

รหัสวิชา

รายวิชา

นก.

รหัสวิชา

รายวิชา

นก.

รหัสวิชา

รายวิชา

นก.

รหัสวิชา

รายวิชา

นก.

วิชาบังคับ

1

ทักษะการเรียนรู้

 

 

 

ทร 21001

ทักษะการเรียนรู้

5

 

 

 

 

 

 

2

ความรู้พื้นฐาน

พท21001

ภาษาไทย

4

พค 21001

คณิตศาสตร์

4

พว 11001

วิทยาศาสตร์

4

 

 

 

พต21001

ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน

4

3

การประกอบอาชีพ

 

 

 

อช 21001

ช่องทางการพัฒนาอาชีพ

2

อช 21002

ทักษะการพัฒนาอาชีพ

4

อช 21003

การพัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็ง

2

4

ทักษะการดำเนินชีวิต

 

 

 

 

 

 

ทช 21002

สุขศึกษา 
พลศึกษา

2

ทช 21003

ศิลปศึกษา

2

ทช 21001

เศรษฐกิจพอเพียง

1

5

การพัฒนาสังคม

สค 21001

สังคมศึกษา

3

 

 

 

สค 21002

ศาสนาและหน้าที่พลเมือง

2

สค 21003

การพัฒนาตนเอง ชุมชน สังคม

1

รวมหน่วยกิต (บังคับ)

11

 

 

11

 

 

12

 

 

6

วิชาเลือก

1

ความรู้พื้นฐาน

การใช้พลังงานไฟฟ้า

 

3

 

เลือกเสรี

2

 

เลือกเสรี

3

 

เลือกเสรี

3

2

ทักษะการดำเนินชีวิต

 

 

 

 

การเงินเพื่อชีวิต

3

 

 

 

 

เลือกเสรี

2

รวมหน่วยกิต (เลือก)

3

 

 

5

 

 

3

 

 

5

รวมหน่วยกิต (ทั้งหมด)

14

 

 

16

 

 

15

 

 

11

                                               

หมายเหตุ การลงทะเบียนเรียนในวิชาเลือกเสรี สถานศึกษาเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสมของผู้เรียน หรือ ตามบริบทของพื้นที่ ชุมชน สภาพแวดล้อม

 

 

 
  กล่องข้อความ: 6

 


ตัวย่างแผนการลงทะเบียนเรียน

หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

 

ที่

สาระการเรียนรู้

ภาคเรียนที่1/2559

ภาคเรียนที่ 2/2559

ภาคเรียนที่ 1/2560

ภาคเรียนที่ 2/2560

รหัสวิชา

รายวิชา

นก.

รหัสวิชา

รายวิชา

นก.

รหัสวิชา

รายวิชา

นก.

รหัสวิชา

รายวิชา

นก.

วิชาบังคับ

1

ทักษะการเรียนรู้

 

 

 

ทร 31001

ทักษะการเรียนรู้

5

 

 

 

 

 

 

2

ความรู้พื้นฐาน

พค 31001

คณิตศาสตร์

5

พต 31001

ภาษาอังกฤษเพื่อชีวิตและสังคม

5

พท 31001

พว 31001

ภาษาไทย

วิทยาศาสตร์

5

5

 

 

 

3

การประกอบอาชีพ

อช 31002

ทักษะการขยายอาชีพ

4

อช 31001

ช่องการขยายอาชีพ

2

 

 

 

อช 31003

การพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคง

2

4

ทักษะการดำเนินชีวิต

ทช 31002

สุขศึกษา พลศึกษา

2

 

ศิลปศึกษา

2

 

 

 

ทช 31001

เศรษฐกิจพอเพียง

1

5

การพัฒนาสังคม

สค 31001

สังคมศึกษา

3

 

 

 

สค 31002

ศาสนาและหน้าที่พลเมือง

2

สค 31003

การพัฒนาตนเอง ชุมชน สังคม

1

รวมหน่วยกิต (บังคับ)

14

 

 

14

 

 

12

 

 

4

วิชาเลือก

1

ความรู้พื้นฐาน

 

การใช้พลังงานไฟฟ้า

3

 

 

 

 

เลือกเสรี

3

 

เลือกเสรี

3

2

ทักษะการดำเนินชีวิต

 

 

3

 

การเงินเพื่อชีวิต

3

 

เลือกเสรี

3

 

เลือกเสรี

3

3

 

 

เลือกเสรี

 

 

เลือกเสรี

3

 

เลือกเสรี

3

 

เลือกเสรี

3

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เลือกเสรี

2

รวมหน่วยกิต (เลือก)

6

 

 

6

 

 

9

 

 

11

รวมหน่วยกิต (ทั้งหมด)

20

 

 

20

 

 

21

 

 

15

                                   

 

กล่องข้อความ: 7หมายเหตุ การลงทะเบียนเรียนในวิชาเลือกเสรี สถานศึกษาเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสมของผู้เรียน หรือ ตามบริบทของพื้นที่ ชุมชน สภาพแวดล้อม


บทบาทและภารกิจของหน่วยงานและสถานศึกษา

ในการปรับปรุงและเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การดำเนินงานตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หน่วยงานและสถานศึกษาต้องดำเนินการทบทวนระเบียบ คำสั่งและหนังสือสั่งการที่ได้การสั่งการไว้แล้ว หรือจัดทำหนังสือสั่งการเพิ่มเติม เพื่อให้สถานศึกษาสามารถดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ที่ปรับปรุงใหม่ รวมทั้งสถานศึกษาต้องเตรียมการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถจัดการศึกษาได้บรรลุตามแนวนโยบายและหลักเกณฑ์ที่ปรับใหม่ ดังนี้

                    1. กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

1.1 วิเคราะห์และจัดทำเนื้อหาที่จำเป็นต้องรู้ในรายวิชาบังคับและเผยแพร่

1.2 ปรับเนื้อหาในรายวิชาบังคับบางรายวิชาให้ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ที่

เปลี่ยนแปลงไปของสังคมปัจจุบัน

1.3   จัดทำสาระและมาตรฐานสาระในวิชาเลือกบังคับ ออกรหัสรายวิชาดังกล่าวและ

เผยแพร่ต่อไป

1.4 จัดทำสื่อหนังสือเรียนวิชาเลือกบังคับและเผยแพร่ต่อไป

1.5 ปรับปรุงระบบโปรแกรมการออกรหัสรายวิชาเลือก และกำหนดรหัสให้ กศน.จังหวัด

เป็นผู้ออกรหัสวิชาเลือก ยกเลิกการให้สถานศึกษา กศน.อำเภอ/เขต ออกรหัสวิชาเลือกได้

1.6 ทำหลักเกณฑ์การเทียบโอน

1.7 ยกเลิกปรับปรุง หรือเพิ่มเติมหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง

1.8 การจัดทำหนังสือสั่งการให้ใช้หลักเกณฑ์การดำเนินงานหลักสูตรการศึกษานอกระบบ

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2551  (ปรับปรุง พุทธศักราช 2559)

2. กลุ่มพัฒนาระบบการทดสอบ

                             2.1 จัดทำ Test Blueprint รายวิชาบังคับและวิชาเลือกบังคับ โดยให้ครอบคลุมเฉพาะเนื้อหาที่ต้องรู้ และสอดคล้องกับ Test Blueprint ที่ใช้ในการออกข้อสอบ N-Net

                             2.2 จัดทำต้นฉบับแบบทดสอบวิชาเลือกบังคับ จัดส่งให้สำนักงาน กศน.จังหวัดจัดทำ

ชุดข้อสอบ

                             2.3 ประสานงานการจัดสอบปลายภาคและการจัดสอบ N-Net ให้อยู่ในสัปดาห์เดียวกัน ???

                             2.4 พัฒนาระบบการสอบออนไลน์ ให้ขยายทั้งพื้นที่บริการ และเพิ่มประเภทของการสอบหน้าจอให้มากขึ้น ได้แก่ การสอบออนไลน์ ในการสอบปลายภาค การสอบเพื่อประเมินความรู้ก่อนเรียนและเทียบโอน

การสอบในการประเมินคุณภาพระดับชาติ เนื่องจาก ข้อจำกัดของผู้เรียน กศน. ที่มีภารกิจจากการประกอบอาชีพและภารกิจทางสังคมเร่งด่วน บางครั้งไม่สามารถมาสอบได้ตามวันที่นัดหมาย ซึ่งจะมีผลสืบเนื่องทำให้ต้องมาเรียนใหม่ ทำให้สูญเสีย

ทั้งเวลาและงบประมาณ

3. สำนักงาน กศน.กทม./จังหวัด

3.1 ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้บริหารสถานศึกษาเกี่ยวกับการปรับปรุงและเพิ่มเติม

หลักเกณฑ์การดำเนินงานหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

3.2 พิจารณาความสอดคล้องของรายวิชาเลือกเสรีกับโปรแกรมการเรียนรู้ การกำหนด

สัดส่วนและวิธีการประเมินผลให้สอดคล้องกับธรรมชาติของวิชา

3.3 ดำเนินการออกรหัสรายวิชาเลือกเสรี

3.4 พัฒนาเครื่องมือวัดประเมินผลปลายภาค

3.5 พัฒนา อบรม ครู บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร

4. สถานศึกษา

                             สถานศึกษายังต้องจัดการศึกษาตามคู่มือการดำเนินงานที่ประกาศใช้แล้ว เมื่อ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555 และดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ที่ปรับปรุงใหม่นี้

4.1  การเตรียมการ

4.1.1 การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นมาและแนวคิดในการปรับหลักเกณฑ์การ

ดำเนินงานตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อให้เข้าใจถึงทิศทางในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นใน กศน.ตำบลและสถานศึกษา

    4.1.2 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สถานศึกษาต้องทบทวนและปรับ

หลักสูตรสถานศึกษา โดย

                         1) การทบทวนและปรับปรุงองค์ประกอบของหลักสูตรสถานศึกษา

ซึ่งประกอบด้วย แนวคิด หลักการ จุดหมาย สาระและมาตรฐาน การจัดกระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียน โดยต้องปรับให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับการเพิ่มวิชาเลือกบังคับและวิชาเลือกเสรี

                        2) นำรายวิชาเลือกบังคับที่ส่วนกลางพัฒนาบรรจุในโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา

                             3) พัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้ที่มาจากความต้องการของผู้เรียน โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนารายวิชาเลือกที่สอดคล้องกับโปรแกรมการเรียนรู้ และชุมชนจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ทั้งในฐานะผู้ให้ความรู้ สถานที่สำหรับการฝึกปฏิบัติและมีส่วนในการประเมินผลการเรียนทั้งในด้านการทำงาน ลักษณะนิสัยในการทำงานและการอยู่ร่วมกันในสังคม โดยจะนำมาตรฐานการศึกษาในแต่ละระดับการศึกษาและมาตรฐานการเรียนรู้ของกลุ่มสาระเป็นเครื่องมือในการควบคุมคุณภาพ เช่น โปรแกรมการกีฬา โปรแกรมนักเต้นประกอบ (แดนซ์เซอร์) โปรแกรมนำเที่ยวท้องถิ่น หรือโปรแกรมอาชีพต่างๆ เป็นต้น

                                      การจัดทำรายวิชาเลือกตามโปรแกรมการเรียนรู้ จะต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับมาตรฐานกลุ่มสาระในแต่ละระดับการศึกษา ไม่อนุญาตให้จัดทำรายวิชาเลือกที่สามารถเรียนได้ทุกระดับการศึกษา

                                      4) การออกรหัสรายวิชาเลือกเสรี ให้เป็นบทบาทหน้าที่ของสำนักงาน กศน.จังหวัด ที่จะเป็นผู้พิจารณาความสอดคล้องของรายวิชากับโปรแกรมการเรียนรู้ เมื่อผ่านการพิจารณาแล้วจึงจะสามารถออกรหัสรายวิชาเลือกได้

                     4.1.3 การจัดหาสื่อประกอบการเรียนวิชาเลือกเสรี สถานศึกษาต้องเตรียมสื่อที่จะใช้ประกอบการเรียนรายวิชาเลือกเสรีวิชาต่าง ๆ การจัดเตรียมสื่อ สามารถทำได้หลายแนวทาง

                             1) การพัฒนาขึ้นเอง สถานศึกษาร่วมกับภูมิปัญญาในชุมชนพัฒนาสื่อการเรียนขึ้นใช้เอง หรือใช้แหล่งการเรียนรู้ในชุมชน สื่อที่สถานศึกษาพัฒนาขึ้นใช้เอง ให้แต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการของสถานเป็นผู้พิจารณาตรวจสอบคุณภาพ

                             2) การนำสื่อของสถานศึกษาอื่นมาใช้ ให้สถานศึกษาขออนุญาตสถานศึกษาที่จัดทำและนำมาใช้ได้ โดยไม่ต้องตรวจสอบคุณภาพ

                             3) การนำสื่อจากสำนักพิมพ์เอกชนมาใช้ สถานศึกษาต้องจัดให้มีการตรวจสอบคุณภาพสื่อก่อน โดยทำตามขั้นตอนที่ สำนักงาน กศน.กำหนดไว้

                    4.1.4 การวัดและประเมินผล สถานศึกษาปรับปรุงระเบียบสถานศึกษาว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียน โดยเพิ่ม เกณฑ์การวัดและประเมินผลรายวิชาเลือกเสรี

                    4.1.5 การเทียบโอนผลการเรียน สถานศึกษาปรับปรุงระเบียบเกี่ยวกับการเทียบโอนผลการเรียน โดยจะต้องเพิ่มเติมแนวทางการเทียบโอนผลการเรียนที่ส่วนกลางจัดทำเพิ่มขึ้น

          4.2 ขั้นการจัดการเรียนรู้

  4.2.1 ขั้นการจัดการศึกษา

1แนะแนวทางการศึกษา การแนะแนวจะต้องดำเนินการก่อนการรับสมัครผู้เรียน

เพื่อให้ผู้เรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีข้อมูลเพียงพอในการตัดสินใจเลือกเรียนตามความสนใจและความต้องการของตนเอง

    2) การวิเคราะห์ผู้เรียน สถานศึกษา/ครูต้องวิเคราะห์พื้นฐานของผู้เรียนเพื่อ

        (1) การเลือกโปรแกรมการเรียนที่สอดคล้องกับความต้องการ

        (2) การเทียบโอนผลการเรียน ให้ผู้เรียนตรวจสอบตนเองว่า มีผลการเรียนหรือ

มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องใดมาก่อน เพื่อจะจัดให้มีการเทียบโอนหรือประเมินเพื่อเทียบโอนเป็นผลการเรียนต่อไป

    3จัดให้ลงทะเบียนเรียนรายวิชาเลือกบังคับ (การใช้พลังงานไฟฟ้า 1 หรือ 2 หรือ 3

แล้วแต่ระดับตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/2559 หรือหาก สถานศึกษาสามารถพัฒนารายวิชาเลือกที่มีอยู่เป็นโปรแกรม

การเรียนได้

    4การวางแผนและการจัดกระบวนการเรียนรู้

                                     (1) ครูจะต้องดำเนินการวิเคราะห์เนื้อหาของทุกรายวิชาที่ผู้เรียนลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนนั้น 

                                     (2) ครูจะต้องวิเคราะห์เนื้อหาสาระการเรียนร่วมกับผู้เรียนเพื่อวางแผนการเรียนร่วมกันและเมื่อสรุปผลการวิเคราะห์เนื้อหาสาระครูจะต้องจัดทำแผนการเรียนในแต่ละรายสัปดาห์

 

การประชุมชี้แจงการดำเนินงาน

 

การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามเกณฑ์การจัดการศึกษาที่ปรับปรุงใหม่นี้ จะใช้กลไกของกลุ่มโซนในการ

สร้างความเข้าใจให้กับผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน การกำกับ ติดตามการดำเนินงานในเชิงวิชาการและการสนับสนุนให้การดำเนินงานให้บรรลุผล      โดยมีศึกษานิเทศก์ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ เป็นทีมสอนงาน (coaching) ให้กับบุคลากรของจังหวัดและสถานศึกษา และดำเนินการวิจัยติดตามการดำเนินงานการจัดการศึกษาตามแนวคิดดังกล่าว สามารถปฏิบัติได้เพียงใด ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนได้เพียงใด รวมทั้งคุณภาพของการศึกษาที่ประชาชนได้รับด้วย ตามสื่อประกอบการชี้แจง

ที่แนบนี้

 

 
หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

แนวคิด
               กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้ใช้หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551 เป็นหลักสูตรที่มุ่งจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองอุดมการณ์การจัดการศึกษาตลอดชีวิตการสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตามปรัชญา “คิดเป็น” เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตและสังคม มีการบูรณาการอย่างสมดุลระหว่างปัญญาธรรม ศีลธรรม และวัฒนธรรม มุ่งสร้างพื้นฐานการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และพัฒนาความสามารถเพื่อการทำงานที่มีคุณภาพ โดยให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมจัดการศึกษาให้ตรงตามความต้องการของผู้เรียน และสามารถตรวจสอบได้ว่า การศึกษานอกระบบเป็นกระบวนการของการพัฒนาชีวิตและสังคม สามารถพึ่งพาตนเองได้ และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง เป็นหลักสูตรที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการของบุคคลที่อยู่นอกระบบโรงเรียน ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ประสบการณ์จากการทำงาน และการประกอบอาชีพ โดยการกำหนดสาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ให้ความสำคัญกับการพัฒนากลุ่มเป้าหมายด้านจิตใจให้มีคุณธรรมควบคู่ไปกับการพัฒนาการเรียนรู้ สร้างภูมิคุ้มกัน สามารถจัดการกับองค์ความรู้ ทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีเพื่อให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สร้างภูมิคุ้มกันตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งคำนึงถึงธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้ที่อยู่นอกระบบ และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการสื่อสาร

หลักการ
               หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดหลักการไว้ดังนี้
               1. เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นด้านสาระการเรียนรู้ เวลาเรียนและการจัดการเรียนรู้โดยเน้นการบูรณาการเนื้อหาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความแตกต่างของบุคคล ชุมชน และสังคม
               2. ส่งเสริมให้มีการเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
               3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยตระหนักว่าผู้เรียนมีความสำคัญสามารถพัฒนาตนเองได้ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
               4. ส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

จุดหมาย
               หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีสติปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีศักยภาพในการประกอบอาชีพและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องการจึงกำหนดจุดหมายดังต่อไปนี้
               1. มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข
               2. มีความรู้พื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิตและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
               3. มีความสามารถในการประกอบสัมมาอาชีพให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด และตามทันความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
               4. มีทักษะการดำเนินชีวิตที่ดี และสามารถจัดการกับชีวิต ชุมชน สังคมได้อย่างมีความสุขตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
               5. มีความเข้าใจประวัติศาสตร์ชาติไทย ภูมิใจในความเป็นไทย โดยเฉพาะภาษา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กีฬา ภูมิปัญญาไทย ความเป็นพลเมืองดี ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนายึดมั่นในวิถีชีวิต และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
               6. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
               7. เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ และบูรณาการความรู้มาใช้ในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

ระดับการศึกษา
               ระดับการศึกษาแบ่งระดับการศึกษาออกเป็น 3 ระดับ คือ
               - ระดับประถมศึกษา
               - ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
               - ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
               โดยแต่ละระดับใช้เวลาเรียน 4 ภาคเรียน ยกเว้นกรณีที่มีการเทียบโอน แต่ทั้งนี้ต้องลงทะเบียนเรียนในสถานศึกษาอย่างน้อย 1 ภาคเรียน

สาระการเรียนรู้
               สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วย 5 สาระการเรียนรู้ และ 18 มาตรฐานการเรียนรู้ ดังนี้

1. สาระทักษะการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 มาตรฐาน ดังนี้
               มาตรฐานที่ 1.1 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
               มาตรฐานที่ 1.2 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการใช้แหล่งเรียนรู้
               มาตรฐานที่ 1.3 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการจัดการความรู้
               มาตรฐานที่ 1.4 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการคิดเป็น
               มาตรฐานที่ 1.5 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการวิจัยอย่างง่าย

2. สาระความรู้พื้นฐาน ประกอบด้วย 2 มาตรฐาน ดังนี้
               มาตรฐานที่ 2.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับภาษาและการสื่อสาร
               มาตรฐานที่ 2.2 มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

3. สาระการประกอบอาชีพ ประกอบด้วย 4 มาตรฐาน ดังนี้
               มาตรฐานที่ 3.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติที่ดีในงานอาชีพ มองเห็นช่องทาง และตัดสินใจประกอบอาชีพได้ตามความต้องการ และศักยภาพของตนเอง

4. สาระทักษะการดำเนินชีวิต ประกอบด้วย 3 มาตรฐาน ดังนี้
               มาตรฐานที่ 4.1 มีความรู้ ความเข้าใจ เจตคติที่ดีเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม
               มาตรฐานที่ 4.2 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีเกี่ยวกับการดูแล ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต
               มาตรฐานที่ 4.3 มีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับศิลปะและ สุนทรียภาพ

5. สาระการพัฒนาสังคม ประกอบด้วย 4 มาตรฐาน ดังนี้
               มาตรฐานที่ 5.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเมือง การปกครอง สามารถนำมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต
               มาตรฐานที่ 5.2 มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นคุณค่า และสืบทอดศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
               มาตรฐานที่ 5.3 ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย มีจิตสาธารณะ เพื่อความสงบสุขของสังคม
               มาตรฐานที่ 5.4 มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นความสำคัญของหลักการพัฒนา และสามารถพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน/สังคม

หมายเหตุ สาระการเรียนรู้ความรู้พื้นฐาน มาตรฐานที่ 2.1 มีความรู้ความเข้าใจทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับภาษาและการสื่อสาร ซึ่งภาษาในมาตรฐานนี้หมายถึง ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ

 
 
โครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
 
 
การลงทะเบียนเรียนรายวิชา
               การลงทะเบียนเรียนตามโครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ให้ลงทะเบียนเรียนเป็นรายวิชาและตามจำนวนหน่วยกิต ในแต่ละภาคเรียนดังนี้
               1. ระดับประถมศึกษา ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 14 หน่วยกิต
               2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 56 หน่วยกิต ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 16 หน่วยกิต
               3. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 76 หน่วยกิต ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 20 หน่วยกิต
 
 
รายวิชาเลือก
               จากโครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ทั้ง 3 ระดับ คือ ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย มีรายวิชาที่ให้เลือกเรียนจำนวน 12,16,และ 32 หน่วยกิต ตามลำดับในส่วนรายวิชาที่ให้เลือกนั้น ผู้เรียนสามารถเลือกได้ตามความต้องการ หรือตามปัญหาของสังคม หรือของผู้เรียนในขณะนั้นโดยรายวิชาเลือกเหล่านี้อาจจะได้มาจากที่สำนักงาน กศน. หรือสถานศึกษาพัฒนาขึ้นตามความต้องการของผู้เรียน
 
 
               วิธีการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จะมีวิธีเดียว คือ “วิธีเรียน กศน.” ที่สามารถจัดการเรียนรู้ได้หลายรูปแบบ เช่น
                              - การเรียนรู้แบบพบกลุ่ม
                              - การเรียนรู้ด้วยตนเอง
                              - การเรียนรู้แบบทางไกล
                              - การเรียนรู้แบบชั้นเรียน
                              - การเรียนรู้แบบอื่นๆ
               ซึ่งในแต่ละรายวิชา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือหลายรูปแบบก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับสถานศึกษาและนักศึกษา
 
 
การเทียบโอนผลการเรียน
               การเทียบโอนผลการเรียนเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงผลการเรียนรู้ที่หน่วยงานต่าง ๆ ร่วมจัดการศึกษาและเชื่อมโยงผลการเรียนรู้จากวิธีการเรียนที่หลากหลาย รวมทั้งจากการประกอบอาชีพและประสบการณ์ต่าง ๆ และเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมให้บุคคลมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตเมื่อบุคคลตระหนักและรับรู้ว่าสิ่งที่ได้เรียนรู้มานั้น สามารถนำมาเพิ่มคุณค่าโดยการเทียบโอนเป็นผลการเรียน นับเป็นผลพลอยได้จากการเรียนรู้ นอกเหนือจากการนำสิ่งที่ได้เรียนรู้นั้นไปแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพ พัฒนาการทำงานให้ดีขึ้น หรือแม้กระทั่งการนำสิ่งที่ได้เรียนรู้นั้นไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน

หลักการ
               1. หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเทียบโอนผลการเรียนได้
               2. การเทียบโอนผลการเรียนต้องสามารถเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ ทั้งจากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษาอาชีพหรือประสบการณ์การทำงาน
               3. เป็นการเชื่อมโยงการศึกษาทั้งสามรูปแบบ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการศึกษาตลอดชีวิต
               4. เป็นการกระจายอำนาจให้สถานศึกษาในการเทียบโอนผลการเรียน โดยสถานศึกษาจะต้องจัดให้บุคลากรหรือเจ้าหน้าที่ ทำหน้าที่ให้คำแนะนำและดำเนินการให้มีการเทียบโอนผลการเรียน
               5. วิธีการและหลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียนต้องได้มาตรฐานชัดเจนสมเหตุสมผลเชื่อถือได้โปร่งใสและยุติธรรม 

วัตถุประสงค์
               1. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่ออกจากการศึกษาในระบบ หรือนอกระบบรวมทั้งผู้ที่เรียนรู้ตามอัธยาศัยสามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้เข้าสู่หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
               2. เพื่อเปิดโอกาสให้มีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระดับการศึกษาเดียวกันหรือระดับที่สูงขึ้น 

ขอบข่ายการเทียบโอนผลการเรียน

              การเทียบโอนผลการเรียน ระหว่างรูปแบบการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ระหว่างหลักสูตรของหน่วยงานต่าง ๆ เข้าสู่ หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีขอบข่าย ดังนี้
               1. การเทียบโอนผลการเรียนจากหลักสูตรที่จัดการศึกษาเป็นระดับประถม มัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายหรือเทียบเท่า
เป็นการเทียบโอนผลการเรียนจากหลักฐานการศึกษา ที่ออกให้โดยสถานศึกษาของรัฐและเอกชน ที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้ หรือให้การรับรอง และจัดระดับการศึกษาเป็นระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า ตามหลักสูตร ทั้งที่จัดในรูปแบบการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ
               2. การเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษาต่อเนื่องเป็นการเทียบโอนผลการเรียนจากการเรียนในหลักสูตรระยะสั้น หรือหลักสูตรฝึกอบรมที่จัดขึ้นตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ
               3. การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
เป็นการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์จากการเป็นทหารกองประจำการ อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำท้องถิ่น และแรงงานไทยที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติและกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ ที่ได้ทำข้อตกลงร่วมกัน
               4. การเทียบโอนผลการเรียนจากหลักสูตรต่างประเทศเป็นการเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษาหลักสูตรต่างประเทศ ที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศนั้น ๆ ให้การรับรองมาตรฐานการจัดการศึกษา หรือผลการเรียนจากหลักสูตรของโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศเทียบความรู้ 
               5. การเทียบโอนผลการเรียนจากการประเมินความรู้และประสบการณ์เป็นการเทียบโอนผลการเรียน โดยใช้วิธีการประเมินความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน ซึ่งมีการเรียนรู้จากการศึกษาตามอัธยาศัย การประกอบอาชีพ การทำงาน โดยอาจมีหลักฐานเชิงประจักษ์จากการทำงาน หลักฐานอื่น ๆที่เกี่ยวข้องหรือไม่มีหลักฐานก็ได้

คุณสมบัติทั่วไปของผู้ขอเทียบโอนผลการเรียน
              1. ต้องไม่เป็นนักเรียนหรือนักศึกษา ในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาหรือระดับที่เทียบเท่าของสถานศึกษาอื่น
              2. ต้องขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 

เงื่อนไขการเทียบโอน
              ให้ยกเว้นการเทียบโอนรายวิชาภาษาไทย รายวิชาเศรษฐกิจพอเพียงและรายวิชาทักษะการเรียนรู้ ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ในทุกระดับการศึกษา

ระดับผลการเรียนจากการเทียบโอน
              ให้ระดับผลการเรียนเป็น “ผ่าน” ยกเว้น การเทียบความรู้และประสบการณ์ให้เป็นค่าระดับผลการเรียน

หลักฐานการเทียบโอน
              หลักฐานการศึกษาที่ใช้ประกอบการพิจารณาเทียบโอนผลการเรียน ให้พิจารณาตามประเภทของการเทียบโอน
 
 

การประเมินความรู้และประสบการณ์
              การประเมินความรู้และประสบการณ์ หมายถึง การวัด การตรวจสอบและประเมินผลการเรียนรู้ ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของผู้เรียนที่เกิดจากการเรียนรู้ตามอัธยาศัย การทำงาน การประกอบอาชีพ

กรณีที่ต้องประเมินความรู้และประสบการณ์
             การประเมินความรู้และประสบการณ์เป็นวิธีการหนึ่งของการเทียบโอนผลการเรียนสถานศึกษาทุกแห่งสามารถประเมินความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียนได้ ซึ่งจะนำมาใช้ในกรณีต่อไปนี้
             1. ผู้เรียนที่มาขอเทียบโอนผลการเรียนมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นอย่างดี มีหลักฐานของการนำความรู้และประสบการณ์นั้น ๆ ไปใช้ หรือหากไม่มีหลักฐานแต่ก็เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่ามีความรู้ความสามารถและความชำนาญในเรื่องนั้น ๆ
             2. ผู้เรียนมีหลักฐานผลการเรียนรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่องที่ตนสนใจ แต่หลักฐานดังกล่าวมิได้รับการรับรองจากหน่วยงานทางการศึกษา
             3. ผู้เรียนที่มีความรู้ความสามารถจากการประกอบอาชีพ การทำงาน จากการเรียนรู้ในวิถีชีวิต หรือการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ที่มีการสั่งสมความรู้มาอย่างต่อเนื่อง

สาระ/รายวิชาที่เปิดให้ประเมินความรู้และประสบการณ์
             สถานศึกษาสามารถจัดให้มีการประเมินความรู้และประสบการณ์ได้ทุกรายวิชา ทั้ง 5 สาระ
             1. สาระทักษะการเรียนรู้
             2. สาระความรู้พื้นฐาน
             3. สาระการประกอบอาชีพ
             4. สาระการดำเนินชีวิต
             5. สาระการพัฒนาสังคม

การประเมินความรู้และประสบการณ์ให้ประเมินเป็นรายวิชา 
             สถานศึกษาดำเนินการพิจารณาตรวจสอบความรู้และประสบการณ์ของผู้ขอเทียบโอนผลการเรียนในเบื้องต้นว่าความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียนมีความสอดคล้องกับสาระและรายวิชาใด แล้วจึงดำเนินการประเมินความรู้และประสบการณ์ในรายวิชานั้น 
             ทั้งนี้ ความรู้และประสบการณ์ที่ขอรับการประเมิน จะต้องเป็นความรู้และประสบการณ์ที่สังคมยอมรับและไม่ขัดต่อศีลธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม

 
 
การวัดผลประเมินผลการเรียน
             การวัดและประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มี 2 ลักษณะได้แก่
             1. การวัดและประเมินผลรายวิชา สถานศึกษาดำเนินการประเมินผลรายวิชาดังนี้
                          1.1. การวัดและประเมินผลก่อนเรียน เป็นการตรวจสอบความรู้ ทักษะและความพร้อมต่าง ๆ ของผู้เรียนเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสภาพความพร้อมและความรู้พื้นฐานของผู้เรียน
                          1.2. การวัดและประเมินผลระหว่างภาคเรียน สถานศึกษาดำเนินการประเมินผลระหว่างภาคเรียนเพื่อทราบความก้าวหน้าทั้งด้านความรู้ ทักษะ เจตคติ และพฤติกรรมการเรียนการร่วมกิจกรรมและผลงาน อันเป็นผลมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รายละเอียดของคะแนนระหว่างภาค ประกอบด้วย
                                       1). การให้ความร่วมมือกับสถานศึกษา หมายถึง การที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของสถานศึกษา เช่น การร่วมเดินรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด การเข้าร่วมในวันสำคัญ ร่วมกิจกรรมของสถานศึกษา เป็นต้น
                                       2). ผลงานที่กำหนดเป็นร่องรอยในแฟ้มสะสมงาน
                                       3). การแสดงออกและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง การร่วมอภิปรายการช่วยงานกลุ่ม การตอบคำถาม
                          1.3. การวัดผลประเมินผลปลายภาคเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบผลการเรียนรู้โดยรวมของผู้เรียนในแต่ละรายวิชา โดยใช้เครื่องมือ เช่น แบบทดสอบปรนัย แบบทดสอบอัตนัย แบบประเมินการปฏิบัติ เป็นต้นการวัดและประเมินผลปลายภาคเรียนนั้น ผู้เรียนที่จะผ่านการประเมินรายวิชาใดจะต้องเข้าสอบปลายภาคเรียนและมีคะแนนปลายภาคเรียนรวมกับคะแนนระหว่างภาคเรียนผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำตามเกณฑ์ที่สำนักงาน กศน. กำหนด 
                          1.4 การตัดสินผลการเรียนรายวิชา การตัดสินผลการเรียนรายวิชา ให้นำคะแนนระหว่างภาคเรียนมารวมกับคะแนนปลายภาคเรียน และจะต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 จึงจะถือว่าผ่านการเรียนในรายวิชานั้น
ทั้งนี้ ผู้เรียนต้องเข้าสอบปลายภาคเรียนด้วย แล้วนำคะแนนไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดโดยให้ค่าระดับผลการเรียนเป็น 8 ระดับ

             2. การประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
             การประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)เป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ผู้เรียนทุกคนจะต้องได้รับการประเมินตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดโดยผู้เรียนจะต้องทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง จึงจะได้รับการพิจารณาอนุมัติให้จบหลักสูตรในแต่ละระดับการศึกษา

             3. การประเมินคุณธรรม 
เป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ผู้เรียนทุกคนต้องได้รับการประเมินตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด จึงจะได้รับการพิจารณาให้จบหลักสูตรในแต่ละระดับการศึกษา โดยคณะกรรมการวัดและประเมินผลของสถานศึกษาพิจารณาคุณธรรมเบื้องต้น ที่สำนักงาน กศน. กำหนด ทั้งนี้สถานศึกษาสามารถกำหนดเพิ่มเติมได้ โดยเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและประกาศให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบและมีส่วนร่วมในการประเมินคุณธรรม 

เกณฑ์การจบหลักสูตร
             ผู้เรียนทั้งระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีเกณฑ์การจบหลักสูตรในแต่ละระดับการศึกษา ดังนี้
             1. ผ่านเกณฑ์การประเมินการเรียนรู้รายวิชาในแต่ละระดับการศึกษาตามโครงสร้างหลักสูตร
                          1.1 ระดับประถมศึกษา ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต แบ่งเป็นรายวิชาบังคับ 36 หน่วยกิต และวิชาเลือกไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
                          1.2 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ไม่น้อยกว่า 56 หน่วยกิต แบ่งเป็นวิชาวบังคับ 40 หน่วยกิต และวิชาเลือกไม่น้อยกว่า 16 หน่วยกิต
                          1.3 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่น้อยกว่า 76 หน่วยกิต แบ่งเป็นวิชาบังคับ 44 หน่วยกิต และวิชาเลือกไม่น้อยกว่า 32 หน่วยกิต
             2. ผ่านเกณฑ์การประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต(กพช.)ไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง
             3. ผ่านการประเมินคุณธรรม ในระดับพอใช้ขึ้นไป
             4. เข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ
 
 



                 
               


เข้าชม : 1124
 
 
      

   
หมู่ที่ 3 (สถานีอนามัยเก่า) บ้านตีนสันติ ตำบลเกาะสะบ้า อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
               ผู้จัดทำ นางอรอนง พุทธปาน หน.กศน.ตำบลเกาะสะบ้า
 โทร 0654086782,0613124292, ID Line: 0613124292
 Emai: missonanong2513@gmail.com,facbook : ศูนย์การเรียนรู้ตำบลเกาะสะบ้า , fanpage:กระจูดสานตำบลเกาะสะบ้า         
 

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05